กระทรวงบริการสังคมและครอบครัวของสิงคโปร์ หรือ Ministry of Social and Family Services (MSF) เปิดเผยแผนการดำเนินการเตรียมทยอยขยายโครงการให้ความช่วยเหลือเด็กเล็กจากครอบครัวยากจนหรือครอบครัวผู้มีรายได้น้อยให้ครอบคลุมทั่วประเทศภายในปีหน้า เพื่อแบ่งเบาภาระครอบครัว และเพื่อให้เด็กจากครอบครัวยากจนสามารถเข้าถึงทรัพยากรได้อย่างทัดเทียมกับเพื่อนร่วมรุ่นในวัยเดียวกัน
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวมีชื่อเรียกว่า โครงการ KidSTART ซี่งทางรัฐบาลทดลองนำร่องใช้ครั้งแรกในปี 2016 เพื่อช่วยเหลือสนับสนุนครอบครัวยากจนที่มีสมาชิกเป็นเด็กเล็กอายุไม่เกิน 6 ขวบ โดยนับตั้งแต่ดำเนินงาน ทางโครงการได้ให้ความช่วยเหลือที่เป็นประโยชน์แก่เด็กๆ แล้วมากกว่า 3,000 คน ใน 13 เขตพื้นที่ดูแลของสำนักงานบริการสังคมสงเคราะห์ และตั้งเป้าที่จะข่วยเหลือเด็กให้ได้ 5,000 คนภายในปี 2023 นี้
ซุน เสวียหลิง (Sun Xueling) รัฐมนตรีกระทรวงบริการสังคมและครอบครัวของสิงคโปร์ กล่าวระหว่างการขึ้นแถลงต่อหน้าคณะกรรมการธิกรฝ่ายจัดซื้อของ MSF ว่า เพื่อเสริมสร้างการสนับสนุนเด็กจากครอบครัวที่มีรายได้ต่ำอย่างแข็งแกร่ง ทางรัฐบาลจึงจำกัดช่องว่างความเหลื่อมล้ำให้แคบลงตั้งแต่ช่วงขวบปีแรกของเด็กๆ กลุ่มนี้
ขณะเดียวกัน ทางรัฐมนตรี MSF ของสิงคโปร์ยังใช้โอกาสนี้ประกาศโครงการริเริ่มใหม่ๆ เพื่อยกระดับคุณภาพของผู้ประกอบวิชาชีพและผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับการศึกษาดูแลเด็กระดับปฐมวัย
รายงานระบุว่าสำหรับเด็กที่จำเป็นต้องการได้รับการสนับสนุนเพื่อพัฒนา ทางการสิงโปร์มีแผนที่จะสร้างศูนย์ให้การอบรมบ่มเพาะเด็กก่อนวัยเรียนแห่งใหม่ 2 แห่ง โดยเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการเพิ่มจำนวนสถานที่ในการให้การดูแลเด็กภายใต้โครงการสำหรับทารกและเด็กจากครอบครัวผู้มีรายได้น้อยในสิงคโปร์โดยเฉพาะ (Early Intervention Programme for Infant and Children)
ขณะที่ทางสำนักงานพัฒนาเด็กปฐมวัย หรือ Early Childhood Development Agency (ECDA) ของสิงคโปร์ เปิดเผยว่า ขณะนี้ สัดส่วนของเด็กก่อนวัยเรียนในโรงเรียนอนุบาลที่รัฐบาลให้การสนับสนุนได้เพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับช่วงปี 2018 ซึ่งอยู่ที่เพียง 50 เปอร์เซ็นต์
นอกจากนี้ ทางหน่วยงานยังได้เพิ่มจำนวนสถานที่สำหรับเด็กก่อนวัยเรียนอีกกว่าเท่าตัวในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา หรือจาก 90,000 แห่งในปี 2012 มาอยู่ที่ราว 200,000 แห่ง ณ ช่วงสิ้นปี 2021 ที่ผ่านมา
รัฐมนตรีกระทรวง MSF กล่าวว่า ทางกระทรวงฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเดินหน้าพัฒนาสถานที่สำหรับเด็กก่อนวัยเรียนที่ให้บริการแบบเต็มวันให้ได้อีกรายว 10,000 แห่งภายในปี 2023 นี้ เพื่อให้สอดรับความต้องการโรงเรียนสำหรับเด็กก่อนวัยเรียนที่เพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบัน และโรงเรียนใหม่ทั้งหมดนี้จะให้ความสำคัญกับครอบครัวที่เพิ่งจะเริ่มชีวิตคู่ หรือพ่อแม่ในวัยหนุ่มสาวเป็นหลัก
