ทุนพัฒนาอาชีพที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน ลดช่องความเหลื่อมล้ำ ดูแลคน’ตกขอบ’

ทุนพัฒนาอาชีพที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน ลดช่องความเหลื่อมล้ำ ดูแลคน’ตกขอบ’

ทุนพัฒนาอาชีพที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน’ เครือข่ายภาคอีสานเปิดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการหน่วยพัฒนาอาชีพภาคอีสาน ที่จังหวัดขอนแก่น เพื่อทบทวนเป้าหมายและวัตถุประสงค์ในการทำงาน รวมถึงนำบทเรียนที่ได้รับผ่านการทำงานช่วงแรกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน พร้อมเรียนรู้เรื่องฐานคิดและเครื่องมือการทำงานในระยะต่อไป ก่อนลงพื้นที่ทำโครงการเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพให้กับกลุ่มผู้ด้อยโอกาสและขาดแคลนทุนทรัพย์

สำหรับ เวทีหนุนเสริมภาคตะวันออกเฉียงเหนือครั้งที่ 1’ เป็นการพบปะรวมตัวของคณะทำงานโดย กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) นักจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีชีวิต หรือ ‘กระบวนกร’ และ หน่วยพัฒนอาชีพ 21 หน่วย ในพื้นที่ 13 จังหวัดของภาคอีสาน ที่ผ่านการเคี่ยวกรำจากผู้ทรงคุณวุฒิหลากหลายสาขาอาชีพ ตลอดจนกระบวนกรผู้เชี่ยวชาญการจัดกระบวนการเรียนรู้ จนมาถึงขั้นตอนก่อนลงมือภาคปฏิบัติ

งานครั้งนี้จะลงลึกในเรื่องของวิธีการและขั้นตอน ซึ่งมุ่งไปที่การควบคุมดูแลให้หน่วยพัฒนาอาชีพแต่ละแห่งเข้าใจใน กรอบ’ และ เป้าหมาย’ ในการทำงานเชิงกระบวนการ ที่ต้องจัดแบ่งการทำงานออกเป็นขั้นตอน(step) โดยในแต่ละขั้นตอนจะมีทั้ง วิธีการ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ รวมถึงบทเรียนทั้งที่เป็นความสำเร็จและบทเรียนที่พึงระวัง

ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ ที่ปรึกษากองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา และประธานอนุกรรมการกำกับทิศทางโครงการพัฒนาระบบทดลองการพัฒนาทักษะแรงงานที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาส กสศ. ได้กล่าวถึงภาพรวมของโครงการว่า ทุนพัฒนาอาชีพที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน เป็นการทำงาน ทวนกระแส’ ที่ต้องใช้ระยะเวลา เพราะการทำงานกับกลุ่มผู้ด้อยโอกาสต้องอาศัยความร่วมมือและความทุ่มเทจากหลายฝ่าย

ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ ที่ปรึกษา กสศ.
และประธานอนุกรรมการกำกับทิศทางโครงการฯ

ก่อนอื่นเราต้องเห็นภาพใหญ่ร่วมกันว่าสิ่งที่ทุกคนร่วมมือกันทำ กำลังตอบโจทย์วิกฤติที่รุนแรงที่สุดของประเทศ คือปัญหาด้านความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจที่ ณ ปัจจุบันมีความห่างกันถึง 25 เท่า หากมองเฉพาะด้านการศึกษาอยู่ที่ 20 เท่า ซึ่งทำให้ประเทศไทยก้าวขึ้นมาเป็นที่ แล้วในด้านปัญหาความเหลื่อมล้ำ และนั่นหมายถึงปัญหาอื่นๆ ในสังคมที่จะตามมา เหล่านี้คือสาเหตุของคำถามที่ว่า ทำไมคนต้องย้ายถิ่นฐานเข้าเมืองใหญ่’ ‘ทำไมสังคมถึงเต็มไปด้วยปัญหาความรุนแรง’ หรือ ทำไมสถิติวัยรุ่นตั้งครรภ์ก่อนเวลาอันควรจึงมีมากขึ้น

