สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ พระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้
ามหาจักรี ปี 2562 แก่สุดยอดครูผู้สร้างการเปลี่ ยนแปลงแก่ชีวิตศิษย์และมีคุณู ปการต่อวงการศึกษา 11 ประเทศในอาเซียนและติมอร์- เลสเต
เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2562 ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นประธานพิธีมอบรางวั ลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ปี 2562 รางวัลพระราชทานระดับนานาชาติ เพื่อเชิดชูเกียรติครูดีเด่ นในอาเซียนและติมอร์-เลสเต 11 ประเทศ และเพื่อเทิดพระเกียรติเจ้าฟ้ านักการศึกษา ผู้ทรงพระปรีชาและทรงมีคุณู ปการต่อการศึกษาทั้ งภายในประเทศและต่างประเทศ ดำเนินการโดยมูลนิธิรางวัลสมเด็ จเจ้าฟ้ามหาจักรี ร่วมกับสำนักงานเลขาธิการคุรุ สภา กระทรวงศึกษาธิการ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึ กษา (กสศ.) และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำรัส ความตอนหนึ่ง ว่า ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นเกียรติและยิ นดีอย่างยิ่งที่ได้มาร่วมพิธี พระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ ามหาจักรี ครั้งที่ 3 ปี 2562 และการประชุมวิชาการนานาชาติ ของรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 2 ขอแสดงความยินดีกับครูผู้ได้รั บรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีปี 2562 จาก 11 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวั นออกเฉียงใต้ และขอต้อนรับครูผู้ได้รับรางวั ลเมื่อปี 2560 ที่มาเข้าร่วมประชุมวิ ชาการนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้ าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 2
ข้าพเจ้าได้รับทราบด้วยความชื่ นชมยินดีที่ครูทั้ง 11 คน ได้ผ่านการคัดเลือกอย่ างรอบคอบจากคณะกรรมการระดับชาติ ของแต่ละประเทศ นับเป็นครูรุ่นที่ 3 ที่มีความโดดเด่นและได้อุทิ ศตนอย่างไม่ย่อท้อในวิชาชี พการสอนด้วยความรู้ ความสามารถอย่างเต็มที่ ครูทุกคนที่สมควรกับรางวัลนี้ ได้รับการยกย่องไม่เฉพาะในระดั บชาติ แต่รวมถึงการยอมรับในระดั บนานาชาติเนื่องจากเป็นผู้สร้ างผลกระทบให้เกิดขึ้นต่อชีวิ ตของลูกศิษย์และมีบทบาทอย่างยิ่ งในการพัฒนาการศึกษา
ปี 2562 นี้เป็นปีที่ประเทศไทยได้เป็ นประธานอาเซียน ข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่าความเป็นหุ้ นส่วนที่ก้าวหน้าเพื่อความยั่ งยืนในประเทศสมาชิกอาเซียน รวมทั้งประเทศติมอร์-เลสเต จะเป็นแรงขับเคลื่อนให้ทุ กประเทศก้าวไปข้างหน้าเพื่ อการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนด้ วยกัน ขอให้พวกเราทำงานไปด้วยกันเพื่ อส่งเสริมครูให้เป็นแรงกระตุ้ นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ครูคือปัจจัยสำคัญในการยกระดั บคุณภาพชีวิตของประชาชน ครูคือมนุษย์ที่สามารถสร้ างแรงบันดาลใจให้เด็กนักเรียนที่ จะพัฒนาคุณลักษณะของตนเองและสร้ างค่านิยมต่างๆ ให้เกิดขึ้น ไม่มีเทคโนโลยีใด ๆ สามารถมาแทนที่ครูได้ด้วยเหตุ ผลดังกล่าว นั่นคือว่าทำไมครูที่ดีจึ งสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตลูกศิ ษย์ได้ ด้วยการพัฒนาพวกเขาให้เป็นพลเมื องที่ดีและมีความสามารถทั้ งในระดับชาติและระดับเป็นพลเมื องของโลกด้วย
การจัดประชุมวิชาการนานาชาติ ของรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 2 ซึ่งจัดขึ้นคู่ขนานกับพิธี พระราชทานรางวัลนี้จะเป็นพื้นที่ ที่ผู้ได้รับพระราชทานรางวั ลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ปี 2560 ได้มาแบ่งปันความรู้ ความสามารถและแนวปฏิบัติที่ดี อีกทั้งได้สร้างเครือข่ายเพื่ อความร่วมมือในอนาคตด้วย ผู้เกี่ยวข้องจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในประเทศต่าง ๆ 11 ประเทศ และในภูมิภาค ได้ร่วมมือกันเพื่อให้ความช่ วยเหลือทั้งด้านวิชาการ และระดมทรัพยากรต่าง ๆ ข้าพเจ้าขอถือโอกาสนี้ขอบคุณท่ านทั้งหลาย สำหรับการมีส่วนร่วมต่อการศึ กษาและการพัฒนาครูในภูมิภาคร่ วมกัน
ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้ าฟ้ามหาจักรี กล่าวว่า ครูผู้ได้รับพระราชทานรางวั ลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี มาจากการคัดเลือกของกระทรวงศึ กษาธิการในอาเซียนและติมอร์- เลสเต ทั้ง 11 ประเทศ โดยมีคุณสมบัติเป็นครูผู้สร้ างการเปลี่ยนแปลงแก่ชีวิตของลู กศิษย์และมีคุณูปการต่อวงการศึ กษา ประเทศละ 1 คน ซึ่งจะมีการคัดเลือกสุดยอดครู 2 ปีครั้ง เพื่อเข้ารับพระราชทานรางวัล ประกอบด้วย เหรียญรางวัล ประกาศนียบัตร โล่ เข็มเชิดชูเกียรติทองคำ และเงินรางวัล รางวัลละ 10,000 เหรียญสหรัฐ ซึ่งครูผู้ได้รับพระราชทานรางวั ลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี 11 ประเทศในอาเซียนและติมอร์-เลสเต ปี 2562 มีประวัติที่น่าสนใจดังนี้
1. บรูไน ดารุสซาลาม นางฮาจา นูร์เลีย ฮาจี อัสปาร์ ครูใหญ่โรงเรียน เซลา เรนดา ลัมบัก คานัน จาลัน
49 ผู้บริหารโรงเรียนที่มีความเชี่ ยวชาญการบริหารการศึกษาและจั ดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาครูด้ านการศึกษาพิเศษ เป็นต้นแบบโรงเรียนแบบเรียนรวม (Model Inclusive School) ศูนย์ดูแลเด็กที่มีความต้ องการพิเศษและเด็กปัญญาเลิศ รวมถึงเด็ก ๆ ทุกคน อีกทั้งยังเป็นที่ปรึกษาด้ านมาตรฐานคุณภาพครู วิทยากรฝึกอบรมครูให้กั บกระทรวงศึกษาและสถาบันผลิตครู
2. กัมพูชา นายลอย วิรัก ครูสอนฟิสิกส์ โรงเรียนมัธยมฮุนเซน โลเลียพา เอีย จังหวัดกัมปงชนัง
