สรุป Session ที่ 2 ของการอภิปรายจากงานประชุมวิชาการนานาชาติเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา : ปวงชนเพื่อการศึกษา หรือ Equitable Education Conference 2020 “All for Education” ภายใต้หัวข้อ “นโยบายและนวัตกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่เด็กและเยาวชนด้อยโอกาส” เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคมที่ผ่านมา
โดยศาสตราจารย์ Amarendra P. Behera สถาบันเทคโนโลยีการศึกษาประเทศอินเดีย ยกตัวอย่างว่า ในประเทศอินเดีย มีโรงเรียน 1.5 ล้านแห่ง มหาวิทยาลัยกว่า 900 แห่ง มีเด็กนักเรียนมากถึง 330 ล้านคน และมีครู 10 ล้านคน ดังนั้นในช่วงวิกฤต COVID-19 การที่เราจะเข้าถึงนักเรียนทุกจึงเป็นความท้าทายของครูเป็นอย่างมาก แต่เรามีเทคโนโลยีที่ทำให้สามารถจัดการศึกษาแบบดิจิทัลในระดับประเทศและท้องถิ่นได้
ซึ่งในระหว่างการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 หน่วยงานของเขาภายใต้การกำกับของรัฐบาลอินเดีย ได้พัฒนาและเผยแพร่แผนการเรียนสําหรับนักเรียนชั้นประถมและมัธยมบนเว็บไซต์เพื่อเป็นแนวทางสำหรับครูที่จะนำอุปกรณ์ เครื่องมือเทคโนโลยีหรือสื่อสังคมออนไลน์ที่มีอยู่ไปใช้ให้การเรียนสนุกและน่าสนใจมากยิ่งขึ้นสำหรับเด็กๆ โดยแผนการเรียนที่พัฒนาขึ้นนักเรียนผู้ปกครองและครูสามารถนำไปใช้ได้ในขณะที่ต้องอยู่บ้าน ซึ่งได้เผยแพร่แผนดังกล่าวนี้ผ่านทีวี ผ่านแพลตฟอร์มเว็บไซต์ วิทยุและระบบเสียง IVRS เพื่อให้เรายังคงจัดการศึกษาได้อย่างต่อเนื่องแม้ว่าจะอยู่ในที่ที่ชนบทห่างไกลที่ไม่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ต
ส่วนในระดับประเทศและท้องถิ่น ยังมีโครงการการศึกษาแบบดิจิทัลมากมายที่รัฐบาลได้เปิดตัว เรามีแอปพลิเคชั่นทางการศึกษากว่า 400 แอปฯ ที่หน่วยงานภาครัฐต่างๆ ได้พัฒนาขึ้นเพื่อให้บริการการศึกษา จัดอันดับบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา เช่น ระบบการเดินทาง การสื่อสารเพื่อช่วยให้ผู้ที่ไม่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ตได้เข้าถึงการศึกษาได้ นอกจากนี้รัฐบาลอินเดียได้จัดให้มี โทรทัศน์ 32 ช่อง เพื่อให้บริการการศึกษา และประกาศให้มีการจัด ทีวี 1 ช่อง สำหรับแต่ละชั้นเรียนโดยเฉพาะอีกด้วย
ด้านคุณวันทนีย์ พันธชาติ กรรมการมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กล่าวว่า การเรียนทางไกลสำหรับประเทศไทยที่จัดขึ้นจะต้องคำนึงถึงกลุ่มนักเรียนพิการด้วย ซึ่งมีหลายประเภท การเข้าถึงกระบวนการเรียนรู้จึงต้องมีความแตกต่างกัน ดังนั้นเราจะต้องคำนึงถึงคำว่า “การเข้าถึง (Accessibility)” เราจะไม่พูดว่าคนจะมีทีวีหรือไม่มีทีวี เพราะเครื่องมือตรงส่วนนี้เราสามารถจัดการได้ แต่สิ่งสำคัญที่สุดที่เราจะต้องพูดถึงคือเนื้อหา เพราะเนื้อหานั้นจะต้องเข้าถึงเด็กพิการและเด็กๆ จะต้องนำเนื้อหานั้นไปใช้ประโยชน์ได้ เรามีเด็กตาบอด เด็กหูหนวก เด็กกลุ่มพิการทางสติปัญญา เราจะต้องคิดว่าเด็กๆ กลุ่มเหล่านี้จะสามารถเข้าถึงเนื้อหาเหล่านี้ได้หรือไม่อย่างไร
ดังนั้นหากเราพูดถึงเรื่องการจัดการ Content สำหรับกลุ่มนักเรียนหรือกลุ่
มคนพิการเราจะพูดถึง 3 เรื่อง ประกอบไปด้วย 3 ส่วนดังนี้ 1. ต้องมีภาษามือ 2.ต้องมีคำบรรยายแทนเสียง 3.ต้องมีเสียงบรรยายภาพ ซึ่งหลักทั้ง 3 สิ่งนี้เป็นข้อกำหนดจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช.ที่ระบุว่ารายการโทรทัศน์จะต้องดำเนินการ 3 เรื่องนี้ ให้กับการเข้าถึงของกลุ่มคนพิการการ 3 สิ่งนี้จึงจำเป็นอย่างยิ่ง
