“ล้านพลังคนไทย มอบโอกาสทางการศึกษาเป็นของขวัญ”

“ล้านพลังคนไทย มอบโอกาสทางการศึกษาเป็นของขวัญ”

พฤษภาคม 2562  กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เริ่มต้นสื่อสารรณรงค์ โครงการ

จดหมายลาครู ผ่านข้อเท็จจริงที่ว่าปัจจุบันมีเด็กไทยมากกว่า  2,000,000 คน มีความเสี่ยงต้องหลุดออกจากระบบการศึกษาเพราะ‘ความยากจน’  เด็กจำนวนมาก ต้อง ‘ลาหยุดเรียน’ ไปช่วยพ่อแม่รับจ้างทำงานหารายได้เพื่อช่วยเหลือครอบครัว บางคนขาดเรียนกว่าสัปดาห์ บางคนหายไปนานนับเดือน จนส่งผลกระทบต่อการเรียนอย่างหนัก และหลายคนไม่ได้กลับมาเรียนอีกเลย การรณรงค์ในครั้งนั้นยังนำมาสู่การรวมตัวกันของกลุ่มศิลปินกราฟฟิตี้ร่วมสะท้อนเสียงของเด็กๆจากจดหมายลาครูฉบับจริงจากทั่วทุกสารทิศ  บนศิลปะกราฟฟิตี้บนกำแพงหลายจุดในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดต่างๆ  เพื่อชวนคนไทยตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

ช่วยเด็กยากจนด้อยโอกาส “จำเป็น เร่งด่วนและรอไม่ได้”

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ในฐานะหน่วยงานที่มีภารกิจในการลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเสมอภาคทางการศึกษา ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ  ในปีที่ผ่านมา กสศ.ได้เดินหน้าช่วยเหลือบรรเทาอุปสรรคในการเข้าถึงการศึกษาให้กับเด็กกลุ่มนี้ มากกว่า 7 แสนคน ผ่านโครงการเงินอุดหนุนแบบมีเงื่อนไข หรือทุนเสมอภาค  ด้วยพลังความทุ่มเทของคุณครูกว่า 4 แสนคน จาก 3 สังกัด ได้แก่ สพฐ. ตชด. และอปท. ลงพื้นที่เยี่ยมบ้าน ค้นหา คัดกรองเด็กๆยากจนด้อยโอกาสเพื่อให้ได้รับทุนเสมอภาคของกสศ.

แต่นั่นก็ยังไม่เพียงพอเพราะจากการประเมินของคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา (กอปศ.) พบว่ากลุ่มเป้าหมายตามภารกิจของ กสศ. มีมากกว่า 4 ล้านคน และจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรด้านงบประมาณมากกว่าปีละ 25,000 ล้านบาทต่อปี ในขณะที่ในปีงบประมาณ 2562 ที่ผ่านมา กสศ. ได้รับการจัดสรรทรัพยากรเพียง 2,537 ล้านบาทหรือเพียง 10% ของงบประมาณที่ควรจะได้รับตามภารกิจเท่านั้น

เพราะทุกวินาทีที่หายไป คือโอกาสที่กลับคืนมาไม่ได้ ของเด็กหลายล้านคน และของประเทศ

จากการติดตามเด็กกลุ่มนี้อย่างใกล้ชิดผ่านระบบสารสนเทศเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (Information System for Equitable Education : iSEE) ซึ่งเป็นระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ที่สามารถรายงานผลและติดตามเด็กๆกลุ่มนี้ได้รายบุคคล   รวมถึงกรณีที่ปรากฎเป็นข่าวความเดือดร้อนของเด็กๆกลุ่มนี้ในสื่อต่างๆแทบทุกวัน ยิ่งยืนยันว่า มีเด็กจำนวนมากที่ไม่สามารถต้านทานกับปัญหาความยากจนของครอบครัว และหากไม่ได้รับการช่วยเหลือที่ทันท่วงทีและพอเพียง  พวกเขาและเธอจำเป็นต้องลาออก หลุดจากการศึกษาก่อนสำเร็จการศึกษาภาคบังคับ  โดยปัจจุบัน จำนวนเด็กเยาวชนที่อยู่นอกระบบการศึกษากำลังเพิ่มสูงขึ้นโดยมีมากถึง 430,000 คน (อายุระหว่าง 6-14 ปี/ป.1-ม.3) และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต

อย่างไรก็ตามมีข้อมูลระบุชัดว่าแนวโน้มการออกจากระบบการศึกษาของเด็กไม่ได้เป็นปัญหาเฉพาะตัวเด็กเองและครอบครัว แต่ยังเป็นปัญหาที่เชื่อมโยงกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในภาพรวมของประเทศ ดังนั้น โอกาสที่สูญเสียไปทางการศึกษาของเด็กๆกลุ่มนี้ ก็คือโอกาสที่สูญเสียไปของประเทศเช่นกัน

อดีตรองผู้อำนวยการใหญ่องค์การยูเนสโก Dr.Nicholas Burnett เคยประเมินว่าปัญหาเด็กเยาวชนนอกระบบการศึกษา สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศไทยมากกว่าปีละ 1-3 % ของ GDP หากมองในมิตินี้ การลดความเสี่ยงและรักษาเด็กไว้ในระบบการศึกษา จึงไม่เพียงช่วยสร้างโอกาสในอนาคตของเด็กๆ  แต่ยังสร้างผลกระทบทางบวกในการพัฒนาประเทศในภาพรวม

นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมปัญหานี้จึง “จำเป็น เร่งด่วนและรอไม่ได้”  

และลำพังเพียงกสศ.และงบประมาณแผ่นดินที่จำกัดอาจไม่สามารถช่วยเด็กทุกคนได้ทันเวลาการสนับสนุนเพิ่มเติมจากประชาชนคนไทยจะเป็นพลังสำคัญในการทำให้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาเหล่านี้มีแนวโน้มลดลงอย่างยั่งยืนได้ในอนาคต

5 เรื่องจริงของเด็กยากจนด้อยโอกาส เสี่ยงหลุดออกจากระบบการศึกษากว่า 2 ล้านคน

1.ครอบครัวยากจนที่สุด
" มีรายได้ 15 บาท " ต่อคนต่อวัน
ครอบครัวของนักเรียนยากจนด้อยโอกาสที่ กสศ.เข้าไปช่วยเหลือ
มีรายได้เฉลี่ยต่ำสุด 462 บาทต่อคนต่อเดือน หรือ 15 บาทต่อวัน
ส่วนครอบครัวที่มีรายได้เฉลี่ยสูงสุดที่กสศ.เข้าไปช่วยเหลือเด็กมีภาวะ อยู่ที่ 2,093 บาทต่อคนต่อเดือน หรือ 69 บาทต่อวัน

2.เด็กมีภาวะ "ทุพโภชนาการ" 1.9 หมื่นคน
ข้อมูลจากระบบ isee ชี้ว่า มีนักเรียนยากจนพิเศษ ที่ผอมต่ำกว่าเกณฑ์
การเจริญเติบโตกว่า 19,000 คน และยังพบนักเรียนที่มีแนวโน้มเสี่ยงผอมต่ำกว่าเกณฑ์อีกกว่า 33,000 คน
จากการสำรวจพบว่าเด็ก 44.5% ไม่ได้ทานอาหารเช้า
โดยสาเหตุมาจากฐานะยากจนต้องช่วยพ่อแม่ทำงานก่อนมาเรียน และโรงเรียนยังไม่มีงบประมาณเพียงพอ

3.เด็กยากจนเกือบ " 2 แสนคน" กำพร้า
จากข้อมูลที่พบเด็ก 192,789 คน หรือ 34.56 %
ของนักเรียนยากจนพิเศษไม่ได้อยู่กับพ่อแม่แต่อาศัยอยู่กับปู่ย่าตายาย บางกรณีกลายเป็นภาระให้ปู่ย่าตายายซึ่งมีปัญหาทางเศรษฐกิจอยู่แล้ว
สุดท้ายเด็กหลายคนต้องออกจากระบบการศึกษาในที่สุด