เน้นให้นักเรียนมีประสบการณ์ ตรงจากการทดลอง สร้างบทเรียนที่เชื่อมโยงกับชี วิตประจำวันด้วยสื่อการเรียนรู้ ใกล้ตัว กระตุ้นการเรียนรู้นักเรียนเป็ นรายบุคคล ทำให้ไม่มีนักเรียนตกซ้ำชั้น ด้วยความมุ่งมั่นว่าการศึกษาที่ ดีจะนำไปสู่การให้โอกาสแก่เด็ กโดยเฉพาะเด็กยากจน
3. ฟิลิปปินส์ นายซาดัด บี มินันดัง นักมานุษยวิทยาผู้เปลี่ยนอาชี พตนเองมาเป็นครู โรงเรียนประถมศึกษาอัมมิร๊อล เมืองโคตาบาโต จังหวัดมินดาเนา มีส่วนช่วยพัฒนาโรงเรียนและชุ มชน ผู้ริเริ่ม “รถลากเสริมความรู้” รถลากเคลื่อนที่บรรทุกหนังสื อเรียนและสื่อการเรียนรู้ไปยั งหมู่บ้านเพื่อให้เด็กที่ ขาดโอกาสได้รู้หนังสือ ริเริ่มโครงการความศรั ทธาในการทำงานร่วมกันเพื่อกระตุ้ นจิตสำนึกกรณีการลักลอบหรือล่ อลวงเด็กเพื่อสร้างสันติสุ ขและวินัยในชุมชน
4.ติมอร์-เลสเต นางลูร์เดส รันเกล กอนคัลเวส ครูประถม โรงเรียนมาทาทา ฟิเลีย เมืองเอเมรา ผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการศึ กษาโดยร่วมกับครูใหญ่ก่อตั้ งโรงเรียนมาทาทา โดยใช้ที่ดินของครอบครัวเพื่อจั ดการศึกษาให้กับเด็กในพื้นที่ภู เขาสูง มากว่า 19 ปี นักจัดการเรียนรู้แบบองค์รวมเพื่ อให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ด้ วยตนเองผ่านกระบวนการกลุ่มและกิ จกรรมกระตุ้นการเรียนรู้ (Active Learning) ร่วมเขียนหลักสูตรภาษาเตตุนระดั บประถมศึกษา นับเป็นครูผู้เตรียมอนาคตให้แก่ เด็กของติมอร์-เลสเต ซึ่งเด็กทุกคนที่เข้าเรี ยนโรงเรียนของเธอจะเรียกครูลูร์ เดสว่า แม่ หรือ มาม่าลูร์
5. เวียดนาม นายเลอ ทัน เลียม ครูสอนวิชาฟิสิกส์และเทคโนโลยี โรงเรียนฮิม ลัม ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำสำหรับเด็ กชนเผ่ากลุ่มน้อย อำเภอเกาทั่น จังหวัดเฮาเกียง พัฒนานักเรียนโดยฝึกกระบวนการคิ ดจากชีวิตจริงและช่วยเหลือชุ มชนซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยชาวเขมร ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาในห้ องเรียน ใช้ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ให้ เด็กได้ฝึกปฏิบัติ ฝึกสังเกตและแสดงให้เห็นปั ญหาในชุมชน
6. สิงคโปร์ นางแอนเจลีน ชาน ซิว เหวิน ครูการศึกษาพิเศษ ผู้มุ่งมั่นไม่ปล่อยให้เด็กพิ เศษคนใดตกหล่นหรือออกกลางคัน ผู้ส่งเสริมการเรียนรู้แก่เด็ กพิเศษ สอนอ่านและพูดอย่างอดทนจนกว่ าจะสามารถพัฒนาความก้าวหน้าได้ ตามลำดับ เอาใจใส่ทั้งจิตใจเด็ กและสภาพความเป็นอยู่ของลูกศิ ษย์ และมีบทบาทสำคัญเป็นแกนนำเครื อข่ายการพัฒนาครูและผู้ฝึ กอบรมการจัดการศึกษาพิเศษให้กั บกระทรวงศึกษาธิการสิงคโปร์