เราเองได้ดำเนินการตามแนวทางทั้ง 3 ข้อนี้ ซึ่งศูนย์ A-MED ของเราได้ร่วมกับสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท. หรือ IPST) จัดทำเนื้อหาที่เป็นเรื่องยากของการเรียนรู้มาทำให้ง่ายขึ้นด้วยการทำสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบ E-Book ที่เติมมาตรฐานเข้าไปแล้วเรียกว่า E-PUB และเราได้จัดทำระบบฐานข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ทุกคนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อยู่ในเว็บไซต์ https://epub.aid.in.th// ซึ่งในเว็บไซต์นี้จะมีหนังสืออยู่ประมาณ 400 เล่ม ที่ทุกคนสามารถนำมาใช้ในการเรียนด้วยตนเองได้
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบ E-PUB ของเรานั้น ผู้พิการทางสายตาก็สามารถเปิดฟังเสียงได้ นอกจากนี้เรายังมีเรื่องคำอธิบายที่เป็นแคปชั่นให้กับกลุ่มผู้พิการทางการได้ยิน และมีคำอธิบายภาพสำหรับกลุ่มผู้พิการทางสายตาที่เป็นเสียงบรรยายภาพ ซึ่งแบบฟอร์มการอ่านมีทั้งบนคอมพิวเตอร์และมือถือ
เรื่องการเรียนการสอนของทีวีดิจิทัลที่ทีมเราได้ร่วมมือกับทางมูลนิธิการศึกษาทางไกลทำตัวอย่างที่จะได้เข้าไปช่วยด้านการศึกษาของกลุ่มเด็กพิการโดยเราเอาวีดีโอการเรียนการสอนมาใส่ ข้อมูล ที่เป็นล่ามและแคปชั่น สิ่งที่เราทำเราก็พยายามเอาเทคโนโลยีต่างๆ เข้าไปช่วยเพื่อให้ Content เหล่านี้สามารถทำงานได้เร็วขึ้น
“การเรียนการสอนโดยใช้ล่ามทางไกลและเรียลไทม์แคปชั่นนิ่งสำหรับนักเรียนหูหนวก คือเด็กหูหนวกที่เรียนห้องเรียนในไอทีในราชภัฏสกลนครเขาสามารถที่จะเรียนรู้ได้ด้วยตนเองด้วยอุปกรณ์ในชั้นเรียนโดยล่ามอยู่อีกที่หนึ่ง ครูประจำชั้นอยู่อีกที่หนึ่ง ซึ่งไม่กี่เดือนนักเรียนจะต้องเปิดเทอม ก็จะมีการเรียนการสอนแบบนี้เกิดขึ้นโดยที่นักเรียนอาจจะอยู่บ้านครูสอนอีกที่หนึ่ง ล่ามอยู่อีกที่หนึ่ง คนทำแคปชั่นอยู่อีกที่หนึ่ง แต่เราสามารถเอาเทคโนโลยีมารวมกันเพื่อเป็นประโยชน์กับนักเรียนที่มีความพิการให้สามารถเรียนรู้ได้เช่นเดียวกับเด็กปกติ ในช่วงที่สถานการณ์ของประเทศไทยเราเป็นแบบนี้ ซึ่งทางออกเรามีมากมายการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยทำให้นักเรียนของเราก็สามารถเรียนได้โดยเฉพาะนักเรียนพิการของเรา” คุณวันทนีย์ระบุ
ขณะที่คุณ Rhonda Galbally กรรมาธิการด้านพิทักษ์สิทธิผู้พิการของออสเตรเลีย กล่าวว่า การศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดทางสังคมที่จะบ่งบอกได้ว่าประชาชนในประเทศนั้นๆ มีสุขภาวะที่ดีหรือไม่ ซึ่งการเข้าถึงการศึกษาที่เท่าเทียมกันและไม่แบ่งแยกเป็นสิ่งสำคัญที่จะลดความไม่เท่าเทียมในประเทศนั้นๆ ทั้งในเรื่องของสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีตลอดชีวิตของเด็ก และไม่ใช่แค่เด็กธรรมดาทั่วไปแต่รวมถึงเด็กพิการด้วย เพราะทุกครั้งที่มีการพูดถึงประเด็นนี้กลุ่มเด็กพิการก็จะถูกมองข้ามไป โดยกรรมาธิการด้านพิทักษ์สิทธิผู้พิการของออสเตรเลียของเราทำงานในรูปแบบของการศึกษาปัญหาและพัฒนาข้อแนะนำในการแก้ไขปัญหาให้กับรัฐบาล