4.เด็กบางคนเดินเท้าไปกลับโรงเรียนกว่า " 20 กม."
สภาพบ้านที่ไกลจากโรงเรียนทำให้เด็กบางคนต้องเดินทางไปโรงเรียน
ด้วยความยากลำบาก บางคนต้องเดินทางข้ามภูเขา
ข้ามแม่น้ำ บางคนต้องเดินทางไกลกว่า 20 กม.
บางคนต้องหยุดเรียนในช่วงหน้าฝนเพราะสู้แรงพายุไม่ไหว

5.บ้านทรุดโทรม
จากการลงพื้นที่เยี่ยมบ้านเด็กครูหลายคนพบสภาพบ้านที่อาจเรียกว่าบ้านได้ไม่เต็มปากบ้างแห่งเป็นแค่เพิ่งผ้าใบหรือป้ายไวนิลโฆษณาเก่าๆมาขึงกันแดด กันฝนชั่วคราว บางหลังไม่มีแม้แต่ฝาผนัง ปล่อยโล่งตามสภาพ หลังคามุงด้วยหญ้าคาเก่าๆเท่านั้น ไม่มีน้ำประปา ไม่มีไฟฟ้าใช้

 

ให้ “โอกาส”เป็น “ของขวัญ” ที่มีค่าต่ออนาคตของชาติ

เพราะการศึกษา คือโอกาสที่เปลี่ยนชีวิตคนเราได้   ในเดือนเทศกาลแห่งการให้ และก้าวสู่ปีใหม่เช่นนี้ กสศ.จึงขอเชิญชวนคนไทยทั้งประเทศร่วมทำบุญครั้งสำคัญกับ กสศ.ในโครงการ  “ล้านพลังคนไทยมอบโอกาสทางการศึกษาเป็นของขวัญ” เพื่อเด็กๆ ที่มีความฝัน และมีศักยภาพอย่างเต็มเปี่ยม  มีอนาคตดีขึ้น และไม่หลุดออกจากระบบการศึกษา

 

….. เพราะสังคมไทย จะไม่ทิ้งเด็กคนไหนไว้ข้างหลัง มาช่วยกันทำให้ปี 2563 เป็นปีที่ดีขึ้นของเด็กเยาวชน และของสังคมไทย

 

 

ชีวิต 16 ปีเด็กปลายด้ามขวานไม่เคยได้ศึกษา มานะสู้ฝันสักครั้งขอเข้าห้องเรียน

กสศ.และภาคีอีกกว่า 20 จังหวัด ยังเดินหน้า ค้นหา-ช่วยเหลือ-ฟื้นฟู เด็กเยาวชนนอกระบบการศึกษาต่อเนื่อง ล่าสุดจังหวัดยะลาได้ส่งเด็กนอกระบบวัย 16 ปี จากอำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา ที่ประสบปัญหาบกพร่องทางร่างกายทำให้ไม่เคยผ่านระบบการศึกษา ได้เข้าสู่โรงเรียนได้อีก 1 คน อย่างน้อง ‘ซาเก๊ะ’ หรือ มะสากิ มีมะ

อ่านต่อ

สายธารน้ำใจผ่าน “จดหมายลาครู” ช่วยสร้างบ้าน เติมฝัน น้องวิน เป็นครูกลับมาสอนหนังสือเด็กในพื้นที่

สายธารน้ำใจจากทั่วประเทศหลั่งไหลมายังโครงการ “จดหมายลาครู” ซึ่งเครือข่ายศิลปิน Street Art รวมพลังสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่ได้รับแรงบันดาลใจจากจดหมายลาครูฉบับจริงของนักเรียนทั่วประเทศซึ่งเขียนลาไปช่วยครอบครัวทำงาน จนต้องขาดเรียนไป

อ่านต่อ

จม.ลาครู เติมรอยยิ้มแห่งความสุข ซ่อมตึกใหม่ เด็กเรียนมีความสุขขึ้น

โรงเรียนบ้านนาเกียน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ตึกเรียนที่เคยชำรุดทรุดโทรมได้รับ การซ่อมแซมให้กลับมาใช้งานได้ดีกว่าเดิม ด้วยเงินบริจาคในโครงการ “จดหมายลาครู” ซึ่งได้รับจัดสรรมาเป็นจำนวนเงิน 57,936 บาท โดยถือเป็นสายธารน้ำใจจากประชาชนทั่วประเทศที่เห็นความสำคัญต้องการ ให้แก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำในระบบการศึกษาไทย

อ่านต่อ

เงินบริจาคจม.ลาครู สร้างสุขทั้งรร. เติ่มความรู้ เสริมวิชาชีพ เพิ่มรายได้

ไม่เพียงแค่ความรู้ในแง่ “วิชาการ” แต่ที่โรงเรียนผาสุกประชานุกูล จ.อุดรธานี ยังพยายามปลูกฝังให้นักเรียนได้เรียนรู้วิชาชีพผ่านฐานการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งดำเนินการ มาอย่างต่อเนื่อง ​ทำให้นักเรียนที่ได้รับทุนเสมอภาคจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) มีความรู้ติดตัวเผื่อเป็นอาชีพเสริมในอนาคต

อ่านต่อ

ต่อยอดเงินบริจาค “จดหมายลาครู” โรงเรียนชุมชนวัดเสด็จ ขยายผลจัดฝึกอาชีพ

โรงเรียนชุมชนวัดเสด็จ จ.ปทุมธานี ​ ได้นำเงินที่ได้รับจัดสรรจากโครงการนี้ เป็นจำนวนเงิน 57,936 บาท นำไปต่อยอดโครงการ ‘สร้างโอกาส สร้างอาชีพ’ ให้กับนักเรียนทุนเสมอภาค ของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และครอบคลุมไปถึงนักเรียนที่ไม่ใช่นักเรียนทุนของ กสศ.ด้วย

อ่านต่อ

เติมคุณภาพชีวิตเด็กนร.บนดอย ผลลัพธ์เงินบริจาคจดหมายลาครู

นักเรียนโรงเรียนใบหนา อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ จะได้เข้าพักในอาคารพักนอนหลังใหม่ที่ผ่านการซ่อมแซมจากเงินบริจาคในในโครงการ “จดหมายลาครู” ของกสศ. ซึ่งได้รับจัดสรรมาเป็นจำนวนเงิน 57,936 บาท โดยถือเป็นสายธารน้ำใจจากประชาชนทั่วประเทศที่เห็นความสำคัญ ต้องการให้แก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำในระบบการศึกษาไทย

อ่านต่อ

กสศ.ร่วม 20 จังหวัด พาเด็กนอกระบบกลับเข้าเรียน

กสศ.จับมือ 20 จังหวัดคืนเด็กนอกระบบกลับสู่การศึกษาที่ยืดหยุ่น ป้องกันหลุดซ้ำ ปี 62 จะช่วยเด็กได้ 5,000 คน  ระดมทีมสหวิชาชีพวางแผนช่วยเหลือฟื้นฟูรายกรณี  ล่าสุด อบจ.ยะลาจับมือ รร.ราชประชานุเคราะห์ 41 ส่งเด็กคืนสู่โรงเรียนรับเปิดเทอมภาคเรียนที่ 2   ครอบครัว ครู เพื่อนนักเรียน ร่วมหนุนอย่างเข้าใจ

อ่านต่อ

เงินบริจาค“จดหมายลาครู” สู่ขนมปังสังขยาใบหม่อนไร้ไขมันทรานส์

“ขนมปังสังขยาใบหม่อน”  นับเป็นอีกตัวอย่างความสำเร็จอันเป็นผลที่ต่อเนื่องมาจากเม็ดเงินดังกล่าว ซึ่งทางนักเรียนโรงเรียนราษฎร์บำรุงธรรม จ.กาญจนบุรี ได้ร่วมกันคิดค้นพัฒนาสูตรและเริ่มจัดจำหน่ายไปในหลายพื้นที่ท่ามกลางเสียงตอบรับที่ดี

อ่านต่อ

20 จังหวัด จับมือ กสศ. ศธ. พม. และ สถ. เดินหน้าค้นหา-ช่วยเหลือ – ฟื้นฟู เด็กเยาวชนนอกระบบการศึกษารายคน

