คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

เลือกเรื่องที่ต้องการ

โครงการจัดสรรเงินอุดหนุนนักเรียนยากจนพิเศษแบบมีเงื่อนไข

ขั้นตอนการทำ นร./กสศ.01 มีอะไรบ้าง

ทางโรงเรียนสามารถเข้าไปบันทึก นร./กสศ.01 ได้ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1. เข้าสู่ระบบด้วย USER/PASSWORD ครูประจำชั้น (หากเป็นแอดมินโรงเรียนให้เปลี่ยนบทบาทเป็นครูประจำชั้น)
  2. เลือก คัดกรองนักเรียนยากจน
  3. เลือก นร.กลุ่มใหม่
  4. เลือก คัดกรองนักเรียน (นร./กสศ.01)
  5. เลือกชั้น/ห้อง ที่ต้องการคัดกรองนักเรียนยากจน

ดำเนินการอย่างไรให้นักเรียนมีรายชื่อในแบบฟอร์ม นร./กสศ.01
  • สังกัด สพฐ. – ให้เลือกประเภทความด้อยโอกาส ในระบบ DMC เป็น “ยากจน”
  • สังกัด อปท. – สังกัด อปท. นักเรียนจะต้องมีรายชื่อในระบบ LEC แล้วหลังจากนั้นให้เลือกสถานะความยากจนว่า “ต้องการสมัครขอรับทุน” ในระบบ DLA
  • สังกัด บช.ตชด. – สังกัด บช.ตชด. ให้ทำการเพิ่มรายชื่อนักเรียนกลุ่มใหม่ โดยทางโรงเรียนสามารถเพิ่มรายชื่อนักเรียนที่ต้องการ คัดกรองได้ที่เมนูต่อไปนี้
    1. เข้าสู่ระบบด้วย username ครูประจำชั้น (หากเป็นแอดมินโรงเรียนให้เปลี่ยนบทบาทเป็นครู)
    2. เลือก นักเรียนกลุ่มใหม่
    3. เลือก สมัครขอรับเงินอุดหนุน
    4. กดปุ่มเพิ่มนักเรียน (บันทึกข้อมูลตามที่ระบบขึ้นให้แล้วกดบันทึก)
  • สังกัด สช. นักเรียนจะต้องมีรายชื่อในระบบ PSIS แล้วหลังจากนั้นให้เลือกสถานะความยากจนว่า “ต้องการสมัครขอรับทุน” ในระบบ OPEC

ต้องบันทึกข้อมูลผู้ปกครองในแบบฟอร์มนร./กสศ.01 หากนักเรียนไม่ได้อยู่กับผู้ปกครอง

ให้บันทึกข้อมูลผู้ปกครองที่ดูแลนักเรียนในปัจจุบัน

จะบันทึกข้อมูลรายได้ครัวเรือนอย่างไร

ให้บันทึกจำนวนรายได้ของสมาชิกในครัวเรือนตามจริงโดยไม่หักค่าใช้จ่าย แต่หากมีสวัสดิการแห่งรัฐ ให้นำรายได้จากสวัสดิการแห่งรัฐที่ไม่ได้รับเป็นรายเดือน (ทะเบียนคนจน/โครงการคนละครึ่ง/เราชนะ/ม.33 เรารักกัน) ให้นำมาหารเฉลี่ยเป็นรายเดือนก่อน เช่นได้รับสวัสดิการจากรัฐรวม 6,000 บาท หารเฉลี่ย 12 เดือน = 500 บาท/เดือน

ขั้นตอนการดึงพิกัดใน นร./กสศ.01
  1. กรณีที่ไม่มีการเปลี่ยนที่อยู่อาศัยสามารถกดปุ่มดึงพิกัดได้ทันที
  2. กรณีที่มีการเปลี่ยนที่อยู่อาศัย คุณครูสามารถดึงพิกัดใน นร./กสศ.01 ได้โดย “กรอกที่อยู่ของตำบลก่อน” จากนั้นระบบจะขึ้นข้อมูลอำเภอและจังหวัด และให้คุณครูเลือกที่อยู่จากข้อมูลที่แสดงอัตโนมัติโดยไม่ต้องพิมพ์
กรณีที่นักเรียนอาศัยอยู่ที่มูลนิธิ/สถานสงเคราะห์,วัด/ศาสนสถาน,โรงเรียนพักนอน จะต้องบันทึก นร./กสศ.01 อย่างไร

ให้เลือกในแบบฟอร์ม นร./กสศ.01 ว่านักเรียนอาศัยอยู่กับ “ครัวเรือนสถาบัน” กรอกข้อมูล ชื่อครัวเรือนสถาบัน ที่อยู่ และข้อมูลติดต่อ ผู้รับผิดชอบสถาบัน

กรณีนักเรียนไม่ได้อาศัยตามที่อยู่ในทะเบียนบ้านจะต้องบันทึกข้อมูลที่อาศัยในแบบฟอร์มนร./กสศ.01 อย่างไร