ซึ่งที่ผ่านมาเราได้จัดเวทีประชาพิจารณ์ระบบการศึกษาและพบว่าเด็กพิการเป็นเด็กๆ ที่จะได้รับการกลั่นแกล้งรวมถึงเป็นเหยื่อของความรุนแรงที่โรงเรียนในอัตราที่สูงกว่าเด็กธรรมดา และเด็กกลุ่มนี้ก็จะถูกกีดกันและจะถูกแยกออกจากการศึกษาในระบบปกติ การละเลยทางการศึกษาสำหรับเด็กพิการจึงเป็นปัญหาใหญ่ เราจึงเคลื่อนไหวนจนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายด้านการศึกษาเกี่ยวกับเด็กพิการในประเทศของเรา
แต่ปัญหาที่เจอคือ ในประเทศเราไม่มีนโนบายรองรับการให้การศึกษาให้ครอบคลุมเด็กพิการ จึงทำให้ขาดทรัพยากร การสนับนุนต่างๆ รวมถึงการฝึกอบรมครูผู้สอน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เกิดมาจากการที่ผู้ร่างนโยบายคิดว่าเด็กพิการไม่สามารถทำอะไรดีๆ ได้ และมีความคาดหวังต่ำกับเด็กพิการ จึงทำให้ไม่มีที่เหมาะสำหรับเด็กๆ กลุ่มนี้
“ดังนั้นหัวใจในงานของเราคือการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดของคนพิการในประเทศออสเตรเลีย ซึ่งจะเป็นการยุติความเชื่อและทัศนะคติที่ผิดๆ เกี่ยวกับคนพิการ ซึ่งหากเราจะเห็นความเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นเราจะต้องเริ่มต้นจากห้องเรียน”
ส่วนคุณ Catia Malaquias ผู้ก่อตั้งและที่ปรึกษาเครือข่ายภาคประชาสังคมองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร All Means All กล่าวว่า ความเท่าเทียมทางการศึกษาคือ ทุกคนควรมีสิทธิที่จะเข้าถึงการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งในระดับนโยบายจะต้องมีมาตรการที่จะช่วยเหลือเด็กและเยาวชนในกลุ่มเปราะบาง เพื่อให้เด็กๆ ในกลุ่มนี้มีโอกาสเรียนรู้เท่ากับคนอื่น ดังนั้นการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมจะเกิดขึ้นได้หากเราสร้างการศึกษาที่เท่าเทียมให้กับเด็กๆ ในกลุ่มพิการด้วย ซึ่งออสเตรเลียก็เหมือนกันหลายประเทศที่รัฐบาลไม่ยอมปฏิรูปเรื่องการศึกษาทั้งระบบเพื่อรองรับเด็กทุกกลุ่มอย่างจริงจัง
ซึ่งการจะสร้างระบบการศึกษาแบบเรียนรวมได้จะต้องมีกฏหมายและนโยบายที่มีประสิทธิภาพ และจะต้องปกป้องสิทธิของเด็กทุกคนที่จะได้เข้าถึงการศึกษาที่เท่าเทียมและเรียนร่วมกันได้ รวมถึงต้องมีกฏหมายที่ระบุอย่างชัดเจนว่าจะไม่ให้เกิดการกีดกันกับเด็กๆ กลุ่มพิการซึ่งรวมถึงการระบุในข้อกฏหมายอย่างชัดเจนว่าไม่ให้โรงเรียนปฏิเสธในการรับเด็กเข้าศึกษาเพียงเพราะความพิการของเขาได้ และต้องไปปรับแก้กฏหมายที่มีอยู่ว่าทำให้เกิดการกีดกันกับเด็กหรือไม่อย่างไร
การไร้ประสิทธิภาพของกฏหมายทำให้ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา เกิดการกีดกันทางการศึกษากับกลุ่มเด็กพิการมากขึ้น และถึงแม้เราจะมีการอนุสัญญาว่าด้วยคนพิการมากว่า 10 ปีแล้ว แต่เป้าหมายที่เราตั้งไว้ว่าจะทำให้เกิดการศึกษาแบบเรียนรวมและเท่าเทียมไม่เคยเกิดขึ้นจริงสักที
นอกจากนี้การศึกษาประเทศเราเองที่มี 2 ระบบ คือระบบของนักเรียนธรรมดาและนักเรียนพิการ ทำให้การศึกษาแบบเรียนรวมเกิดขึ้นได้ ซึ่งระบบการศึกษาสำหรับเด็กพิการไม่ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อเด็กพิการอย่างแท้จริงแต่ตั้งขึ้นเพือลดภาระของการศึกษาในระบบปกติ ทำให้ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ สำหรับเด็กพิการ
“เราอยากเห็นการจัดการศึกษาในรูปแบบเรียนรวมที่เท่าเทียมและเด็กๆ ทุกคนเข้าถึงได้ ซึ่งการที่เด็กๆ ทุกคนได้เรียนด้วยกันอยู่ในห้องเดียวกันจะทำให้พวกเขาเกิดการยอมรับซึ่งกันและกัน ซึ่งเราจะต้องไปช่วยกันผลักดันและแก้ระบบการศึกษาของบ้านเราให้เกิดขึ้นให้ได้” Catia Malaquias กล่าว