ยิ่งไปกว่านั้น ภายในปี 2025 ทางกระทรวงยังตั้งเป้าให้ 8 ใน 10 ของเด็กก่อนวัยเรียนสามารถเข้าเรียนในโรงเรียนอนุบาลที่รัฐบาลสนับสนุนได้ พร้อมเตรียมลดค่าธรรมเนียมการศึกษาภายในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
รายงานระบุอีกว่า เพื่อรองรับการขยายสถานศึกษาสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน ทางการสิงคโปร์กยังได้เดินหน้าเพิ่มจำนวนนักการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยจาก 18,000 คนในปี 2018 มาอยู่ที่มากกว่า 23,000 คนในปี 2021
และเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการเป็นผู้นำในภาคส่วนการศึกษาระดับปฐมวัย ทางสำนักงาน ECDA ของสิงคโปร์ยังมีแผนจะเสนอกรอบการพัฒนาความเป็นผู้นำสำหรับ “การพัฒนาแบบองค์รวม” ของผู้นำศูนย์การศึกษาสำหรับเด็กก่อนวัยเรียนอีกทางหนึ่งด้วย
นอกจากนี้ ทางสำนักงาน ECDA ยังจะเปิดตัวชุมชนการเรียนรู้ปฐมวัย หรือ Early Childhood Learning Communities (ECLC) ตั้งแต่เดือนเมษายนนี้เป็นต้นไป โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อส่งเสริมการแบ่งปันความรู้และแนวทางปฏิบัติด้านการสอนแบบเพื่อนถึงเพื่อนของเด็กในวัยเดียวกัน
สำนักงาน ECDA กล่าวว่า โครงการชุมชนการเรียนรู้ปฐมวัย (ECLC) ข้างต้น ยังจะเปิดทางให้นักการศึกษาที่มีผลงานโดดเด่นได้รับการโอกาสตำแหน่งและโอกาสเลื่อนขั้นสู่การเป็นผู้นำหลักสูตรและการสอนในอนาคต ซึ่งโครงการ ECLC นี้ จะครอบคลุมการศึกษาใน 4 ด้านหลัก ๆ คือ หนึ่ง ขีดความสามารถในช่วงปีแรก (Early Years Competencies), สอง การเรียนรู้กลางแจ้ง (Outdoor Learning), สาม การพัฒนาทางสังคมและอารมณ์ (Social and Emotional Development) และ สี่ ภาษาและการอ่านออกเขียนได้ (Language and Literacy)
ยิ่งไปกว่านั้น บรรดาสมาชิกหลักของชุมชนที่เป็นผู้นำการแบ่งปันแบบเพื่อนและการเรียนรู้เพื่อแลกเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติการสอนที่ดีที่สุดในหมู่นักการศึกษาจะสามารถเข้าถึงโปรแกรมการพัฒนาวิชาชีพที่ได้รับทุนเต็มจำนวนและทุนพัฒนาวิชาชีพในปีที่ 2 ของการปฎิบัติหน้าที่
พร้อมกันนี้ ทางหน่วยงานต้นสังกัดยังจะจัดให้มีกองทุนบรรเทาทุกข์ประจำปีแก่นายจ้างเพื่อชดใช้ค่าใช้จ่ายในการบรรเทาทุกข์ด้านกำลังคน ( manpower relief fund )
ขณะที่ ทาง ECDA กำลังจะทบทวนกรอบการพัฒนาเด็กปฐมวัย (Early Years) สำหรับนักการศึกษาในกลุ่มเด็กอายุไม่เกิน 3 ขวบ เพื่อทบทวนและรวบรวมประเด็นใหม่ ๆ เช่น การเรียนรู้ภาษาแม่ และการสร้างสภาพแวดล้อมในห้องเรียนที่ครอบคลุมทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างทั่วถึงเท่าเทียม
ทั้งนี้ ในเบื้องต้นทางกระทรวง MSF ประเมินว่า งบประมาณใช้จ่ายประจำปีของรัฐบาลสิงคโปร์ในส่วนที่กี่ยวข้องกับการสนับสนุนส่งเสริมเด็กปฐมว่า น่าจะเพิ่มขึ้นมากกว่าเท่าตัวในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า จากจำนวนเดินซึ่งอยู่ที่ประมาณ 1,000 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์เมื่อปี 2018
ที่มา : KidSTART programme for children of lower-income families to expand nationwide