ให้บันทึกข้อมูลผู้ปกครองที่ดูแลนักเรียนในปัจจุบัน

เจ้าหน้าที่รัฐที่สามารถรับรองข้อมูล นร./กสศ.01 ได้คือใครบ้าง
  • สังกัด สพฐ.
    เจ้าหน้าที่รัฐที่สามารถรับรองได้ เป็นบุคคลดังต่อไปนี้
    1. ข้าราชการปกครองส่วนท้องถิ่นผู้ดำรงตำแหน่ง ไม่ต่ำกว่าระดับชำนาญงาน หรือชำนาญการ หรือเทียบเท่า
    2. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
    3. ผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมาชิกสภาท้องถิ่น
    4. ข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการ หรือ เจ้าหน้าที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (กรณีสถานศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ) ผู้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับชำนาญการ หรือเทียบเท่า
  • สังกัด อปท.
    เจ้าหน้าที่รัฐที่สามารถรับรองได้ เป็นบุคคลดังต่อไปนี้
    1. ข้าราชการปกครองส่วนท้องถิ่นผู้ดำรงตำแหน่ง ไม่ต่ำกว่าระดับชำนาญงาน หรือชำนาญการ หรือเทียบเท่า
    2. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
    3. ผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมาชิกสภาท้องถิ่น
  • สังกัด บช.ตชด.
    เจ้าหน้าที่รัฐที่สามารถรับรองได้ เป็นบุคคลดังต่อไปนี้
    1. ข้าราชการปกครองส่วนท้องถิ่นผู้ดำรงตำแหน่ง ไม่ต่ำกว่าระดับชำนาญงาน หรือชำนาญการ หรือเทียบเท่า
    2. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
    3. ผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมาชิกสภาท้องถิ่น
    4. ข้าราชการตํารวจ สังกัดกองกํากับการตํารวจตระเวนชายแดน (กรณีโรงเรียนตํารวจตะเวนชายแดน) ผู้ดํารงตําแหน่งชั้นสัญญาบัตรตั้งแต่ ยศร้อยตํารวจเอกขึ้นไป)
  • สังกัด สช.
    เจ้าหน้าที่รัฐที่สามารถรับรองได้ เป็นบุคคลดังต่อไปนี้
    1. ข้าราชการปกครองส่วนท้องถิ่นผู้ดำรงตำแหน่ง ไม่ต่ำกว่าระดับชำนาญงาน หรือชำนาญการ หรือเทียบเท่า
    2. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
    3. ผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมาชิกสภาท้องถิ่น
อัตราการจัดสรรเงินอุดหนุนแบบมีเงื่อนไข

นักเรียนทุนเสมอภาคที่ผ่านเกณฑ์การคัดกรองด้วยวิธีการวัดรายได้ทางอ้อม PMT “ยากจนพิเศษ” จะได้รับจัดสรรในอัตรา 3,000 บาทต่อคนต่อปี

นักเรียนทุนเสมอภาคสามารถเลือกวิธีการรับเงินผ่านช่องทางใดได้บ้าง

สามารถเลือกรับเงินได้ 3 ช่องทาง ดังนี้

  1. รับเงินสดผ่านสถานศึกษา
  2. รับเงินผ่านพร้อมเพย์นักเรียน
  3. รับเงินผ่านพร้อมเพย์ผู้ปกครอง
กรณีนักเรียนที่เลือกรับเงินสดผ่านบัญชีสถานศึกษาจะต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง
  1. ครูประจำชั้น พิมพ์หลักฐานการจ่ายเงินให้ผู้ปกครอง เซ็นรับเงิน เก็บไว้ที่โรงเรียนเป็นรายห้องเรียน จากนั้นบันทึกแบบหลักฐานรายห้องเรียนในระบบ ลงลายเซ็นรับรองการจ่ายเงิน
  2. ครูแอดมิน ตรวจสอบการจ่ายเงินของทั้งโรงเรียน แล้วบันทึกแบบรายงานการจัดสรรเงินของโรงเรียน ในระบบ ลงลายเซ็นครูแอดมินและผอ.
กรณีผู้ปกครองนักเรียนมารับเงินสดที่โรงเรียนไม่ได้จะต้องดำเนินการอย่างไร
  1. กรณีที่ผู้ปกครองตาม นร./กสศ.01 ไม่สามารถมารับเงินได้ ให้มอบอำนาจให้แก่ผู้ปกครองท่านอื่นมารับแทน ตามเอกสารมอบอำนาจใน นร.08
  2. กรณีที่ผู้ปกครองตาม นร./กสศ.01 ไม่อยู่ในสถานะที่มอบอำนาจได้ ให้ใช้เอกสารมอบอำนาจตาม นร.08 ฉบับโรงเรียน โดยให้ผู้อำนวยการโรงเรียนเป็นผู้มอบอำนาจ
การโอนเงินสามารถโอนรูปแบบใดได้บ้าง

สามารถทำได้ 2 รูปแบบ ดังนี้

  1. โอนจากบัญชีที่โรงเรียนเปิดรับเงิน กสศ. ไปยังผู้ปกครองโดยตรง
  2. โอนจากบัญชีโรงเรียนเข้าบัญชีครู ผู้ที่ได้รับมอบหมาย แล้วครูดำเนินดำเนินการโอนเงินไปยัง ผู้ปกครองนักเรียน
หากผู้ปกครองตามนร.08/กสศ.08 ไม่มีบัญชีธนาคารสามารถโอนเข้าบัญชีใครได้บ้าง

สามารถโอนเข้าบัญชีสมาชิกครัวเรือนที่มีรายชื่อตาม นร./กสศ.01 ได้

กรณีนักเรียนที่รับเงินสดผ่านสถานศึกษาแต่ไม่สามารถรับได้ต่อเนื่อง ย้าย/ลาออก เสียชีวิต ไม่มีตัวตน จะต้องดำเนินการอย่างไร

กรณีนักเรียนที่รับเงินสดผ่านสถานศึกษาแต่ไม่สามารถมารับได้เนื่องจาก ย้าย/ลาออก เสียชีวิต ไม่มีตัวตน จะต้องทำการคืนเงินให้กับทาง กสศ.

สอบถามแนวทางการจ่ายเงินภายใต้สถานการณ์ COVID-19

เพื่อการดำเนินงานที่ปลอดภัยภายใต้สถานการณ์ COVID-19 คุณครูสามารถเลือกช่องทาง การจัดสรรเงินตามความเหมาะสมได้ดังนี้

  1. ผู้ปกครอง/นักเรียนทุนเสมอภาค รับเงินสดที่โรงเรียน โดยรักษามาตราการ เว้นระยะห่าง
  2. โอนเข้าบัญชีธนาคารผู้ปกครองนักเรียน
  3. เลือกสองทาง ทั้งมารับเงินสดที่โรงเรียนและโอนเงิน
เงื่อนไขการเปิดบัญชีพร้อมเพย์ของนักเรียนมีอะไรบ้าง
  1. เปิดบัญชีพร้อมเพย์ได้ 3 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน และ ธกส.
  2. การเปิดบัญชีธนาคารต้องผูกบัญชีพร้อมเพย์ ด้วยเลขประจำตัวประชาชนของเด็กนักเรียน ทุนเสมอภาคเท่านั้น
  3. ต้องเป็นนักเรียนสัญชาติไทยที่มีอายุมากกว่า 7 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และทำบัตรประจำตัวประชาชนแล้ว
สอบถามขั้นตอนการบันทึกการเปิดบัญชีพร้อมเพย์ของนักเรียน

ทางโรงเรียนสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์ม “ขอเปิดบัญชีพร้อมเพย์” ให้นักเรียนในระบบได้ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1. เข้าสู่ระบบด้วย username ครูประจำชั้น (แอดมินโรงเรียนจะต้องเปลี่ยนบทบาท เป็นครูประจำชั้น)
  2. เลือกเมนู นร.กลุ่มเก่า/กลุ่มใหม่
  3. เลือกเมนู ขอเปิดบัญชีพร้อมเพย์
  4. ดำเนินการเลือกชั้น/ห้อง ของนักเรียนที่ต้องการเปิดบัญชี
  5. เลือกบันทึกข้อมูลธนาคารและสาขา สำหรับนักเรียนที่ต้องการรับเงินผ่านพร้อมเพย์ และพิมพ์แบบขอเปิดบัญชี
หากเลือกวิธีการรับเงินผ่านบัญชีพร้อมเพย์ผู้ปกครองจะต้องพิมพ์แบบขอเปิดบัญชีหรือไม่

กรณีที่รับเงินผ่านบัญชีพร้อมเพย์ของผู้ปกครอง ไม่ต้องพิมพ์ใบขอเปิดบัญชีสามารถไปเปิดบัญชี ที่ธนาคารและผูกพร้อมเพย์กับเลขบัตรประจำตัว ประชาชนได้เลย

**หากมีบัญชีอยู่แล้วให้ตรวจสอบว่า ได้ผูกพร้อมเพย์ไว้กับเลขบัตรหรือไม่ และผูกพร้อมเพย์ไว้กับบัญชีใด จากนั้นเลือกวิธีการรับเงินในระบบ

กรณีที่สถานะการโอนเงินแจ้งว่ารับเงินผ่านพร้อมเพย์ผู้ปกครอง/นักเรียน แต่นำสมุดไปปรับที่ธนาคารแล้วไม่เจอยอดเงินต้องดำเนินการอย่างไร

กรณีที่สถานะการโอนเงินแจ้งว่ารับเงินผ่านพร้อมเพย์ ผู้ปกครอง/นักเรียน แต่มีการแจ้งว่าเงินไม่เข้าบัญชี ให้ตรวจสอบข้อมูล ดังต่อไปนี้

  1. ให้คุณครูตรวจสอบชื่อผู้ปกครอง/นักเรียน ในระบบกับชื่อบัญชีที่นำไปปรับว่าตรงกันหรือไม่
  2. ให้คุณครูแจ้งผู้ปกครอง/นักเรียน ตรวจสอบข้อมูลว่าเลขบัตรประชาชนผูกพร้อมเพย์ ไว้กับธนาคารใด แล้วให้นำไปปรับที่ธนาคาร (นำสมุดบัญชีไปปรับกับเจ้าหน้าที่ธนาคารเท่านั้น)
  3. ถ้าหากว่านำบัญชีไปปรับกับเจ้าหน้าที่ธนาคาร แล้วเงินไม่เข้า ให้เจ้าหน้าที่ธนาคารตรวจสอบให้ ว่าเลขบัตรประชาชนของผู้ปกครอง/นักเรียน ผูกพร้อมเพย์ไว้กับบัญชีของธนาคารใด
ดอกเบี้ยธนาคารต้องโอนเงินคืนหรือไม่

ดอกเบี้ยในบัญชีธนาคารและผลกำไรที่เกิดจากกิจกรรมพัฒนานักเรียนทุนเสมอภาคไม่ต้องนำส่งคืน กสศ. ให้สถานศึกษานำไปสมทบจัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อนักเรียนทุนเสมอภาคได้

รูปแบบการโอนเงินคืน กสศ.

