โดย นายโทมัส ดาวิน ผู้แทนองค์การยูนิเซฟประเทศไทย
การจัดตั้งกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา หรือ กสศ.
ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่ง และขอแสดงความยินดีกับรัฐบาลไทยในความมุ่งมั่นที่จะลดความไม่เสมอภาคทางการศึกษา การทำงานของ กสศ. ด้วยแผนปฏิบัติการที่ดีและการมียุทธศาสตร์การทำงานที่ตรงจุด จะช่วยแก้ปัญหาความเหลื้อมล้ำของระบบการศึกษาที่มีอยู่
รัฐธรรมนูญปี 2560 บัญญัติให้จัดตั้งกองทุนเพื่อใช้ในการช่วยเหลือ ผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษ หลังจากการเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีและสนช กสศ. ได้ประกาศในพระราชกิจจาเมื่อเดือนที่ผ่านมา
กสศ จะได้รับทุนประเดิมจัดสรรโดยรัฐจำนวน 1 พันล้าน และรัฐจะจัดสรรงบเงินอุดหนุนให้เป็นรายปี รวมถึงการสนับสนุนงบประมาณจากภาคเอกชน
ตามที่กฎหมายพระราชบัญญัติ กําหนดให้การบริหารกองทุนมีคณะกรรมการบริหารที่เป็นอิสระกำกับดูแล มีหน้าที่กำหนดแนวทางการบริหารกองทุนและแผนปฏิบัติการและงบประมาณรายปี เสนอต่อคณะรัฐมนตรีอนุมัติ
ในช่วงของการเตรียมการ ผมได้เห็นถึงการมีส่วนร่วมที่กว้างขวางกับผู้ที่ส่วนเกี่ยวข้องต่อการดำเนินงานตามพรบ. รวมถึงยูนิเซฟก็มีโอกาสร่วมพัฒนาวิสัยทัศน์ของ กสศ.
ในขณะนี้ กสศ. อยู่ระหว่างการพัฒนาแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการ ปัญหาความเสมอภาคทางการศึกษาต้องมีการตีความหมายอย่างดี เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ กสศ. ต้องเห็นและเข้าใจ เรียงลำดับความสำคัญของกลุ่มเป้าหมายและกลุ่มเปราะบางที่จะทำงาน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มยากจน พิการ เด็กอพยพ เด็กที่อาศัยอยู่ในบางพื้นที่ของประเทศไทย หรือเด็กชนเผ่า
ประเทศไทยประสบความสำเร็จในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาเป็นอย่างมากในการเพิ่มการเข้าถึงการศึกษาทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาโดยรัฐบาลได้ลงทุนงบประมาณด้านการศึกษาที่สูง ความไม่เท่าเทียมทางการศึกษายังมีอยู่ โดยเฉพาะการศึกษาระดับมัธยมศึกษาทั้งด้านเศรษฐานะ เพศ ภาษา และภูมิศาสตร์ ช่องว่างการเข้าเรียนระดับมัธยมศึกษาระหว่างกลุ่มนักเรียนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมต่างกันได้เพิ่มขึ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
ตามที่องค์การสหประชาชาติได้ประกาศเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และประเทศที่ร่วมพันธสัญญาต้องบรรลุภายใน ปี2030 ประเทศไทยจะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ในการสร้างหลักประกันว่าเด็กทุกคนจะต้องจบการศึกษาทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา และต้องมีทักษะที่จำเป็น หากปัญหาความไม่เสมอภาคทางการศึกษาไม่ได้รับการแก้ไขอย่างมียุทธศาสตร์และการจัดทรัพยากรอย่างเหมาะสม
