ถือเป็นอีกความก้าวหน้าของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ในการแสวงหาแนวทางแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมในทุกมิติ เมื่อล่าสุด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ลงนามในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบูรณาการเพื่อพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม และลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 17 ก.ค.2563 ให้มีผลประกาศใช้ระเบียบสำนักนายกฯฉบับดังกล่าว
กำหนดให้มีคณะกรรมการบูรณาการเพื่อพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม เรียกโดยย่อว่า “กบสท.”
ประกอบด้วยผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีจากกระทรวงต่างๆ ผู้นำองค์กรจากภาคธุรกิจเอกชน ที่มีบทบาทสำคัญต่อการกำหนดทิศทางประเทศ พร้อมกันนั้นยังแต่งตั้งบุคลากรผู้ทรงคุณวุฒิ โดยกำหนดคุณสมบัติมาจากทุกภาคส่วนของสังคมเพื่อทำหน้าที่ บูรณาการแก้ไขความเหลื่อมล้ำทางสังคมในทุกมิติ
อาจกล่าวได้ว่า นี่เป็น “ซุปเปอร์บอรด์”ร่วมสร้างความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม
ระเบียบสำนักนายกฯ ว่าด้วยการบูรณาการเพื่อพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม มีรายละเอียดดังนี้
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ (๖) และ (๘) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการบูรณาการเพื่อพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม พ.ศ. 2563”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในการบูรณาการเพื่อพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม ต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการดำเนินการใด ๆ ที่จะให้เกิดความร่วมมือกันของภาคส่วนต่าง ๆ อันจะเป็นการลดหรือแก้ไขปัญหาความไม่เท่าเทียมกันจากสถานะ สิทธิ โอกาส และการเข้าถึงด้านต่าง ๆ ไม่ว่าด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากร สิ่งแวดล้อม กระบวนการยุติธรรม และด้านอื่นใดที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของคนในสังคม เพื่อให้การพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างยั่งยืนและสมดุล
ข้อ ๔ ให้มีคณะกรรมการบูรณาการเพื่อพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคมเรียกโดยย่อว่า “กบสท.” ประกอบด้วย
(๑) นายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ
(๒) รองนายกรัฐมนตรี ที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย รองประธานกรรมการ
(๓) รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
(๔) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กรรมการ
(๕) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรรมการ
(๖) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กรรมการ
(๗) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรรมการ
(๘) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กรรมการ
(๙) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กรรมการ
(๑๐) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กรรมการ
(๑๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กรรมการ
(๑๒) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กรรมการ
(๑๓) ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
(๑๔) เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการ
(๑๕) ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กรรมการ
(๑๖) ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรรมการ
(๑๗) ประธานสมาคมธนาคารไทย กรรมการ
(๑๘) ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ เป็นที่ประจักษ์ด้านการพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคมในมิติต่าง ๆ ซึ่งนำยกรัฐมนตรีแต่งตั้งจำนวนไม่เกิน ๕ คน เป็นกรรมการ
(๑๙) เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการและเลขานุการ
(๒๐) รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ได้รับมอบหมาย กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
(๒๑) เจ้าหน้าที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ได้รับมอบหมาย กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
ในกรณีที่ไม่มีกรรมการตามวรรคหนึ่งตำแหน่งใด หรือมีแต่ปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้ ถ้ามีกรรมการเหลืออยู่ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ให้ กบสท. ประกอบด้วยกรรมการทั้งหมดเท่าที่เหลืออยู่ และปฏิบัติหน้าที่ได้
ข้อ ๕ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(๑) มีสัญชาติไทย
(๒) มีอำยุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์
(๓) ไม่เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
(๔) ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และพ้นโทษมายังไม่ถึงห้าปีเว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๕) ไม่เป็นผู้ถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออก เพราะทุจริตต่อหน้าที่
(๖) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น กรรมการ หรือผู้ดำรงตำแหน่งซึ่งรับผิดชอบการบริหารพรรคการเมือง ที่ปรึกษาพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมือง
ข้อ ๖ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสามปีนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งและอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่ต้องไม่เกินสองวาระติดต่อกัน ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งตามวาระ หากยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ ให้กรรมกำรผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งนั้นปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ข้อ ๗ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๔) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๕) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ ๕