สถานศึกษาดำเนินการโอนเงินคืน ผ่านระบบ Bill Payment โดยเข้าบันทึกข้อมูลการคืนเงิน ในระบบปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจน สามารถดำเนินการได้ 2 รูปแบบ ดังนี้

รูปแบบที่ 1 ชำระเงินผ่านบัญชีธนาคาร Mobile application ของทุกธนาคาร สามารถดำเนินการสแกน QR Code หรือ Barcode จากระบบปัจจัยพื้นฐาน นักเรียนยากจน (ไม่มีค่าธรรมเนียมธนาคาร)

รูปแบบที่ 2 ชำระเงินที่เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขาเท่านั้น สามารถดำเนินการได้โดยการพิมพ์ ใบชำระเงินที่ QR Code หรือ Barcode จากระบบปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจน (มีค่าธรรมเนียมการคืนเงิน 10 บาท/ครั้ง โดยค่าธรรมเนียมดังกล่าวไม่สามารถเบิกจ่าย จาก กสศ. ได้)

ขั้นตอนการเปลี่ยนบทบาทจากแอดมินโรงเรียนเป็นครูประจำชั้นจะต้องดำเนินการอย่างไร

กดเปลี่ยนบทบาท สามารถดำเนินการได้ ดังนี้

  1. กดไอคอนรูปคนสีฟ้า มุมบนขวามือ
  2. กดบรรทัดที่ 3 เปลี่ยนบทบาท
  3. กดเลือก ครู
  4. กดตกลง
สอบถามขั้นตอนการเพิ่มผู้ใช้งานประจำชั้น

สามารถเพิ่มผู้ใช้งานครูประจำชั้นได้ตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้

  1. เข้าระบบด้วย username ครูแอดมิน
  2. เลือกเมนู จัดการข้อมูล
  3. เลือก ข้อมูลผู้ใช้
  4. เลือก เพิ่มผู้ใช้
  5. จากนั้นให้บันทึกข้อมูลของครูประจำชั้น ที่ต้องการเพิ่มผู้ใช้งาน
  6. กดตกลง
กรณีแอดมินโรงเรียนลืมรหัสผ่านเพื่อเข้าระบบจะต้องดำเนินการอย่างไร

กรณีที่แอดมินโรงเรียนลืมรหัสผ่านให้ติดต่อแอดมิน เขตพื้นที่เพื่อทำการ reset รหัสผ่าน

**จากนั้นรหัสผ่านใหม่จะถูกส่งไปยัง e-mail ที่คุณครูได้เเจ้งไว้ในระบบ

สอบถามขั้นตอนการแก้ไขข้อมูลผู้อำนวยการโรงเรียนในระบบ CCT

สามารถดำเนินการแก้ไขข้อมูลในระบบได้ โดยมีขั้นตอนดังนี้

  1. เข้าระบบด้วย username ครูแอดมิน
  2. เลือกเมนู จัดการข้อมูล
  3. เลือก ข้อมูลโรงเรียน
  4. เลือก แก้ไข
  5. แก้ไขข้อมูลผู้อำนวยการให้เป็นปัจจุบัน **กรณีมีรักษาราชการแทนให้ใส่วงเล็บ หลังชื่อ-นามสกุล (รักษาการแทน)
  6. กดบันทึก
สอบถามขั้นตอนการบันทึกแบบรายงานการจัดสรรเงินอุดหนุนแบบมีเงื่อนไขกลุ่มต่อเนื่อง (หน้าระบบครูประจำชั้น)

ครูประจำชั้น

  • กรณีรับเงินสดที่โรงเรียน พิมพ์แบบหลักฐานการจ่ายเงิน “รายห้องเรียน” ผู้ปกครองเซ็นรับเงิน ครูผู้จ่ายเงินและเจ้าหน้าที่ การเงินเซ็นยืนยัน เก็บหลักฐานไว้ที่โรงเรียน ไม่ต้องนำส่งคืน กสศ. จากนั้นให้บันทึก แบบรายงานการจ่ายเงิน ส่วนของครูประจำชั้น เลือกรายชื่อนักเรียนที่จ่ายเงินสำเร็จแล้ว อัปโหลดรูปลายเซ็นครูประจำชั้น พร้อมลายเซ็นของผู้อำนวยการสถานศึกษา
  • กรณีที่โอนเงินให้กับผู้ปกครอง ให้บันทึกรายงานการจ่ายเงินในระบบเท่านั้น ไม่ต้องเซ็นชื่อรับเงิน และให้เก็บหลักฐานการจ่ายเงิน ไว้ที่โรงเรียน

สอบถามขั้นตอนการบันทึกแบบรายงานการจัดสรรเงินอุดหนุนแบบมีเงื่อนไขกลุ่มต่อเนื่อง (หน้าระบบแอดมินโรงเรียน)

ครูแอดมิน

  • ให้ติดตาม ตรวจสอบความก้าวหน้าการจ่ายเงิน ของครูประจำชั้นผ่านระบบ (ตรวจสอบได้ที่หน้าระบบของครูประจำชั้น)
  • จากนั้นบันทึกแบบรายงานการจัดสรรเงินอุดหนุนฯ ในหน้าระบบครูแอดมิน โดยบันทึกลายเซ็น แอดมินโรงเรียนและลายเซ็นผู้อำนวยการโรงเรียน

**ครูประจำชั้นต้องดำเนินการจ่ายเงินและ บันทึกรายงานการจ่ายเงินรายห้องในระบบ ให้เสร็จเรียบร้อยก่อน ครูแอดมินจึงจะสามารถ บันทึกรายการภาพรวมของโรงเรียนได้

สอบถามขั้นตอนบันทึกน้ำหนัก-ส่วนสูง

ทางโรงเรียนสามารถบันทึกการเข้าเรียนได้ 2 รูปแบบ คือแบบรายวัน และแบบรายเดือน ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้

1. การบันทึกการเข้าเรียนแบบรายวัน

  • บทบาทแอดมินโรงเรียน
    1. เลือกเมนู จัดการข้อมูล
    2. เลือก กำหนดวันเปิด-ปิด ภาคเรียน (ให้กำหนดเป็นเทอมต่อเทอม)
    3. จากนั้นเลือกวันเปิด-ปิดภาคเรียน เลือกประเภทการเช็กชื่อเป็นรายวัน
  • บทบาทครูประจำชั้น
    1. เลือกบันทึกการเข้าเรียนและน้ำหนักส่วนสูง
    2. เลือกการเข้าเรียนรายวัน
    3. เลือกชั้น/ห้อง ที่ต้องการบันทึกข้อมูล แล้วจึงบันทึกข้อมูลการเข้าเรียน

2. การบันทึกการเข้าเรียนแบบรายเดือน

  • บทบาทแอดมินโรงเรียน
    1. ล็อกอินด้วย username ครูแอดมิน
    2. เลือกเมนูจัดการข้อมูล แล้วเลือกกำหนดวันเปิด-ปิดภาคเรียน (ให้กำหนดเป็นเทอมต่อเทอม)
    3. จากนั้นเลือกวันเปิด-ปิดภาคเรียน เลือกประเภทการเช็กชื่อเป็นรายเดือน
  • บทบาทครูประจำชั้น
    1. เลือกบันทึกการเข้าเรียนและน้ำหนักส่วนสูง
    2. เลือกการเข้าเรียนรายเดือน
    3. เลือกชั้น/ห้อง ที่ต้องการบันทึกข้อมูล แล้วจึงบันทึกข้อมูลการเข้าเรียน
สอบถามขั้นตอนบันทึกเข้าเรียน

ทางโรงเรียนสามารถบันทึกน้ำหนักส่วนสูง ได้ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ บทบาทครูประจำชั้น

  1. เลือกบันทึกน้ำหนักส่วนสูง
  2. เลือกชั้น/ห้อง ที่ต้องการบันทึกข้อมูล
สอบถามขั้นตอนบันทึกการโอนเงินคืนในระบบ CCT

ทางโรงเรียนสามารถเข้าไปบันทึกการโอนเงินคืน กสศ. ได้ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1. เข้าสู่ระบบด้วย username ครูแอดมิน
  2. เมนูแบบฟอร์ม เลือก “การโอนเงินคืน กสศ.” จากนั้นเลือกการโอนเงินคืน กสศ. (นักเรียนยากจนพิเศษ)
  3. เลือกปีการศึกษาและภาคเรียน
  4. หากโอนเงินคืนส่วนของโรงเรียนให้เลือก รายชื่อนักเรียนที่ต้องการคืนเงิน หากโอนเงินคืนส่วนของโรงเรียน ให้กรอกจำนวนเงินที่ต้องการโอนคืน
  5. สร้าง Barcode และ QR code
กรณีที่ทางโรงเรียนโอนเงินคืน กสศ. ผ่าน BillPayment เรียบร้อยแล้วจะต้องนำสลิปการโอนเงินมาบันทึกในระบบหรือไม่

สำหรับโรงเรียนที่โอนเงินคืนมาที่ กสศ. แล้ว ไม่ต้องนำสลิปมาบันทึกในระบบให้เก็บไว้ เป็นหลักฐานที่โรงเรียน และสามาถพิมพ์ ใบเสร็จอิเล็กทรอนิกส์ได้ที่เมนู

*”การโอนเงินคืน กสศ. >> รายการใบเสร็จรับเงิน อิเล็กทรอนิกส์ BillPayment”

**โดยจะสามารถพิมพ์เอกสารใบเสร็จรับเงิน อิเล็กทรอนิกส์ได้ทุกวันที่ 15 และ วันสิ้นเดือน ของทุกเดือน

โครงการทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง

ทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง หมายความว่าอย่างไร

ทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง คือ ทุนที่เปิดโอกาสให้สถานศึกษาสายอาชีพ ทั้งภาครัฐและเอกชน ได้แก่ วิทยาลัยอาชีวศึกษา วิทยาลัยชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล และสถานศึกษาอื่น ๆ ที่จัดการเรียนการสอนสาขาวิชาชีพ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ต่อเนื่องระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือระดับอนุปริญญา หรือหลักสูตรประกาศนียบัตร (1 ปี) ที่ได้รับรองจากหน่วยงานต้นสังกัด ได้แก่ หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล และหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยทันตแพทย์ เสนอโครงการเพื่อยกระดับการทำงาน และส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาให้เด็ก เยาวชนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ หรือด้อยโอกาส โดยปลายทางสถานศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกจะยกระดับสู่สถาบันนวัตกรรมชั้นสูง

ทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูงมีทุนกี่ประเภท

ทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง มี 3 ประเภท ได้แก่ 1) ทุน 5 ปี (ปวช. ต่อเนื่อง ปวส.) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หรือเทียบเท่า 2) ทุน 2 ปี (ปวส./อนุปริญญา) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ 3 หรือเทียบเท่า และ 3) ทุน 1 ปี (หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล/ผู้ช่วยทันตแพทย์) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ 3 หรือเทียบเท่า

สาขาที่สถานศึกษาเสนอได้คือสาขาใด
  1. สาขาที่เป็นเป้าหมายหลักในการพัฒนาประเทศ ได้แก่ อุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ (First S Curve) และ อุตสาหกรรมอนาคต (New S-curve)
  2. สาขาที่ขาดแคลนด้านสายอาชีพ
    2.1 สาขาหรือหลักสูตรประกาศนียบัตร (1 ปี) ที่สภาวิชาชีพรับรองหลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาลที่ได้รับการรับรองจากสภาการพยาบาล และหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยทันตแพทย์ที่ได้รับการรับรองจากทันตแพทยสภา
    2.2 สาขาหรือหลักสูตรที่ขาดแคลนในท้องถิ่นหรือจังหวัดที่สถานศึกษาตั้งอยู่
  3. สาขาด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี (STEM) และ เทคโนโลยีดิจิทัล

ผู้ขอรับทุนต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
  1. ทุน 5 ปี (ปวช. ต่อเนื่อง ปวส.) สำหรับนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ชั้น ม.3 หรือเทียบเท่า
  2. ทุน 2 ปี (ปวส./อนุปริญญา) สำหรับนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ชั้น ม.6 หรือ ปวช.3 หรือเทียบเท่า
  3. ทุน 1 ปี (หลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล/ผู้ช่วยทันตแพทย์) สำหรับนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ชั้น ม.6 หรือ ปวช.3 หรือเทียบเท่า

ผู้ขอรับทุนทั้ง 3 ประเภท จะต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้

  • เป็นผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ที่มีรายได้เฉลี่ยของครัวเรือนไม่เกิน 3,000 บาทต่อคนต่อเดือน หรือด้อยโอกาส
  • มีศักยภาพในการศึกษาต่อ หรือความสามารถพิเศษโดดเด่นที่เกี่ยวข้องกับสาขาที่สถานศึกษาเปิดรับ
มีเงื่อนไขในการรับทุนการศึกษาอย่างไร

ทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูงเป็นทุนให้เปล่า หากผู้รับทุนเรียนจนจบการศึกษาตามระยะเวลาที่กำหนดของประเภททุนไม่ต้องชดใช้ทุน แต่ในกรณีที่ผู้รับทุนรายใดไม่สามารถเรียนจนจบการศึกษา ผู้รับทุนรายนั้นจะต้องเข้าสู่กระบวนการพิจารณาชดใช้ทุน โดยจะได้รับการยกเว้นการชดใช้ทุน หากเป็นเหตุสุดวิสัย

เมื่อรับทุนจากโครงการนี้ ผู้รับทุนต้องยุติการรับทุนอื่นจากภาครัฐที่มีลักษณะซ้ำซ้อนกัน รวมถึงยุติการกู้ยืมเงินจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการรับทุนพระราชทานและความช่วยเหลือจากภาคเอกชนที่ได้รับความเห็นชอบจากผู้ให้ทุนแล้ว

โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น (โครงการสร้างโอกาสทางการศึกษาสำหรับนักเรียนในพื้นที่ห่างไกลเป็นครูรุ่นใหม่เพื่อพัฒนาคุณภาพ โรงเรียนของชุมชน)

เพราะเหตุใดมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนสาขาปฐมวัยและประถมศึกษาบางแห่ง ไม่มีสิทธิ์เข้าร่วมเป็นสถาบันผลิตและพัฒนาครูของโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น รุ่นที่ 1

โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น มีเป้าประสงค์หลักคือ การแก้ปัญหาครูไม่ครบชั้นและโยกย้ายบ่อยของโรงเรียนขนาดเล็กในพื้นที่ห่างไกล ผลิตครูพัฒนาท้องถิ่น สู่การลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา จึงมีวัตถุประสงค์ในการผลิตและพัฒนาครูรุ่นใหม่ให้สอดคล้องกับความต้องการของโรงเรียนขนาดเล็กในชุมชนพื้นที่ห่างไกล ซึ่งได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานหลักในการผลิตและพัฒนาครู อาทิสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำหรับการจัดสรรอัตราข้าราชการครูเกษียณในปี 2567 ให้กับโครงการเพื่อรองรับการบรรจุบัณฑิตครูที่สำเร็จการศึกษาอย่างมีคุณภาพ มีจิตวิญญาณความเป็นครู มีสรรถนะพื้นฐานของวิชาชีพครู มีสรรถนะการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 รวมถึงมีสมรรถนะของนักพัฒนาชุมชน กลับไปเป็นครูในโรงเรียนพื้นที่ห่างไกลเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น

