เมื่อการกลับมาเรียนที่โรงเรียนอีกครั้งมีความสำคัญ แต่ในสถานการณ์ที่ยังคงต้องเฝ้าระวัง ทำให้พ่อแม่และครูจำเป็นต้องปรับตัว เรียนรู้เคล็ดลับวิธีการจัดการกับความตึงเครียดของเด็กที่อาจมีผลต่อการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Bettina Hohnen และ Jane Gilmour สองนักจิตวิทยาชาวอังกฤษแนะนำเคล็ดลับให้พ่อแม่ผู้ปกครอง ตลอดจนคุณครูสามารถให้ความช่วยเหลือบุตรหลานภายในบ้านที่ต้องเดินทางไปเรียนหนังสือที่โรงเรียนในยุค COVID-19 ให้ปรับตัวและเตรียมตัวเตรียมใจเตรียมพร้อมกับโรงเรียนแบบ New Normal ซึ่งเป็นสิ่งที่ทั้งสองมองว่า อาจทำให้เด็กโดยเฉพาะเด็กเล็กและเด็กนักเรียนระดับประถมศึกษาตกอยู่ในภาวะตึงเครียดจนส่งผลต่อการเรียนรู้ของเด็กได้
แหล่งที่มาข้อมูล : Psychologists’ tips: preparing cgildren for return to school
1. พ่อแม่และครูต้องเริ่มจากมีความมั่นใจและเข้าใจว่าการที่เด็กๆ กลับมาเรียนเป็นเรื่องสำคัญแม้เด็กอาจอึดอัดกับกฏระเบียบแบบ New normal แต่เราต้องรู้วิธีรับมือ ด้วยการพูดคุยดังนี้
พูดคุยด้วยท่าทางที่สงบอธิบายสถานการณ์อย่างใจเย็น พูดคุยด้วยเหตุผล ให้ข้อมูลกฏระเบียบทางโรงเรียน เมื่อเด็กลืมทำตามกฏระเบียบ ต้องทำอภัยให้รู้สึกว่าไม่ใช่เรื่องผิด
2. นำกฏระเบียบ Covid-19 มาอยู่ในใช้ชีวิตประจำวันตามปกติที่คุ้นเคยไม่ว่าจะเป็นการกินข้าว ทำการบ้าน การเข้านอน หรือการใช้คอมพิวเตอร์ แล้วตอบข้อสงสัยของเด็กอย่างตรงไปตรงมา เพื่อให้เด็กรู้สึกไว้ใจ
3. ลิสต์ความกังวลของเด็ก ด้วยการสอบถาม เพื่อหาวิธีจัดการ เป็นขั้นตอนด้วยความอดทนและใจเย็น เพื่อให้เด็กก้าวข้ามปัญหานั้นได้ด้วยตัวเอง แล้วอาจให้ของรางวัลกล่าวคำชื่นชมเมื่อเด็กแก้ปัญหาที่กังวลเหล่านั้นได้
4. การเรียนที่เร่งรีบมากเกินไป อาจทำให้เด็กกดดันจนอาจได้ผลลัพธ์การเรียนที่ต่ำกว่าเกณฑ์ ดังนั้นพ่อแม่และครู ต้องช่วยกันสร้างสภาพแวดล้อมที่ทำให้เด็กมีสมาธิ ด้วยความเข้าใจการเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด เพื่อให้เด็กรู้สึกไม่กดดัน และเรียนรู้ได้ดีที่สุด
5. กฏระเบียบที่ต้องสร้างระยะห่างทางสังคม อาจทำให้ความสนิทในกลุ่มเพื่อนเปลี่ยนไป พ่อแม่และครูจะต้องพูดสร้างความเข้าใจถึงความจำเป็น เพื่อให้เด็กเปิดใจและยอมรับการปรับตัว แต่ขณะเดียวกัน โรงเรียนต้องเตรียมอุปกรณ์เสริมเวลาร่วมกิจกรรมได้อย่างปลอดภัย เพื่อไม่ให้เกิดระยะห่างมากเกินความจำเป็น
6. ความเครียดระหว่างวันอาจเกิดขึ้นกับเด็กโดยที่เราไม่รู้ตัว การที่พ่อแม่หรือครูได้ชวนคุยหลังเลิกเรียนหรือระหว่างวัน จะช่วยทำให้ลดความตึงเครียดลงได้ หรือถ้าไม่ชอบพูดจริง ลองใช้วิธีให้ระบายด้วยวิธีอื่นๆ เช่น การวาดรูป บันทึกลงสมุด เป็นต้น ซึ่งจะช่วยให้เด็กรู้สึกว่าได้รับความเอาใจใส่อีกด้วย
7. เมื่อลูกได้พูดถึงเหตุการณ์ต่างๆ ให้พ่อแม่ตั้งใจฟัง อย่างเพียงแต่ได้ยิน ควรหยุดทุกสิ่งที่ทำ แล้วฟังสิ่งที่ลูกกำลังพูดอย่างตั้งใจ จากนั้นอาจเสริมคำแนะนำหรือฟังเพียงอย่างเดียวก็ได้ ซึ่งการนั่งฟังอย่างตั้งใจ จะช่วยให้เด็กทบทวน
ความคิด และนำไปสู่การแก้ปัญหาด้วยตัวเอง
ความคิด และนำไปสู่การแก้ปัญหาด้วยตัวเอง