ส่องตัวเลขจาก Big Data ที่เผยความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่คุณอาจไม่เคยเห็น

ส่องตัวเลขจาก Big Data ที่เผยความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่คุณอาจไม่เคยเห็น

ส่องตัวเลขจาก Big Data ที่เผยความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่คุณอาจไม่เคยเห็นมาก่อน จาก “iSEE ระบบสารสนเทศเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา” ระบบที่จะเป็นเครื่องมือในการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทย ด้วยความร่วมมือของ กสศ. มหาวิทยาลัยนเรศวร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เรื่องของเด็กนักเรียนยากจนพิเศษ การขาดโอกาสทางการศึกษา เป็นสิ่งที่หลายๆ คนอาจจะมีภาพในใจอยู่แล้วบ้างระดับหนึ่ง แต่ว่าอาจจะยังไม่เคยเห็นอย่างเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน
กสศ. อยากพาทุกคนมาพบกับมุมมองต่อระบบการศึกษาไทย ที่หลายคนอาจนึกไม่ถึง ผ่านตัวเลขจาก Big Data จาก “iSEE ระบบสารสนเทศเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา” ว่ามีตัวเลขอะไรที่น่าสนใจจากข้อมูลเหล่านี้บ้าง
ผู้ที่สนใจเข้าใช้งานระบบ iSEE สามารถเข้าไปใช้งานได้ฟรี ได้ที่
.

iSEE คือ ระบบสารสนเทศเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ซึ่งเปิดให้ทุกคนสามารถใช้งานได้ฟรี โดย กสศ.ได้วิจัยและพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (Information System for Equitable Education : iSEE) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (BIG Data) รายบุคคล ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายเด็กและเยาวชนผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาสมากกว่า 4 ล้านคน

โดยเชื่อมโยงข้อมูลเด็กและครอบครัวกับฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของ 6 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงแรงงงาน และกระทรวงสาธารณสุข รวมถึงข้อมูลจากระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) เพื่อที่จะช่วยให้ “มองเห็น” สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำได้ชัดเจนทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ตลอดจนเป็นเครื่องมือให้กับหน่วยงานต่างๆ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาได้ในอนาคต

รวมถึงการทำ Data Visualization ให้เห็นภาพที่เข้าใจง่ายพร้อมทั้งยังสามารถดาวน์โหลดเป็นภาพนำเสนอได้ทันทีอีกด้วย

และต่อจากนี้คือตัวเลขสถิติที่น่าสนใจของ Big Data จาก iSEE ที่เราอยากนำเสนอให้ทุกคนได้เห็นในสิ่งที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน

เมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ กลายเป็นจังหวัด อันดับ 1 ที่มีเด็กนักเรียนนอกระบบมากที่สุดกว่าสามแสนคน รองลงมาคือจังหวัดนครราชสีมาและตาก ที่มีเด็กนอกระบบจำนวน 74,271 และ 68,456 ตามลำดับ แม้ว่ากรุงเทพฯ จะเป็นเมืองหลวง แต่ก็เป็นจังหวัดที่มีจำนวนเด็กนอกระบบการศึกษามากที่สุดในประเทศ

34% คือจำนวนนักเรียนที่หายไปจากระบบการศึกษาหลังจบ ม.3 ของปีการศึกษา 2561 เมื่อเทียบกับจำนวนนักเรียนชั้น ม.4 ของปีการศึกษา 2562 จากข้อมูลของ iSEE จะทำให้เห็นจุดสำคัญว่า ระหว่างระดับ ม.3 ขึ้น ม.4 เป็นจุดที่เด็กหายไปจากระบบการศึกษา

74,271 คน คือเด็กนอกระบบการศึกษา เฉพาะแค่ในจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีจำนวนนักเรียนยากจนพิเศษมากเป็นอันดับสองของประเทศ

มีโรงเรียน 575 แห่ง ที่นักเรียนทุกคนในโรงเรียนเป็นนักเรียนยากจนพิเศษ 100% หรือก็คือนักเรียนทุกคนในโรงเรียนนั้นยากจนพิเศษทุกคน

มี 78 ตำบลในประเทศไทย ที่ไม่มีโรงเรียนประจำตำบล ซึ่งทำให้เด็กๆ ต้องเดินทางข้ามตำบลเพื่อไปเรียนหนังสือ ทำให้การเดินทาง ระยะทาง หรือการขนส่งเป็นอุปสรรคหนึ่งในการเข้าถึงการศึกษา โดยมีบางตำบลที่มีจำนวนเด็กนอกระบบการศึกษากว่าสี่ร้อยคน

1,205 บาท คือรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนเฉลี่ย ของครอบครัวนักเรียนยากจนพิเศษ ซึ่งมีแนวโน้มลดลงทุกปี ซึ่งมีแนวโน้มน่าเป็นห่วงมากทีเดียว โดยลดลงจาก ปีก่อน
2/2560 ที่ 1,289 บาท
2/2561 ที่ 1,249 บาท
1/2562 ที่ 1,205 บาท

*ข้อมูลปัจจุบันยังไม่รวมข้อมูลในช่วงที่มี วิกฤต COVID-19

255 คือจำนวนของโรงเรียน ที่ยังเข้าไม่ถึงอินเทอร์เน็ต ซึ่งทำให้การเรียนการสอนออนไลน์ของโรงเรียนและการเรียนผ่านอินเทอร์เน็ตทั้งหมดยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ

มีโรงเรียน 1,711 แห่ง ที่มีปัญหาเสียงจากการจราจร ในแต่ละโรงเรียนต่างก็มีการพบเจอกับปัญหาในแต่ละด้านที่แตกต่างกันไป ซึ่งปัญหาเหล่านั้นล้วนเกิดมาจากสภาพแวดล้อมในบริเวณของโรงเรียนทั้งสิ้น

ข้อมูลนี้ทำให้เห็นปัญหาที่อาจไม่เคยนึกถึงมาก่อนว่าเสียงของการจราจรจะเป็นปัญหากับโรงเรียนจำนวนมากขนาดนี้

นอกจากนี้ยังมี
โรงเรียน 1,574 แห่งที่มี ปัญหาอากาศจากเคมีการเกษตร
โรงเรียน 1,484 แห่งที่มี ปัญหาอากาศจากโรงงาน/สารเคมี
โรงเรียน 1,144 แห่งที่มี ปัญหาอากาศจากขยะ/สิ่งปฏิกูล

15 โรงเรียน ในประเทศไทยที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ แม้ว่าจะเป็นสิ่งพื้นฐานมาก ๆ อย่างกระแสไฟฟ้า แต่ว่าก็ยังมีโรงเรียนอีก 15 แห่ง ที่ยังไม่มีกระแสไฟฟ้าเข้าถึง ดูข้อมูลอย่างละเอียดได้ที่นี่

ไม่ว่าคุณจะเป็น
– หน่วยงานรัฐ / เอกชน
– บุคลากรในแวดวงการศึกษา
– นักการตลาดที่ต้องการหาข้อมูลเพื่อทำแคมเปญ CSR
– Startup
– นักเคลื่อนไหวทางสังคม, กิจการเพื่อสังคม
– ผู้ทำวิจัย
– บุคคลทั่วไปที่สนใจปัญหาเรื่องการศึกษา
ฯลฯ

ก็สามารถเข้ามาใช้งานได้ทุกคน ผ่านเว็บไซต์ iSEE ที่เว็บไซต์ https://isee.eef.or.th/
กสศ. ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะได้ร่วมมือ ยกระดับการศึกษาไทยไปด้วยกันกับคุณทุกคน

ดาวน์โหลดเพิ่มเติม