ด้วยหลักการสำคัญของโครงการข้างต้น โครงการจึงใช้ตำบลที่เป็นที่ตั้งของโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลที่มีอัตราบรรจุข้าราชการครูในปี 2567 เป็นฐานในการค้นหา คัดกรอง และคัดเลือกนักเรียนผู้รับทุน และสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนสาขาปฐมวัยและประถมศึกษาเป็นสถาบันผลิตและพัฒนาครูในโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น โดยมุ่งหวังที่จะให้นักศึกษาผู้รับทุนได้เข้ารับการศึกษาในสถาบันผลิตและพัฒนาครูที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคของภูมิลำเนาท้องถิ่นของตน เพื่อให้นักศึกษาผู้รับทุนได้เรียนในระบบการหล่อหลอมที่เข้าใจ และสอดคล้องกับบริบทชุมชนมากที่สุด

โครงการทุนพระกนิษฐาสัมมาชีพ (ทุนพัฒนาเต็มศักยภาพสายอาชีพ)

“ทุนพระกนิษฐาสัมมาชีพ” คือทุนอะไร

“ทุนพระกนิษฐาสัมมาชีพ” คือ ทุนที่ส่งเสริมส่โอกาสทางศึกษาต่อเต็มศักยภาพให้กับกลุ่มเป้าหมายผู้ใกล้จบปวช. /ปวส. หรืออนุปริญญาสายอาชีพให้ได้รับโอกาสทางศึกษาและการพัฒนาต่อเต็มศักยภาพอย่างต่อเนื่องระดับปริญญาตรีถึงปริญญาเอก

“ทุนพระกนิษฐาสัมมาชีพ” หมายถึงอะไร

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานชื่อทุนเพื่อเป็นสิริมงคลแก่นักศึกษาทุน โดยพระองค์ท่านทรงให้ความสำคัญกับการสร้างโอกาสทางการศึกษาสายอาชีพ

ทุนนี้มีการชดใช้ทุนหรือไม่

ทุนพระกนิษฐาสัมมาชีพ เป็นทุนให้เปล่า ไม่ต้องชดใช้ทุนหากเรียนจนสำเร็จการศึกษาที่กำหนด กรณีที่ผู้รับไม่สามารถเรียนจนจบการศึกษา ผู้รับทุน รายนั้นจะต้องเข้าสู่กระบวนการพิจารณาชดใช้ทุน

ผู้รับทุนสามารถรับทุนอื่นนอกจาก “ทุนพระกนิษฐาสัมมาชีพ” หรือไม่

ผู้รับทุนไม่สามารถรับทุนการศึกษาอื่นของหน่วยงานภาครัฐที่มีลักษณะซ้ำซ้อนกับ กสศ. ได้ รวมถึง กยศ.ด้วย

ผู้รับทุนต้องเรียนจนถึงระดับปริญญาเอกหรือไม่

กสศ. ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้รับทุนศึกษาต่ออย่างเต็มศักยภาพจนถึงระดับปริญญาเอกการศึกษาต่อในแต่ละระดับจะมีการพิจารณาความเหมาะสม เป็นระดับขั้นไปด้วย

เมื่อรับทุนต้องเรียนจนถึงระดับปริญญาเอกหรือไม่

ใช่ โดย กสศ. กำหนดให้ผู้รับทุนต้องรักษาผลการเรียนเฉลี่ยห้ามต่ำกว่า 2.75 ในสองภาคการศึกษาติดต่อกัน ซึ่งหากมีผลการเรียนต่ำกว่า 2.75

เมื่อรับทุนต้องเรียนจนถึงระดับปริญญาเอกหรือไม่

ใช่ โดย กสศ. กำหนดให้ผู้รับทุนต้องรักษาผลการเรียนเฉลี่ยห้ามต่ำกว่า 2.75 ในสองภาคการศึกษาติดต่อกัน ซึ่งหากมีผลการเรียนต่ำกว่า 2.75 สองภาคการศึกษาติดต่อกัน กสศ. มีสิทธิ์ระงับการให้ทุนชั่วคราว หรือยุติการให้ทุน

หากต้องการศึกษาต่อในระดับปริญญาโท นักศึกษาทุนต้องมีผลการเรียนอย่างไร

หากนักศึกษาทุนต้องการศึกษาต่อในระดับปริญญาโท นักศึกษาทุนจะต้องมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมอย่างต่ำ 3.00

ทุนพระกนิษฐาสัมมาชีพ สนับสนุนค่าใช้จ่ายใดบ้าง

ค่าใช้จ่ายรายเดือน 10,000 บาทต่อเดือน ค่าธรรมเนียมการศึกษาไม่เกิน 40,000 บาทต่อปี (เบิกจ่ายตามจริง) ค่าอุปกรณ์การเรียน 10,000 บาทต่อ เดือน (เบิกจ่ายตามจริง) ค่าสนับสนุนโครงงานวิจัย 30,000 บาทต่อปี (เบิกจ่ายตามจริง)

โครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง

การพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ (Whole School Approach) คืออะไร

การพัฒนาโรงเรียนให้สามารถบริหารจัดการตนเองได้ทั้งระบบ ทั้งด้านการบริหารจัดการ ซึ่งประกอบด้วย

