ผลการศึกษาของสำนักงานตรวจสอบแห่งชาติ (National Audit Office) เปิดเผยว่า โครงการ National Tutoring Programme ที่รัฐบาลอังกฤษภายใต้การบริหารของนายกรัฐมนตรี บอริส จอห์นสัน โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยให้นักเรียนที่ไม่สามารถมาเรียนในช่วงที่ปิดโรงเรียนเพราะไวรัสโควิด-19 ระบาด สามารถเรียนหนังสือได้ทันเพื่อนหรือชดเชยการเรียนที่หายไปนั้น ไม่สามารถเข้าถึงเด็กนักเรียนด้อยโอกาสส่วนใหญ่ในอังกฤษได้
สถานีโทรทัศน์ BBC ของอังกฤษรายงานว่า แม้จะมีกลุ่มเป้าหมายคือเด็กนักเรียนยากจนในอังกฤษ แต่ทว่า โครงการติวหนังสือแห่งชาติ หรือ National Tutoring Programme กลับมีเด็กนักเรียนจากครอบครัวยากจนเข้าร่วมโครงการไม่ถึงครึ่ง ไม่คุ้มค่ากับเงินที่ ทางฝ่ายกระทรวงศึกษาธิการระบุว่าได้ใช้เงินลงทุนในโครงการดังกล่าวกว่า 2,000 ล้านปอนด์
Meg Hillier ประธานคณะกรรมการบัญชีสาธารณะ (Chair of the Commons Public Accounts Committee) และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดพรรคแรงงาน กล่าวว่าฝ่ายกระทรวงศึกษาธิการประสบความล้มเหลวในการทำการบ้านของตนเอง และความล้มเหลวดังกล่าวก็สร้างผลกระทบในทางลบต่อเด็กนักเรียนด้อยโอกาสในสังคม
“ทางกระทรวงศึกษาธิการตอนนี้ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าการสนับสนุนได้รับการกำหนดเป้าหมายอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันไม่ให้ช่องว่างระหว่างเด็กด้อยโอกาสและคนรอบข้างขยายกว้างขึ้นไปอีก” Meg Hillier กล่าว
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี Boris Johnson ของอังกฤษ ได้ประกาศโครงการช่วยเหลือเด็กนักเรียนอังกฤษครั้งแรกมูลค่า 1,000 ล้านปอนด์เมื่อเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว โดยเงินช่วยเหลือดังกล่าว ส่วนหนึ่งหรือราว 350 ล้านปอนด์ได้รับการจัดสรรเพื่อจัดทำโครงการ National Tutoring Programme ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่เด็กนักเรียนยากจน และจัดสรรงบอีก 650 ล้านปอนด์ให้กับทางโรงเรียนเพื่อให้โรงเรียนให้ความช่วยเหลือเด็กนักเรียนทุกคน ไม่ว่าจะมีพื้นเพภูมิหลังมาจากที่ใดก็ตาม ให้สามารถเรียนหนังสือได้ทันเพื่อนร่วมชั้นเรียน
อย่างไรก็ตาม หลายฝ่ายมองว่า แม้โครงการจะมุ่งเป้าไปที่เด็กด้อยโอกาส แต่กระทรวงศึกษาธิการก็ไม่ได้ระบุว่าเด็กที่เข้าร่วมควรเป็นเด็กด้อยโอกาสในสัดส่วนเท่าใด
ขณะเดียวกัน รายงานฉบับนี้ยังพบว่า จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา นักเรียน 125,200 คนที่ได้รับการจัดสรรให้เข้าร่วมโครงการติวพิเศษ มีเพียง 41,100 คนเท่านั้นที่ได้เริ่มเรียนพิเศษแล้ว และในจำนวนนี้ 44% มีสิทธิ์ได้รับเงินทุนพิเศษสำหรับนักเรียนซึ่งเป็นทุนที่มอบให้กับโรงเรียนในอังกฤษเพื่อช่วยเหลือเด็ก ๆ ด้อยโอกาส
ผลลัพธ์ข้างต้นทำให้เกิด “คำถามเกี่ยวกับขอบเขตที่โครงการจะเข้าถึงเด็กที่ด้อยโอกาส” ขณะที่ การจัดที่ปรึกษาด้านวิชาการในโรงเรียนที่อยู่ในชุมชนยากจน เพื่อให้มีการติดตามการเรียนอย่างเข้มข้นก็มีไม่เพียงพอต่อความต้องการมหาศาลในชุมชน
โดยข้อมูลล่าสุดจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ พบว่า มีการจัดสรรที่ปรึกษาเข้าประจำโรงเรียน 1,100 แห่งแล้ว แต่โรงเรียนที่ยื่นขอความจำนงขอมีที่ปรึกษานั้นมีถึง 1,789 แห่ง เท่ากับกับว่า มีโรงเรียนอีกกว่า 600 แห่งที่ยังไม่มีที่ปรึกษาเลยแม้สักคนเดียว
นอกจากนี้ การระบาดของไวรัสโควิด-19 ก็ทำให้สถานการณ์ด้านการศึกษาของอังกฤษมีความซับซ้อนและความท้าทายอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และแม้ว่ากระทรวงศึกษาธิการจะต้องเร่งลงมือตอบสนองต่อสถานการณ์อย่างดีและรวดเร็ว แต่ความเป็นจริงก็คือ กระทรวงศึกษาธิการอังกฤษไม่มีแม้แต่จัดการการศึกษาที่สะดุดหยุดชะงักนี้ได้
ยิ่งไปกว่านั้น ถึงทางกระทรวงศึกษาธิการจะพิจารณาจัดสรร แล็บท็อปส์และแท็บเล็ตส์จำนวน 602,000 เครื่อง กับเครื่องส่งสัญญาณ 4G หรือ 4G routers จำนวน 100,000 เครื่องตั้งแต่เดือนเมษายนปีที่แล้ว เพื่อให้แน่ใจว่าเด็กกลุ่มเสี่ยง เด็กยากจนและเด็กด้อยโอกาสสามารถเข้าถึงอุปกรณ์ดิจิทัลได้ในการเรียนทางไกลได้ แต่เพราะไม่สามารถจัดหาอุปกรณ์ได้ทันในระยะเวลาอันสั้นได้ ทำให้ทางการต้องเลือกให้ความสนใจกับนักเรียนที่มีนักสังคมสงเคราะห์และผู้ดูแลเด็กควบคู่ไปกับนักเรียนด้อยโอกาสในเกรด 10 แทน โดยคิดเป็นจำนวนแล็ปท็อปและแท็บเล็ตทั้งหมด 220,000 เครื่องและเราเตอร์ อีก 50,000 เครื่อง
รายงานระบุว่า “อุปกรณ์จำนวนมากไปไม่ถึงหน่วยงานท้องถิ่นและสถาบันการศึกษาจนถึงเดือนมิถุนายน” ซึ่งหมายความว่าเด็กๆ หลายคนไม่สามารถเข้าถึงการเรียนรู้ทางไกลได้จนกว่าจะถึงครึ่งหลังของภาคเรียนฤดูร้อน
Gareth Davies หัวหน้าสำนักงานตรวจสอบแห่งชาติ (NAO) กล่าวว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องติดตามผลกระทบของการเตรียมการรับมือโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อเด็กที่ด้อยโอกาส รวมถึงผลลัพธ์ของการดำเนิน
ด้าน Kevin Courtney เลขานุการร่วมของสหภาพการศึกษาแห่งชาติ (National Education Union) อังกฤษ กล่าวว่า รัฐบาล”เป็นสาเหตุของความสับสนและขุ่นเคือง” ทำให้เกิดแรงกดดันที่ไม่จำเป็นต่อการปฎิบัติงาน
ส่วน Cllr Judith Blake ประธานคณะกรรมการเด็กและเยาวชนของสมาคมรัฐบาลท้องถิ่น (chair of the Local Government Association’s Children and Young People Board) ระบุว่า เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการกำหนดเป้าหมายอย่างเคร่งครัดเพื่อให้การสนับสนุนได้ทัน เพื่อหลีกเลี่ยงการขยายช่องว่างด้านการศึกษาระหว่างนักเรียนด้อยโอกาสกับเพื่อนร่วมชั้นเรียน
ขณะที่ทางโฆษกกระทรวงศึกษาธิการอังกฤษ โต้ว่า ทางกระทรวงได้เร่งดำเนินการอย่างรวดเร็วทุกครั้งเพื่อช่วยลดผลกระทบต่อการศึกษาของนักเรียนและให้การสนับสนุนในวงกว้างสำหรับโรงเรียน วิทยาลัยและอนุบาลตั้งแต่ช่วงแรกอย่างเต็มที่
“เราได้ลงทุนกว่า 2 พันล้านปอนด์ในแผนการจัดหาอุปกรณ์สำหรับการศึกษาระยะไกลและแผนการติดตามให้กับนักเรียน – โดยมีการระดมทุนที่มุ่งเป้าไปที่เด็กด้อยโอกาสและเยาวชนที่ต้องการการสนับสนุนมากที่สุด” โฆษกกระทรวงศึกษาธิการอังกฤษกล่าว
ที่มา : Covid: Catch-up tuition not helping poorest pupils, says NAO