“การเข้าถึงและพัฒนาทักษะการทำงานให้แก่กลุ่มประชากรวัยแรงงานด้อยโอกาส: บทเรียนจากภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก”

“การเข้าถึงและพัฒนาทักษะการทำงานให้แก่กลุ่มประชากรวัยแรงงานด้อยโอกาส: บทเรียนจากภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก”

เสวนาวิชาการนานาชาติครั้งที่ 2 วันที่ 26 ส.ค. 2562
“การเข้าถึงและการพัฒนาทักษะการทeงานให้แก่กลุ่มประชากรวัยแรงงานด้อยโอกาส: บทเรียนจากภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก”
ถอดบทเรียนโดย อัญญรัตน์ ไชยชนะ

ภารกิจอย่างหนึ่งของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) คือการลดความเหลื่อมล้ำทางการ
ศึกษาของผู้ด้อยโอกาส โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่ต้องออกจากระบบการศึกษากลางคัน ตกงาน หรือผู้ที่มีรายได้น้อย ให้มีโอกาสพัฒนาทักษะทางวิชาชีพเพื่อให้สามารถมีอาชีพพึ่งพาตัวเองได้เพื่อบรรลุภารกิจนี้ กสศ. ให้ความสำคัญกับการสร้างเครือข่ายพันธมิตรเพื่อเข้าถึงและพัฒนาทักษะอาชีพร่วมกับชุมชนในระดับท้องถิ่น ได้จัดการสัมมนาวิชาการนานาชาติขึ้นเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2562 เพื่อเรียนรู้และแลกเปลี่ยนแนวคิด วิธีการ และประสบการณ์ ในการดำเนินโครงการพัฒนาทักษะอาชีพส าหรับผู้ด้อยโอกาสในชุมชนจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization (ILO) ซึ่งเป็นองค์กรที่มีเป้าหมายในการส่งเสริมความเสมอภาคและความเป็น

ธรรมทางสังคมในโลกของการทeงาน เน้นความร่วมมือในระดับชุมชน และได้พัฒนาเครื่องมือที่เรียกว่า Community-based Enterprise Development (C-BED) ให้ภาคธุรกิจ หน่วยงานรัฐ และองค์กรไม่แสวง หาผลกำไร ประเทศแถบเอเชียและแปซิฟิก 20 ประเทศนำไปใช้กับโครงการพัฒนาทักษะอาชีพร่วมกับชุมชนท้องถิ่นอย่างได้ผล

1. การอภิปรายนำ “การเข้าถึงและการพัฒนาทักษะการทำงานให้แก่กลุ่มประชากรวัยแรงงานด้อยโอกาส
โดย คุณชาร์ลส์ บอดเวลล์ (Charles Bodwell) ผู้เชี่ยวชาญพิเศษจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO)

จากประสบการณ์การท างานร่วมกับองค์กรทั้งในประเทศไทยและประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
มากกว่า 20 ปีมร. บอดเวลล์พบว่าปัญหาของการจัดเตรียมการฝึกอบรมส าหรับชุมชนห่างไกลในช่วงแรกๆ ของการทำงาน คือโครงการฝึกอบรมที่เตรียมไว้ไม่เหมาะสมกับความรู้ความเข้าใจของคนในชุมชน การขาดบุคลากรที่มีความรู้ งบประมาณ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ด้วยเหตุนี้ทาง ILO จึงได้ร่วมมือกับภาคีเครือข่ายคิดค้นเครื่องมือที่จะแก้ปัญหาดังกล่าว ทั้งยังช่วยประหยัดงบประมาณ แต่ให้ประสิทธิภาพสูงสุด อันเป็นที่มาของโครงการสนับสนุนวิสาหกิจที่ยึดชุมชนเป็นศูนย์กลางหรือ C-BED (Community-based Enterprise Development)