7. ไทย นายสุเทพ เท่งประกิจ ครูประถมศึกษา โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา ครูของชุมชนผู้สร้างโอกาสให้แก่ เด็กและคนในชุมชนได้เข้าถึ งการศึกษาที่มีคุณภาพ ผู้ผูกสัมพันธ์คนไทยและมุสลิ มเป็นหนึ่งเดียวกันด้วยสันติภาพ จัดตั้ง ‘ศูนย์ข้อมูลการเรียนรู้’ โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพี ยงของในหลวงรัชกาลที่ 9 ผ่านกิจกรรมที่หลากหลายโดยฝึ กให้ลงมือทำเพื่อให้เกิดทั กษะในการดำรงชีวิตและยกระดับคุ ณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
8. อินโดนีเซีย นายรูดี้ ฮาร์ยาดี้ ครูผู้จัดการเรียนรู้ด้านวิ ศวกรรมคอมพิวเตอร์ โรงเรียนมัธยมแบบผสมอาชีวศึ กษาที่ 1 จิมาฮิ จังหวัดชวาตะวันตก เน้นการสร้างนวัตกรรมโดยใช้ เทคโนโลยีดิจิตัล ด้วยเทคนิคการสอนที่ใส่ ใจความสนใจของเด็ก โดยการตั้งคำถามเพื่อหาสิ่งที่ เด็กชอบและเชื่อมโยงเนื้อหาในชั้ นเรียนให้เข้ากับความสนใจของเด็ กเป็นรายบุคคล ผลงานที่โดดเด่นคือ “Peppermint” กระบวนการเรียนการสอนเครือข่ ายคอมพิวเตอร์ ที่มาจากคำว่า วางแผน Plan ค้นหา Explore ปฏิบัติ Practice ดำเนินการ Perform สอบถาม Enquiry สะท้อน Reflect จดจำ Memorize และอินเทอร์เน็ต Internet
9. สปป ลาว นายไพสะนิด ปันยาสวัด ครูและหัวหน้าแผนกวิ ชาภาษาและวรรณกรรมลาว โรงเรียนมัธยมสันติภาพ หลวงพระบาง ผู้ส่งเสริมการสอนเพื่อยกระดั บความตระหนักทางวั ฒนธรรมลาวและภูมิปัญญาท้องถิ่ นหลวงพระบางเพื่อให้เด็ กและเยาวชนได้สืบทอดทางวัฒนธรรม พร้อมทั้งพัฒนาเอกสารข้อมูลส่ งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวั ดหลวงพระบาง
10. มาเลเซีย นาง เค เอ ราซียาห์ ครูผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาพิ เศษ โรงเรียนมัธยมปันจี เมืองโกตาบารู รัฐกลันตัน ผู้ดูแลเด็กที่มีความต้องการพิ เศษด้วยความรักและความเอาใจใส่ ฝึกฝนทักษะชีวิตเพื่อสามารถอยู่ ได้ในสังคม สร้างนวัตกรรมการสอน เช่น ชั้นเรียนแต่งหน้า ห้องเรียนสปาเพื่อพัฒนาเด็กพิ เศษ พร้อมทั้งถ่ายทอดการสอนแก่ผู้ ปกครองเพื่อฝึกปฏิบัติอย่างต่ อเนื่อง โดยเชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนรู้ ได้ ครูจึงช่วยให้เด็กเห็นคุณค่ าและดึงพลังในตัวของแต่ละคน หาสิ่งที่เด็กสนใจและมีความสุ ขที่ได้เรียนรู้ และเป็น 1 ใน 50 ครูผู้รับรางวัลครูดีเด่นโลก “Global Teacher Award” ในปี 2561 คัดเลือกโดย Varkey Foundation ประเทศอังกฤษ
11. เมียนมา นายหม่อง จ๋าย ครูสอนภาษาอังกฤษและเกษตร โรงเรียนมัธยมเจ๊าหมี่ โรงเรียนในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ ครูนักสร้างแรงบันดาลใจให้กับลู กศิษย์ที่มีความหลากหลายทางชาติ พันธุ์ให้เห็นความสำคัญของการศึ กษาเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต จูงใจให้เด็กเรียนหนักโดยใช้ เทคนิคการสอนต่าง ๆ ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ การเรียนจากการทดสอบภาษาอั งกฤษระดับสุดยอดของเมืองปาเทงกี