“ดังนั้น หน้าที่ของโครงการ ฯ และคณะทำงานทุกคนจึงเปรียบได้กับหมอ หรือวิศวกร ที่จะเข้ามารักษาซ่อมแซมและวางรากฐานสังคม เพื่อลดช่องว่างของความเหลื่อมล้ำให้แคบเข้ามา โดยกลุ่มคนที่สำคัญที่สุดซึ่งต้องได้รับการดูแลคือคนที่เขา ตกขอบ’ ไม่ว่าจะเป็นคนตกงาน ผู้พิการ คนเร่ร่อน หรือคือคนที่เขาไม่เคยได้รับโอกาส ถูกตราหน้าว่ายากที่จะทำให้ดีขึ้นได้ และการที่จะทำงานให้ลุล่วงไปได้ สิ่งแรกที่เราต้องมีคือ ความเชื่อมั่น’ ว่าจะสามารถพัฒนาและช่วยเหลือพวกเขาได้”

ศ.ดร.สมพงษ์ ระบุว่า ก่อนเดินหน้าโครงการสู่ระยะต่อไป มีหลักการ ข้อที่จำเป็นต่อการทำงาน และต้องคำนึงถึงเสมอตลอดกระบวนการ ได้แก่

  1. ชุมชนเป็นฐาน’ เพราะชุมชนคือพื้นที่ที่จะให้คำตอบของการเปลี่ยนแปลงสังคมตั้งแต่ฐานรากได้ “หากชุมชนล่มสลาย สังคมก็อยู่ไม่ได้” ดังนั้นการพัฒนาต้องเริ่มที่หน่วยย่อยในชุมชนนั้นๆ เช่น ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) หรือ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน เป็นต้น
  2. กลุ่มคน’ ที่ต้องไปด้วยกันเป็นองค์รวม เรามีคนจำนวน 6,055 คน ที่เข้าร่วมโครงการ ทั้งแรงงานนอกระบบ ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ต้องขัง ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือกลุ่มชาติพันธุ์ เริ่มต้นเราต้องหาเป้าหมายกลุ่มนี้ให้ชัดเจน เก็บข้อมูล บันทึกความเปลี่ยนแปลง และสร้างทีมพี่เลี้ยงที่มีความชัดเจนว่าเหมาะสมจะทำงานกับคนกลุ่มใด
  3. สิทธิและโอกาส’ อันเป็นหัวใจของความเสมอภาค ที่เราต้องมอบให้กับคนทุกประเภทในสังคม ให้เขาไม่รู้สึกด้อยศักดิ์ศรี เป็นภาระ สามารถยืนขึ้นได้ด้วยตนเอง ให้เขาได้มีอาชีพ มีรายได้ ได้เปลี่ยนแปลงวิธีคิดที่จะรอรับความช่วยเหลือเพียงอย่างเดียวให้หันมาร่วมทำง่านไปด้วยกัน นั่นคือความหมายของคำว่า สิทธิมนุษยชน’ ที่จะทำให้ไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลังอย่างแท้จริง
  4. หน่วยงานราชการ’ ที่จะเข้ามาร่วมมือเพื่อช่วยให้งานดำเนินไปตามแผน พัฒนาหลักสูตรได้ต่อเนื่อง ด้วยเครื่องมือและข้อมูลที่จะช่วยสร้างช่องทางเข้าถึงกลุ่มคนตกขอบต่างๆ
  5. ความเท่าเทียม’ ที่จะเกิดขึ้นได้ด้วย การเปลี่ยนแปลงจากล่างขึ้นบน’ เริ่มที่โรงเรียน ชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบล พื้นที่และบุคคลเล็ก ๆ เหล่านี้คือหน่วยสำคัญที่จะช่วยรณรงค์ให้เกิดการเคารพสิทธิของคนทุกประเภท และหากเราทำได้สำเร็จ คือการพัฒนาสังคมโดยใช้กลุ่มคนด้อยโอกาสเป็นฐาน เมื่อนั้นเราจึงสามารถลดความเหลื่อมล้ำที่เป็นปัญหาใหญ่ในประเทศของเราได้จริงๆ

“ท้ายที่สุด กสศ. ในฐานะผู้สนับสนุนโครงการ จะมีหน้าที่ค้นหาเครื่องมือ เงินทุน นวัตกรรม ความช่วยเหลือ ตลอดจนการประสานงานกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม การลงมือทำคือกระบวนการที่จะนำเราสู่บทสรุปในตอนท้าย ว่าจะสามารถทวนกระแสเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงได้มากน้อยอย่างไรในอนาคต เชื่อว่าจิตใจทุกดวงที่เข้ามาร่วมทำงานล้วนคาดหวังเป็นหนึ่งเดียวกันว่า เราจะได้เห็นสังคมที่เสมอภาคเท่าเทียมในวันหนึ่ง” ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ กล่าว