การดำเนินการฝึกอบรมให้กับท้องถิ่นภายใต้โครงการ C-BED มีแนวคิดสำคัญเรียกรวมย่อๆ ว่า “SSIS”
กล่าวคือ โครงการฝึกอบรมจะต้องขยายไปสู่วงกว้างได้ (Scalable) มีความยั่งยืน (Sustainable) สามารถสร้างผลกระทบในวงกว้าง (Impactful) และพร้อมสนับสนุนหน่วยงานส าคัญ (Supportive) โดยเครื่องมือหลักในการดำเนินโครงการภายใต้แนวคิด SSIS นี้คือ การเรียนรู้โดยเน้นกิจกรรมเป็นฐาน (Activity-based Learning) โดยให้สมาชิกชุมชนเรียนรู้ทักษะต่างๆ ด้วยตนเองผ่านการท ากิจกรรมร่วมกัน โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มเล็กๆ และไม่จำเป็นต้องพึ่งผู้เชี่ยวชาญภายนอก วิธีนี้จะช่วยให้ชุมชนและหน่วยงานท้องถิ่นสามารถสานต่อการฝึกอบรมด้วยตนเองและขยายผลกระทบไปสู่วงกว้างได้อย่างยั่งยืน

แบบแผนของโครงการคือการใช้คู่มือการฝึกอบรมกึ่งแบบเรียนที่มีการอธิบายอย่างเป็นขั้นเป็นตอน อาทิเช่น
คู่มือด้านการตลาด การทำธุรกิจเกสต์เฮ้าส์หรือโฮมสเตย์ การทำธุรกิจการค้า การท าธุรกิจงานฝีมือ การทำธุรกิจขนส่งขนาดเล็ก การทำธุรกิจการเกษตร เป็นต้น โดยในขั้นแรกของโครงการ ผู้เชี่ยวชาญจาก ILO จะเข้าไปสร้างความเข้าใจในการทำกิจกรรมให้กับชุมชน จากนั้นสมาชิกชุมชนจะร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์และปรึกษาหารือกันด้วยตนเอง น าไปสู่การสานต่อการฝึกอบรมด้วยตนเองโดยไม่ต้องมีผู้เชี่ยวชาญเข้าไปด าเนินการ เปรียบเสมือนการยื่นเครื่องมือให้ทางชุมชนน าไปสานต่ออย่างยั่งยืน วิธีการนี้แตกต่างจากกระบวนการถ่ายทอดความรู้จากส่วนบนสู่ส่วนล่างแบบดั้งเดิม เพราะการให้ผู้เชี่ยวชาญเข้าไปท าการสอนในทุกขั้นตอนจะทำให้ผู้เรียนเป็นฝ่ายรับข้อมูลเพียงด้านเดียวเป็นการปิดกั้นความคิดของคนในชุมชน ทำให้คนในชุมชนไม่กล้าแสดงความคิดเห็นและไม่กล้าที่จะมีส่วนร่วมมากเท่าที่ควร

ปัจจุบันมีโครงการ C-BED ที่ดำเนินการสำเร็จแล้ว รวมถึงโครงการที่กำลังดำเนินการอีกมากมาย มีผู้เข้าร่วมโครงการที่มีข้อมูลในระบบมากกว่า 100,000 ราย ในจ านวนนี้ มีผู้เข้าร่วมจ านวนมากที่มีรายได้ต่ำกว่า 1 ดอลลาร์ต่อวัน และส่วนใหญ่ไม่เคยผ่านการฝึกอบรมมาก่อน จากการติดตามผลหลังจากการฝึกอบรม 3-6 เดือน พบว่า ผู้เข้าร่วมกว่าร้อยละ 63 รายงานว่าตนมีรายได้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 97 มีเงินเก็บมากขึ้น ร้อยละ 34 สามารถเริ่มต้นด าเนินธุรกิจของตนเอง และร้อยละ 82 มีความเห็นว่าความก้าวหน้าทางอาชีพการงานของตนเป็นผลมาจากการเข้าร่วมใน C-BED

2. การนำเสนอ “ตัวอย่างโครงการพัฒนาเครอืข่ายธุรกิจขนาดเล็กและการช่วยเหลือบริการด้านการเงินใน
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว”
โดย คุณแอนเจลี พาเทล (Anjali Patel) ผู้เชี่ยวชาญจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ผู้ประสานงานโครงการในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ทางกระทรวงพาณิชย์สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวได้ร่วมมือกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ
เพื่อช่วยผลักดันให้ธุรกิจขนาดเล็กสามารถเข้าถึงความช่วยเหลือด้านการเงิน แต่เดิมนั้นถึงแม้ว่าทางรัฐบาลลาวจะมีงบประมาณเพื่อให้ทางธนาคารพาณิชย์ในประเทศช่วยจัดสรรเงินกู้ให้กับธุรกิจขนาดเล็กอยู่แล้ว แต่ธุรกิจขนาดเล็กทั่วประเทศก็ยังไม่มีงบประมาณเพียงพอที่จะพัฒนาธุรกิจของตนเอง และไม่ทราบว่าจะจัดการด้านการเงินและขอความช่วยเหลือด้านการเงินจากทางรัฐได้อย่างไร ทาง ILO ได้เข้ามาเป็นสื่อกลางในการเชื่อมช่องว่างดังกล่าว โดยเข้าไปพูดคุยถึงการให้ความช่วยเหลือด้านการบริหารธุรกิจขนาดเล็กกับธนาคารพาณิชย์ 8 แห่ง และน าเครื่องมือที่ทาง ILO มีอยู่มาประยุกต์ใช้กับธุรกิจกลุ่มดังกล่าว

จากการจัดการฝึกอบรมในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวพบว่า คนในชุมชนได้ประโยชน์จากการ
พบปะพูดคุยและการสร้างเครือข่ายระหว่างธุรกิจขนาดเล็กด้วยกันเอง อีกทั้งยังได้รับประโยชน์จากการเข้าถึงธนาคารพาณิชย์ได้โดยตรง ในขณะเดียวกัน ทางธนาคารก็ได้รับประโยชน์จากการเข้าถึงธุรกิจขนาดเล็กเหล่านี้เช่นกัน ในเบื้องต้นทางรัฐบาลลาวได้เข้าไปให้ความช่วยเหลือใน 3 เมืองใหญ่ ได้แก่ เวียงจันทน์เชียงขวาง และปากเซ เป็นการนำร่อง และจะขยายไปสู่เมืองอื่นๆ ที่ต้องการความช่วยเหลือด้านการเงินต่อไปในอนาคต

ILO เล็งเห็นว่าปัจจัยส าคัญของความสำเร็จของโครงการดังกล่าวคือ การเข้าถึงหอการค้าของประเทศลาว
โดยตรง และการร่วมมือกับผู้ให้บริการพัฒนาด้านธุรกิจ (Business Development Services หรือ BDS) ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการพูดคุยเจรจากับเครือข่ายธุรกิจขนาดเล็ก การเข้าถึงธนาคารพาณิชย์ได้โดยตรงช่วยให้ธุรกิจขนาดเล็กสามารถสร้างแผนดำเนินการทางการค้าได้สะดวกยิ่งขึ้น

3. การนำเสนอ “ตัวอย่างโครงการ Steps with Theera”
โดย คุณแมกซ์ ซิมป์ สัน (Max Simpson) ผู้จัดการโครงการ Steps with Theera

คุณแมกซ์ ซิมป์ สัน ทำงานเป็นที่ปรึกษาให้ค าแนะน ากับเยาวชนพิการ โดยเฉพาะเยาวชนที่มีภาวะออทิสซึม
ดาวน์ซินโดรม ผู้ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ และผู้ที่มีปัญหาสมาธิสั้น กลุ่มคนเหล่านี้จำนวนกว่าร้อยละ 70 ไม่จบการศึกษาและไม่ได้เข้าศึกษาต่อในการศึกษาระดับสูง จึงว่างงานและไม่มีโอกาสเข้าถึงโอกาสในการจ้างงาน ซึ่งอันที่จริงแล้วคนกลุ่มนี้เป็นผู้มีความสามารถในการท างานแต่ไม่ได้รับโอกาส ด้วยเหตุนี้ทางโครงการจึงหาวิธีเสริมทักษะทางวิชาชีพให้กับเยาวชนกลุ่มนี้เพื่อลดปัญหาดังกล่าว

โครงการ Steps with Theera ร่วมมือกับทางองค์การแรงงานระหว่างประเทศ เพราะเห็นว่าการเรียนรู้โดยเน้น
กิจกรรมเป็นฐานนั้นมีความเหมาะสมกับการฝึกอบรมเยาวชนผู้พิการในประเทศไทย เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านการให้ค าแนะน ากับผู้พิการในประเทศไทยมีจ านวนน้อยและไม่เพียงพอต่อการเข้ามาช่วยเหลือในการฝึกอบรม การใช้ C-BED ในการเสริมสร้างทักษะและความสามารถให้กับกลุ่มเยาวชนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในไทยนั้นประสบผลสำเร็จอย่างมาก ผู้เข้ารับการฝึกอบรมอยู่ในช่วงอายุ 18-25 ปีและมีภาวะความบกพร่องทางการเรียนรู้ที่หลากหลายการฝึกอบรมแบ่งออกเป็นหลายสายอาชีพ เช่น ธุรกิจร้านกาแฟ งานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และการบริหารองค์กร เป็นต้น

การอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

มร.บอดเวลล์ได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะแรงงานด้อยโอกาสว่า กลุ่มแรงงานที่เข้าถึงและ
ให้การฝึกอบรมได้ยากมาก จะเป็นกลุ่มผู้รับเหมางานมาท าที่บ้านและลูกจ้างงานบ้าน แรงงานเหล่านี้แต่ละคนทำงานในสถานที่ที่แตกต่างกันและมีวันหยุดเพียงวันเดียว การจัดการฝึกอบรมจึงจำเป็นต้องพยายามสร้างแรงจูงใจให้กลุ่มคนเหล่านี้สามารถสร้างวิสัยทัศน์เกี่ยวกับอนาคตของตนเอง สามารถกำหนดได้ว่าต้องการประกอบอาชีพในทิศทางใดในอีก 5 ปีข้างหน้า สามารถระบุความชื่นชอบและความถนัดของตนเองเพื่อสานต่อทักษะด้านนั้นๆ หรือทำอย่างไรให้กลุ่มคนเหล่านี้สร้างรายได้ให้มากขึ้นในระหว่างที่ท างานในปัจจุบัน สิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงคือแรงงานด้อยโอกาสเหล่านี้คือผู้มีความสามารถแต่กลับไม่ได้รับโอกาสในการทำงาน วัตถุประสงค์สำคัญของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือการหยิบยื่นโอกาสในการฝึกอบรมให้กับพวกเขาเพื่อยกระดับทักษะและโอกาสในการสร้างรายได้ในอนาคต

ในบริบทประเทศไทย การเรียนรู้โดยเน้นกิจกรรมเป็นฐานและการใช้คู่มือกึ่งแบบเรียนมีความเหมาะสมกับ
การพัฒนาทักษะของแรงงานอย่างมาก โดยสามารถเริ่มต้นด้วยการนำมาปรับใช้กับการฝึกอบรมแรงงานในพื้นที่ชนบทเพื่อสร้างต้นแบบแล้วจึงขยายต่อไปในอนาคตได้ในอนาคต ทาง ILO มีเป้าหมายที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวกในการฝึกอบรม โดยเฉพาะระบบอินเตอร์เน็ตและสมาร์ทโฟน ซึ่งจะทำให้สามารถเข้าถึงกลุ่มคนในจำนวนที่มากขึ้นและสามารถสร้างเครือข่ายทางธุรกิจได้สะดวกขึ้น แต่การเรียนรู้ผ่านช่องทางออนไลน์นั้นยังขัดแย้งกับแนวทางของ ILO ที่มุ่งเน้นให้คนในชุมชนสามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้อย่างเป็นธรรมชาติและอิสระ เพราะการเรียนรู้ด้วยตนเองที่บ้านไม่เอื้อต่อการสร้างปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนสมาชิก ดังนั้น องค์ประกอบด้านเทคโนโลยีจึงเป็นความท้าทายสำคัญที่ทางหน่วยงานต้องค้นหาวิธีจัดการที่เหมาะสมต่อไป ทั้งนี้ ทาง กสศ. ได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ของวิธีการฝึกอบรมส าหรับชุมชนที่ทางองค์การแรงงานระหว่างประเทศนำเสนอ ซึ่งจะสามารถลดความเหลื่อมล้ำทางโอกาสในการศึกษาและประหยัดงบประมาณในการดำเนินการได้โดยหวังว่าจะเป็นสื่อกลางในการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และขยายผลต่อไปในอนาคต