ผลสำรวจล่าสุดพบว่าความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาเริ่มตั้งแต่จุดเริ่มต้นการพัฒนาของเด็ก โดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์การให้ความชวยเหลือในระยะแรกและการให้ความสำคัญกับยุทธศาสตร์สร้างความเสมอภาคจะก่อให้เกิดผลกระทบทางบวกต่อนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์แย่สุด การพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้อย่างเท่าเทียมจะเกิดประประโยชน์ต่อสังคม ไม่ว่าจะเป็นการมีประชากรรุ่นใหม่ที่มีการศึกษาดีทำให้ประเทศมีขีดความสามารถทางการแข่งขัน และผลิตภาพสูง ทำให้เศรษฐกิจเติบโต และขจัดความยากจน
ประเด็นสำคัญที่คาบเกี่ยวระหว่าง กสศ. และบทบาทความรับผิดชอบของกระทรวงศึกษาธิการ ที่มีงบประมาณสูงและยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาที่มุ่งความเสมอภาคทางการศึกษา กสศ. จำเป็นต้องทำให้มั่นใจว่าการปฏิบัติงานจะหนุนเสริมการทำงานของแผนงานโครงการที่ดำเนินการอยู่
ความสำเร็จ ของ กสศจำเป็นต้องมีการตีความหมายอย่างรอบคอบที่อยู่บนฐานทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน สอดคล้องกับขนาดของงบประมาณ และมาตรการที่เกี่ยวข้อง งบประมาณด้านการศึกษาทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ 20 ของงบประมาณรัฐบาล ในระยะที่ผ่านมาการทำงานยังไม่บรรลุผลในการแก้ไขปัญหาความเหลื้อมล้ำเชิงโครงสร้าง บุคคล กลุ่มเปราะบาง ทำให้เด็กถูกมองข้ามและนำไปสู่การหลุดออกนอกระบบก่อนวัยอันควร
ด้วยงบประมาณที่จะได้รับจัดสรรถือเป็นส่วนน้อย การคาดหวังให้ กสศ. ทำงานเพื่อขจัดความเหลื่อมล้ำเพียงหน่วยงานเดียวคงไม่ใช่แนวทางการทำงาน
และ กสศ. คงมิใช่หน่วยงานที่มาแทนที่ระบบการทำงานของรัฐบาล ยุทธศาสตร์ และงบประมาณที่มีอยู่ ความรับผิดชอบในการให้การศึกษาที่มีคุณภาพสำหรับเด็กทุกคนในประเทศไทย เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของกระทรวงและหน่วยงานต่างๆโดย กสศ. สามารถมีบทบาทในการสนับสนุนยุทธศาสตร์ การค้นหาและระบุวิธีการแก้ไขปัญหาและทางออก กระตุ้นให้เกิดผลการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบการศึกษาในการลดความเหลื่อมล้ำเชิงระบบที่เด็กกำลังเผชิญอยู่ ผมเชื่อมั่นว่าบทบาทในการเป็นหน่วยงานกระตุ้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จ
นอกจากนี้ เพื่อให้เกิดผลสำเร็จ กสศ. ต้องแสดงให้เห็นหลักฐานการทำงานว่าอะไรที่ประสบผลสำเร็จของไทยในการลความเหลื่อมล้ำทั้งในระดับบุคคลและเชิงระบบ วิธีทำงานหนึ่งที่สำคัญคือการวิจัยและนำร่องมาตรการที่คุ้มค่า มีประสิทธิภาพ และมีผลกระทบสูงในพื้นที่กลุ่มด้อยโอกาส ที่มุ่งให้เกิดการขยายผลวิธีปฏิบัติที่ได้ผล เกิดการยกระดับการทำงานระดับประเทศ ด้วยงบประมาณด้านการศึกษาของรัฐบาล
บทบาทหนึ่งของ กสศ. คือ การสนับสนุนกระทรวงต่างๆ เชื่อมโยงข้อมูลการศึกษาและระบบสารสนเทศ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานและกระทรวงต่างๆ ผลที่จะได้คือการวิเคราะห์ความเหลื่อมล้ำเชิงระบบ และการติดตามว่าความเหลื่อมล้ำได้ลดลงตามระยะเวลาอย่างไร
การทำงานของ กสศ. ต้องมีความมุ่งมั่นในการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาและถือเป็นโอกาสสำคัญในการสร้างการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็น และทำให้ประเด็นความเสมอภาคของการศึกษาเป็นหัวใจของการปฏิรูปการศึกษา ในฐานะหน่วยงานกระตุ้นเพื่อให้ไทยบรรลุเป้าหมายการพัฒนาความยั่งยืนต่อไป