  1. โรงเรียนกำหนดการเป้าหมาย (Goal) ที่ชัดเจนเพื่อยกระดับการเรียนรู้ของนักเรียนในโรงเรียน
  2. เกิดการใช้ระบบสารสนเทศ (Info) สำหรับผู้บริหารและครูเพื่อใช้ในการบริหาร โดยเฉพาะการดูแลติดตามนักเรียนเป็นรายบุคคล
  3. เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (PLC) เป็นชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของครูมืออาชีพเพื่อการพัฒนาผู้เรียนโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษาและเครือข่ายต่างๆ (Network) และด้านการจัดการเรียนการสอน
  4. โรงเรียนมีกระบวนการพัฒนาการเรียนการสอนของครูในระดับชั้นเรียน (Classroom) ที่เป็น Active Learning รูปแบบต่างๆ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาผู้เรียนตามที่กำหนด เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะการเรียนรู้สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 และมีแนวโน้มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามที่กำหนดเพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะการเรียนรู้สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21และมีแนวโน้มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ทั้งนี้การพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบต้องดำเนินงานร่วมกับทีมพี่เลี้ยงภายนอกโรงเรียน (Coach) เพื่อทำหน้าที่สนับสนุน ส่งเสริม จัดกระบวนการให้คำปรึกษาแนะนำเทคนิคกระบวนการพัฒนาระบบบริหารจัดการ และกระบวนการเรียนการสอนให้ผู้บริหารโรงเรียน ครูในโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงให้เกิดการพัฒนาด้านการศึกษาตามบริบทของพื้นที่

โครงการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา

เหตุใดกลุ่มเป้าหมายที่เริ่มดำเนินงานให้ความช่วยเหลือ จึงเป็นกลุ่มเด็กและเยาวชนนอกระบบและกลุ่มเด็กปฐมวัย ก่อนกลุ่มเป้าหมายอื่น

เด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาและเด็กปฐมวัยเป็น 2 ใน 7 ของกลุ่มเป้าหมายหลักที่ระบุไว้ในวัตถุประสงค์ของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาในการช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาสทางการศึกษา โดยทั้งสองกลุ่มมีความสำคัญ ดังนี้

  1. เด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา เป็นกลุ่มที่ขาดเจ้าภาพหลักในการดูแลช่วยเหลือ รวมถึงขาดการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานเพื่อใช้เป็นเครื่องมือช่วยเหลืออย่างทันการณ์และสามารถติดตามดูแลได้อย่างต่อเนื่อง
  2. เด็กปฐมวัย เป็นช่วงอายุที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาสมอง การลงทุนในการศึกษากับเด็กวัยนี้จะให้ผลตอบแทนทางสังคมที่สูงมากถึงร้อยละ 13.7 ต่อปี ดังนั้นการสนับสนุนให้เด็กปฐมวัยได้รับการดูแลเพื่อให้มีพัฒนาการที่สมวัย จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพของประเทศ

โครงการพัฒนาระบบทดลองการพัฒนาทักษะแรงงานที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาส

หน่วยพัฒนาอาชีพคืออะไร

คือหน่วยงาน สถาบันการศึกษา ทั้งรัฐ เอกชน และภาคประชาสังคมที่มีแนวคิดการพัฒนาอาชีพที่ใช้ชุมชนเป็นฐานและมีบทบาทในการพัฒนากลุ่มประชากรวัยแรงงาน อาทิ หน่วยงานหรือสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนพัฒนาอาชีพ องค์กรสาธารณประโยชน์ที่ทำงานกับกลุ่มเป้าหมาย

หน่วยพัฒนาอาชีพที่มีสิทธิสมัครเข้าร่วมโครงการได้ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
  • สถานภาพ เป็นหน่วยงาน สถาบันการศึกษา ทั้งรัฐเอกชนและภาคประชาสังคมที่มีรูปแบบการพัฒนาอาชีพที่ใช้ชุมชนเป็นฐานและมีบทบาทในการพัฒนากลุ่มประชากรวัยแรงงาน
  • การส่งเสริมอาชีพ เป็นหน่วยพัฒนาอาชีพซึ่งมีประวัติที่แสดงถึงศักยภาพในการพัฒนาทักษะอาชีพ การฝึกอบรม หรือการพัฒนาหลักสูตรที่เน้นการปฏิบัติจริง ไม่น้อยกว่า 3 ปี
  • ประสบการณ์การทำงานเชิงพื้นที่ เป็นหน่วยงานที่มีประสบการณ์การทำงานชุมชนหรือพื้นที่ ไม่น้อยกว่า 3 ปี
  • ความพร้อม เป็นหน่วยงานที่มีศักยภาพ ความพร้อมด้านเครื่องมือ อุปกรณ์และความเชี่ยวชาญ
กลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับโอกาสคือใคร

ประชากรวัยแรงงานที่ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือความด้อยโอกาสตามเกณฑ์ที่กำหนด

แรงงานที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาส หมายความว่าอย่างไร

กลุ่มประชากรวัยแรงงานนอกระบบที่มีการศึกษาต่ำกว่าระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและมีรายได้ต่ำกว่า 6,500 บาท ทำงานอยู่ในภาคเกษตรกรรม และหัตถกรรม รวมถึงในอุตสาหกรรมเบา เน้นการใช้แรงงานหนักและราคาถูก รวมถึงต้องมีการยกระดับสินค้าที่ผลิตทั้งในเชิงคุณภาพและมาตรฐาน โดยการใช้เทคโนโลยีนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ และการบริหารจัดการที่ดี


หากท่านยังมีข้อสงสัยหรืออยากรู้คำตอบเพิ่มเติม ท่านสามารถสอบถามได้โดยตรง โดยคลิก “แชทกับ กสศ. กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา” (Messenger App) บริเวณด้านล่างของหน้าเว็บไซต์ หรือคลิกที่นี่