(๖) นายกรัฐมนตรีให้ออก เพราะบกพร่องต่อหน้าที่ หรือมีความประพฤติเสื่อมเสียหรือหย่อนความสามารถ
ข้อ ๘ ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระหรือมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มเติม ให้ผู้ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนตำแหน่งที่ว่างหรือเพิ่มขึ้นนั้น อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับการแต่งตั้งไว้แล้วเว้นแต่จะมีระยะเวลาเหลือไม่ถึงเก้าสิบวันจะไม่แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนตำแหน่งที่ว่างหรือเพิ่มขึ้นก็ได้
ข้อ ๙ การประชุมของ กบสท. ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
ในกรณีที่ประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม ถ้ารองประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมมติของที่ประชุมให้ถือเสียงข้ำงมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนนถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
ข้อ ๑๐ ให้ กบสท. ดำเนินการและอำนวยการให้เกิดการบูรณาการเพื่อพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคมที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติแผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และนโยบายรัฐบาล โดยต้องคำนึงถึงแผนอื่น ๆ ที่มีเป้าหมายในการพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ตามข้อ ๓ รวมทั้งให้มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้ด้วย
(๑) วางแนวทางและวิธีการดำเนินการระหว่างหน่วยงานของรัฐเพื่อให้เกิดการบูรณาการร่วมกันในการกำหนดแผนงาน โครงการ และการบริหารจัดการงบประมาณและทรัพยากรที่เกี่ยวข้องเพื่อการพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม
(๒) ส่งเสริม สนับสนุน และประสานการดำเนินงานตามภารกิจ แผนงาน หรือโครงการของหน่วยงานของรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ในการพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคมเพื่อให้เป็นไปตามแนวทางและวิธีการดำเนินการตาม (๑)
(๓) พิจารณากำหนดแผนงานหรือโครงการเกี่ยวกับการพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคมที่จำเป็น เพื่อให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติแผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และนโยบายรัฐบาล
(๔) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องในการกำหนดแผนงาน โครงการและงบประมาณ เพื่อให้สอดคล้องและต่อเนื่องกันในการพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม
(๕) เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีในการจัดทำ แก้ไขเพิ่มเติม หรือปรับปรุงกฎหมาย กฎและมาตรการต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้เกิดการบูรณาการระหว่างหน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานของรัฐและเอกชน เพื่อการพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทำงสังคม
(๖) ติดตำมและประเมินผลกำรด ำเนินกำรของหน่วยงำนต่ำง ๆ ทั้งหน่วยงานของรัฐและเอกชน ปัญหาและอุปสรรคในกำรดำเนินกำร และข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีในการพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม
(๗) ปฏิบัติการอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบนี้ หรือตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมายในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง กบสท. อาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงานหรือที่ปรึกษาเพื่อดำเนินการตามที่มอบหมายได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม
แนวทางและวิธีการดำเนินการตาม (๑) และแผนงานหรือโครงการตาม (๓) ให้ กบสท. เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว ให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติ ให้ความร่วมมือ และสนับสนุน ให้เป็นไปตำมที่กำหนดไว้ในแนวทำงและวิธีการดำเนินการหรือแผนงานหรือโครงการนั้น
ข้อ ๑๑ ให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทำหน้าที่เลขานุการของ กบสท. รับผิดชอบในงานธุรการและอำนวยการในการปฏิบัติหน้าที่ของ กบสท. และปฏิบัติการอื่นใดตามที่ กบสท. มอบหมาย รวมทั้งดำเนินการในเรื่อง ดังต่อไปนี้
(๑) ศึกษาวิจัย พัฒนาองค์ความรู้ จัดทำและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของ กบสท. และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(๒) เสนอแนะต่อ กบสท. ในการกำหนดแนวทางและวิธีการดำเนินงานตามข้อ ๑๐ (๑) รวมทั้งแนวทางการขับเคลื่อนและแผนงานหรือโครงการในการพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคมตามข้อ ๑๐ (๓)
(๓) รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอจากหน่วยงานของรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน เพื่อนำข้อมูลมาประกอบการดำเนินงานตามหน้าที่และอำนาจของ กบสท.
ข้อ ๑๒ ให้หน่วยงานของรัฐให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินงานของ กบสท. และการดำเนินงานของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตามระเบียบนี้
ข้อ ๑๓ เบี้ยประชุม ค่าตอบแทน และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของ กบสท. และคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และที่ปรึกษา ที่ กบสท. แต่งตั้ง ให้เบิกจ่ายตามระเบียบของทางราชการโดยเบิกจ่ายจากงบประมาณของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ข้อ ๑๔ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามระเบียบนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี