สถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (วสศ.)
Equitable Education Research Institute (EEFI)
เพราะการจัดตั้งกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษานี้มีความมุ่งหวังจะพัฒนาและลดความเหลื่อมล้ำของการศึกษาไทยอย่างรอบด้าน กสศ. จึงจัดตั้ง สถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (วสศ.) โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อสนับสนุนภารกิจด้านการศึกษา รวมถึงวิจัยองค์ความรู้และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อประโยชน์ในการช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ เสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพของครู พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตลอดจนการยกระดับความสามารถของคนไทย
https://research.eef.or.th/
5 คุณค่าหลักของการดำเนินงาน
Quality and Professionalism
การทำงานด้วยมาตรฐานและคุณภาพทางวิชาการ รวมถึงการทำงานด้วยความเป็นมืออาชีพในระดับสูงสุด เพื่อให้ผลงานเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติอย่างต่อเนื่อง
Integrity and Responsibility
การทำงานด้วยความมีจริยธรรม ความซื่อสัตย์ และรับผิดชอบต่องบประมาณแผ่นดินจากภาษีประชาชน ตลอดจนเงินบริจาคจากผู้สนับสนุนกองทุนฯ รวมทั้งการทำงานกับข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มเป้าหมายตามภารกิจของ กสศ.
Impact and Independence
การทำงานด้วยทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงตามภารกิจของ กสศ. ให้ได้มากที่สุด ผ่านการพัฒนาองค์ความรู้เชิงระบบเพื่อศึกษาโอกาสในการแก้ปัญหา และใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจต่างๆ อย่างถูกต้องแม่นยำ ผ่านการบริหารจัดการที่เป็นอิสระตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
Human-centered 0rganization
เป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญสูงสุดในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในทุกมิติ เพื่อดึงเอาศักยภาพทั้งด้านวิชาการและจิตใจของบุคลากร มาสนับสนุนการทำงานสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการศึกษา รวมถึงบรรยากาศการทำงานที่เป็นมิตรในองค์กร
Engage and Inclusive
การทำงานพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่ใกล้ชิดกับพื้นที่และกลุ่มเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง ทั้งในแง่ของข้อมูล การรับฟังความคิดเห็น และประสบการณ์ต่างๆ จากพื้นที่อย่างเป็นระบบ เพื่อให้ผลงานออกมาเป็นที่เชื่อมั่น และไว้วางใจจากผู้ใช้งาน รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเต็มที่
วสศ. กำลังทำอะไรอยู่บ้าง
- นวัตกรรมการเงินเพื่อการศึกษา
(Innovative Education Financing Program) - การพัฒนาเด็กปฐมวัย
(Early Childhood Development Program) - เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาและระบบสารสนเทศ
(EdTech and IS Program) - วิจัยระบบการศึกษา
(Education System Research Program) - นวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
(Learning Innovation Program) - นวัตกรรมการจัดการพื้นที่
(Area-based Innovation Management Program) - นวัตกรรมการประเมินผลโครงการ
(Innovative Program Evaluation)
ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับวสศ.
เข้าสู่ฐานข้อมูลสำคัญ