รัฐบาลสก็อตแลนด์เร่งหาแนวทางป้องกันเด็กนักเรียนในพื้นที่หลุดออกจากระบบการศึกษา โดยเฉพาะ เด็กโตในระดับวิทยาลัยขึ้นไป หลังพบว่าจำนวนเด็กนักเรียนในระดับดังกล่าวยื่นเรื่องขอระงับการเรียน หรือตัดสินใจเลิกเรียนกลางคันเพิ่มมากขึ้น โดยมีสาเหตุหลัก ๆ มาจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่นอกจากจะทำให้ผู้เรียนประสบปัญหาความไม่พร้อมด้านการเงินแล้ว การเรียนออนไลน์ยังทำให้การเรียนในสาขาที่นักเรียนสนใจกลายเป็นเรื่องยุ่งยาก หรืออุปสรรคต่อชีวิตความเป็นอยู่มากขึ้น
สถานีโทรทัศน์บีบีซีรายงานว่า รัฐบาลท้องถิ่นสก็อตแลนด์ขณะนี้กำลังเผชิญปัญหาร้ายแรงในด้านระบบการศึกษา หลังมีรายงานว่า จำนวนเด็กนักเรียนในระดับมหาวิทยาลัยยื่นเรื่องขอเลิกเรียนกลางคันเพิ่มมากขึ้นในช่วงกว่า 2 ปีที่มีการระบาดใหญ่ของไวรัสโควิด-19 ที่ผ่านมา
การศึกษาฉบับล่าสุดนี้จัดทำขึ้นโดยมีเป้าหมายเพื่อค้นหาอันตรายที่ไวรัสโควิด-19 มีต่อนักเรียนและเจ้าหน้าที่ด้านการศึกษาในระดับวิทยาลัยและอุดมศึกษา ซึ่งนอกจากพบว่าจำนวนเด็กเลิกเรียนกลางคันจะเพิ่มขึ้นแล้ว แนวโน้มที่เด็กนักเรียนจะออกจากโรรงเรียน หรือเลิกเรียนยังมีเพิ่มขึ้นอีก ยืนยันได้จากตัวเลขของผู้ที่ลงทะเบียนเรียนในวิทยาลัยในปีการศึกษาที่จะถึงนี้ลดลงมากอย่างมีนัยยะสำคัญ
แม้ว่าในปีการศึกษาที่ผ่านมา คือระหว่างปี 2020-2021 ทางวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยในสก็อตแลนด์จะใช้แนวทางการเรียนออนไลน์สลับกับการเรียนที่ห้องเรียน กระนั้น นักเรียนส่วนใหญ่ หรือแม้แต่ครูผู้สอนเองก็ยอมรับว่า การเรียนการสอนไม่คืบหน้าและราบรื่นเท่ากับที่เรียนในห้องเรียนตามหลักสูตรปกติทั่วไป
รายงานของรัฐบาลสก็อตแลนด์ที่เผยแพร่ออกมาเมื่อไม่นานมานี้ระบุว่า ประเด็นหลักที่ศึกษาอย่างจริงจังก็คือ “อันตรายทางอ้อมของการระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยพบว่า แม้ในช่วงปีการศึกษา 2021 – 2022 จะเผชิญกับการระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ไม่รุนแรงเท่ากับปีก่อนหน้า กระนั้น การที่โรงเรียนและมหาวิทยาลัยไม่สามารถเปิดสอนได้เต็มเวลาก็ยังส่งผลกระทบต่อผู้เรียนในวงกว้างอย่างต่อเนื่อ เนื่องจากส่วนใหญ่ยังคงหวั่นใจและไม่แน่ใจเกี่ยวกับสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19
สำหรับกลุ่มเป้าหมายหลักของการศึกษาครั้งนี้ รัฐบาลสก็อตแลนด์ให้ความสนใจกับ 3 กลุ่มหลัก คือ ระดับอุดมศึกษา ระดับศึกษาต่อหลังจบหลักสูตรภาคบังคับ และหลักสูตรสำหรับคนทั่วไปที่จะเรียนรู้และพัฒนาชุมชนในสก็อกตแลนด์
ทั้งนี้ ในการมุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายไปที่ระดับวิทยาลัยขึ้นไป รายงานพบว่าจำนวนนักศึกษาที่ออกจากหลักสูตรเพิ่มจำนวนขึ้น ขณะที่อัตราการออกกลางคันก็เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเช่น ส่วนผู้เข้าเรียนในภาคการศึกษาใหม่ที่เริ่มเมื่อเดือนมกราคม 2022 ก็ลดจำนวนลงจนกลายเป็นอีกหนึ่งกลุ่มเสี่ยง
สำหรับสาเหตุส่วนใหญ่ของเด็กที่ตัดสินใจเลิกเรียนกลางคัน ที่เผยแพร่ล่าสุดเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา พบว่า สัดส่วนของผู้ลาออกจากโรงเรียนในมหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัยเพิ่มขึ้นจาก 44.2% ในปี 2019-20 เป็น 45.1% ในปี 2020-21
ขณะดียวกัน สัดส่วนของนักเรียนที่ออกจากโรงเรียน แล้วตัดสินใจเรียนต่อก็ลดลงจาก 8.1% เป็น 23.3% เนื่องจากหลักสูตรของทางมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยส่วนใหญ่ยังจำเป็นต้องบังคับใช้มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม ขณะที่สัดส่วนของผู้ออกจากโรงเรียนที่ว่างงานลดลงจาก 6.0% เป็น 4.2% เป็นผลจากตลาดงานในห้วงเวลานี้มีตำแหน่งงานที่ไม่ต้องใช้ทักษะขั้นสูงจำนวนมาก
โชนา สตรัทเธอร์ส หัวหน้าผู้บริหารของ Colleges Scotland กล่าวว่านักศึกษาจำนวนมากทำงานอย่างหนักอย่างไม่น่าเชื่อนับตั้งแต่ที่ต้องปิดสถาบันการศึกษาในปี 2020 เพื่อให้ตนเองมีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับเส้นทางที่ตนเองเลือกในอนาคตท่ามกลางสถานการณ์ที่ยากลำบากบางอย่างยิ่ง
เพราะสถาบันการศึกษาในระดับวิทยาลัยและอุดมศึกษาไม่เคยเผชิญหน้ากับภาวะชะงักงันที่ยาวนานเช่นไวรัสโควิด-19 มาก่อน ดังนั้น ต่อให้หลายสถาบันจะสามารถเร่งพัฒนาโซลูชันที่เป็นนวัตกรรมใหม่อย่างรวดเร็วเพื่อส่งมอบการเรียนรู้ การสอน และการโต้ตอบจากระยะไกล และสามารถรักษาการเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับหลักสูตรเชิงปฏิบัติบางหลักสูตร และสำหรับนักศึกษาพิเศษบางกลุ่มได้ กระนั้น ก็ไม่อาจทดแทนสิ่งที่นักศึกษาเหล่านี้ต้องสูญเสียไปได้
แม้จะมีอุปสรรคมากมาย ทาง สตรัทเธอร์ส หัวหน้าผู้บริหารของ Colleges Scotland ยืนกรานว่า สถาบันการศึกษทั่วสก็อตแลนด์ต่างมุ่งมั่นที่ะจให้ความเหลือผู้เรียนเหล่านี้อย่างเต็มที่
“การเรียนรู้วิธีที่จะเรียนที่บ้านในช่วงเวลากักตัว เป็นความท้าทายที่แท้จริงสำหรับนักเรียน และเจ้าหน้าที่ของวิทยาลัยได้ทุ่มเทอย่างเต็มที่เพื่อมีส่วนร่วมและสนับสนุนผู้เรียน โดยมีตัวอย่างหลายร้อยตัวอย่างจากวิทยาลัยทั้ง 26 แห่งในสกอตแลนด์ซึ่งนักเรียนได้รับการสนับสนุนเป็นรายบุคคล” ตรัทเธอร์ส หัวหน้าผู้บริหารของ Colleges Scotland กล่าว ก่อนเสริมว่า ความช่วยเหลือที่ว่านี้มุ่งเน้นในเรื่องปัญหาสุขภาพจิต ความยากจนทางดิจิทัล (ไม่มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์คอมพิวเตอร์พร้อมใช้งาน) และความยากจนที่แท้จริง ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นปัญหาต่อเนื่องในระยะยาว
สำหรับในส่วนของผลกระทบ นักวิจัยกังวลว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะหยั่งรากลึกนานนับสิบปี โดย อลาสแตร์ ซิม ผู้อำนวยการ Universities Scotland ได้ออกโรงสนับสนุนข้อเสนอของทาง ทีมวิจัยและผู้บริหารของโรงเรียนและวิทยาลัยที่ต้องการให้รัฐให้ความสำคัญกับการศึกษาและสวัสดิการของนักศึกษาเป็นหลักในการตัดสินใจออกโยบายใดๆ เพื่อแก้ไขปัญหา
ทั้งนี้ ในมุมมของของซิม ประเด็นที่ต้องเร่งจัดการมากที่สุดก็คือการจัดห้องเรียนให้สามารถกลับมาทำการสอนได้ตามปกติให้เร็วที่สุด เนื่องจากสิ่งแวดล้อมนอกห้องเรียนส่วนใหญ่ แม้จะเป็นที่บ้านก็ตามที่ ก็ไม่เหมาะที่จะให้นักเรียนนักศึกษาใช้เรียนหนังสือ
“สมาชิกในกลุ่มของเราต่างตระหนักอีกว่าการระบาดของไวรัสโควิด-19 มีแนวโน้มจะส่งผลกระทบต่อผู้ที่มีภูมิหลังยากจนหรือด้อยโอกาสทางสังคม เพราะไม่มีตัวเลือกทั้งในแง่ของสถานที่ เวลา และอุปกรณ์เครื่องมือที่จะเข้าถึงห้องเรียนออนไลน์” ซิมกล่าว
ยิ่งไปกว่านั้น ผลการศึกษาฉบับล่าสุดยังพบว่า ผลกระทบของการปิดโรงเรียนและสถาบันการศึกษายังมีมากกว่าที่เด็กต้องหลุดออกจากระบบการศึกษา เนื่องจากพบว่า นักเรียนราว 80% ยอมรับว่าการระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้เกิดความรู้สึกเชิงลบต่อการเรียน ขณะที่ ราว 74% พบว่าเป็นเรื่องยากที่จะตั้งใจเรียนหนังสือ และมีส่วนร่วมในห้องเรียนอย่างเต็มที่
ซิมกล่าวว่า ผลกระทบในลักษณะข้างต้นถือเป็นอันตราย ไม่เพียงสำหรับนักเรียนนักศึกษาที่กำลังเรียนหนังสืออยู่ในขณะนี้เท่านั้น แต่ยังรวมถึงนักเรียนในระดับมัธยมปลายที่มีแผนจะเรียนต่อระดับอุดมศึกษาในอนาคต เพราะจะฝังรากลึกนานจนกระทบทต่อการตัดสินใจเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยในช่วงทศวรรษข้างหน้า
ด้าน แมท คริลลีย์ ประธานกลุ่ม NUS Scotland กล่าวว่า ภายใต้สถานการณ์ใน ปัจจุบัน นักศึกษาส่วนใหญ่ต่างต้องการแรงสนับสนุนจากผู้ใหญ่ในภาครัฐและเอชนอย่างเต็มที่ และแม้จะเป็นเรื่องดีที่ขณะนี้มีความช่วยเหลือจากรัฐอยู่หลายช่องทาง จะดีกว่านี้มากหากทำให้ความช่วยเหลือที่มีอยู่สามารถเข้าถึงได้ง่ายมากขึ้น
ที่มา : Scotland’s college drop-out rate rises during pandemic