20 จังหวัด จับมือ กสศ. ศธ. พม. และ สถ. เดินหน้าค้นหา-ช่วยเหลือ – ฟื้นฟู เด็กเยาวชนนอกระบบการศึกษารายคน กสศ.พร้อมช่วย 5,000 คนแรก หลังพบปี 62 มีเด็กนอกระบบมากกว่า 8 แสนคนใน 20 จังหวัดนำร่อง ชวนสังคมไทยร่วมบริจาค ช่วยเด็กๆ หลุดพ้นจาก 3 วงจรเสี่ยง งานอันตราย รายได้ต่ำ –ค้าประเวณี-ยุวอาชญากร

อ่านต่อ

กสศ. ร่วมเอสโซ่ ประกาศเป็นเจ้าแรก ปักหมุดเพชรบุรี

เมื่อวันที่ 10 ก.ค. 2562 กสศ.ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) แถลงข่าวปฏิบัติการระดมความร่วมมือลดจดหมายลาครู ช่วยเด็กกลุ่มเสี่ยงหลุดออกนอกระบบการศึกษา และเปิดมิติใหม่ของการช่วยเหลือสังคม ตอบโจทย์ CSR ภาคธุรกิจ ชี้เป้าช่วยเหลือถูกคน พร้อมรายงานผลรายคน มั่นใจช่วยเด็กได้จริง

อ่านต่อ

ไม่ยอมจำนนต่อโชคชะตา! ‘โอมาน’ เด็กน้อยขอใฝ่ดี

ด.ช.ปรีชา จอดนอก หรือ ‘โอมาน’ นักเรียนชั้น ป.5 โรงเรียนชุมชนวันเสด็จ จังหวัดปทุมธานี บอกเล่าอย่างมั่นใจในตัวเอง "บ้านผมยากจนครับแต่ไม่อายเพื่อน เพราะเราไม่ได้ขอเขากิน"

อ่านต่อ

เปิดชีวิต ‘น้องแดง’ เจ้าของ ‘จดหมายลาครู’ บนผนังตึก

ในช่วงเดือน มิ.ย. เป็นช่วงเวลาแห่งโอกาส ‘น้องแดง’ จะเดินทางจากบนดอย อ.อมก๋อย ลงไป อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ไปรับจ้างเก็บลำไยตามสวนที่ได้รับว่าจ้าง ช่วยเก็บเท่าที่ทำไหว ตามกำลัง เท่าที่เด็กคนหนึ่งจะแบกภาระนี้ได้ เหตุผลทางการเงินทำให้ต้องตัดสินใจขาดเรียน บางครั้งครูก็ต้องออกตามกลับไปเรียนหนังสือ

อ่านต่อ

แถลงข่าวโครงการรณรงค์ “จดหมายลาครู” ร่วมลดเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ที่สวนเฉลิมหล้า กรุงเทพฯ กสศ. ร่วมกับ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จัดแถลงข่าวโครงการรณรงค์ “จดหมายลาครู” ความร่วมมือแก้ปัญหาเหลื่อมล้ำทางการศึกษา คืนเด็กๆกลุ่มเสี่ยงหลุดออกนอกระบบการศึกษากลับสู่โรงเรียน

อ่านต่อ

โครงการรณรงค์ จดหมายลาครู : 4 หน่วยงานร่วมแก้ปัญหาเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

กสศ. ร่วมกับ สพฐ. ตชด. อปท. ร่วมมือกันช่วยเหลือเด็กหลุดอยู่นอกระบบการศึกษาอย่างจริงจัง ผ่านโครงการเงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจนพิเศษซึ่งถือเป็นการปฏิรูปการจัดสรรงบประมาณเพื่อช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่เดือดร้อนที่สุด ได้อย่างถูกคน ตรงจุด โดยใช้ระบบสารสนเทศเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาหรือ iSEE เป็นเครื่องมือช่วยติดตาม

อ่านต่อ

กลุ่ม Street ART ผนึกกำลัง สร้างศิลปะ เป็นกระบอกเสียงแทนเด็กยากจน

เครือข่ายศิลปิน Street Art รวมพลังสร้างผลงานศิลปะที่ได้แรงบันดาลใจจากจดหมายลาครูฉบับจริงของเด็กนักเรียนในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ที่ขอลาหยุดเรียนเพื่อไปช่วยครอบครัวทำงาน แบ่งเบาภาระพ่อแม่ เพราะความยากจนข้นแค้น

อ่านต่อ