ความเป็นมา
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา จัดตั้งขึ้นตามข้อเสนอของคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา โดยปรากฎในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 54
พ.ร.บ.กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ.2561 ประกาศใช้บังคับเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2561 มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา ช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา รวมทั้งเสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครู โดยให้รัฐเป็นผู้จัดสรรงบประมาณให้กองทุน และมีการบริหารงานที่เป็นอิสระ
อะไรบ้างคือสาเหตุของความเหลื่อมล้ำในการศึกษา
คุณภาพหรือมาตรฐานของสถานศึกษา
คุณภาพหรือประสิทธิภาพของครู
ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม
ความยากจนทำให้เด็กไทยมากกว่า 5 แสนคน
หลุดออกนอกระบบไปแล้ว และอีก 2 ล้านคนมีแนวโน้มไม่ได้เรียนต่อ
5%
4 เท่า
2 แสนล้านบาทต่อปี
ภารกิจ
กสศ. มีภารกิจในการช่วยเหลือดูแลกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ หรือด้อยโอกาสนับตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยแรงงานให้ได้รับโอกาสทางการศึกษา เพื่อบรรเทาความยากจนอันเป็นรากเหง้าของปัญหาอื่นๆ ซึ่งหากแก้ไม่ได้ ปัญหานี้จะส่งทอดวนเวียนไปข้ามชั่วคน จากพ่อแม่ ส่งต่อไปถึงรุ่นลูกรุ่นหลานได้เพราะมีกลุ่มคนที่เข้าไม่ถึงการศึกษา หรือได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพต่างกัน
การทำให้เรื่องนี้สำเร็จได้เป็นรูปธรรม ต้องใช้นโยบายที่มุ่งสร้างความเสมอภาค โดยกสศ. เป็นองค์กรที่มีบทบาทในการพัฒนาตัวแบบ และองค์ความรู้ในเรื่องนี้ เพื่อหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ขยายผล อันจะนำไปสู่ผลลัพธ์เปลี่ยนแปลงชีวิตเด็กและเยาวชนได้อย่างเป็นรูปธรรม
- สร้างเสริมองค์ความรู้และบริการจัดการเชิงระบบเพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา
- ลงทุนโดยใช้ความรู้นำ เพื่อช่วยเหลือและสร้างคุณค่าเพิ่มแก่กลุ่มเป้าหมาย
- ระดมการมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์จากทุกภาคส่วน
- เสนอแนะมาตรการเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย
วิสัยทัศน์
เด็ก เยาวชน และประชาชน ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาสทุกคน
สามารถเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ
พันธกิจ
เหนี่ยวนำทุกภาคส่วน ร่วมขับเคลื่อนการส่งเสริมโอกาสทางการศึกษา
เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และเพื่อพัฒนาคุณภาพครู
กลุ่มเป้าหมายในการทำงานของ กสศ.
ผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และเข้าไม่ถึงโอกาสทางการศึกษา 4.3 ล้านคน
การดำเนินงานใน 3 ปีแรก (พ.ศ.2562 – 2564) มุ่งส่งเสริมให้ผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ สามารถเข้าถึงการศึกษาที่สอดคล้องกับความจำเป็นรายบุคคลตามศักยภาพในทุกกลุ่มเป้าหมาย ควบคู่กับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนและหน่วยจัดการเรียนรู้
กลุ่มเด็กแรกเกิด – 3 ปี
กลุ่มเด็กอนุบาล
กลุ่มนักเรียนประถม-มัธยมต้น
กลุ่มนักเรียนมัธยมปลาย / ปวช.
เด็กและเยาวชน
ที่อยู่นอกระบบการศึกษา
กลุ่มเยาวชนอายุ 18 ปีขึ้นไป
หรือแรงงานรุ่นใหม่
ครูที่สอนเด็ก
เยาวชนด้อยโอกาส
ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
บรรเทาได้ด้วยแนวทางเสมอภาค
ความเสมอภาค (Equity) แตกต่างกับความเท่าเทียม (Equality) เพราะเด็กแต่ละคนมีความจำเป็นและโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาไม่เท่ากัน โดยความยากจนทำให้เด็กไทยราว 5 แสนคน หลุดออกนอกระบบไปแล้ว และอีก 2 ล้านคนมีแนวโน้มขาดโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพ ปัญหานี้สำคัญเกิดจากครอบครัวของเด็กต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาสูงมากเมื่อเทียบกับรายได้ สูงกว่าครอบครัวร่ำรวยถึง 4 เท่า (ข้อมูลจากบัญชีรายจ่ายด้านการศึกษาแห่งชาติ2551-2559)
จากปัญหานี้ ความเท่าเทียมในการจัดสรรทรัพยากรเพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาจึงไม่อาจเพียงพอ เช่น นักเรียนที่มีฐานะแตกต่างกัน แต่ได้รับเงินอุดหนุนช่วยเหลือจำนวนเท่าๆกัน โดยไม่คำนึงถึงความจำเป็นที่แตกต่างกัน ขณะที่การช่วยเหลือตามหลักความเสมอภาคเป็นการให้ตามข้อมูลความจำเป็นสาเหตุความเหลื่อมล้ำยังสืบเนื่องจากความแตกต่างของคุณภาพหรือมาตรฐานของสถานศึกษา คุณภาพหรือประสิทธิภาพของครู หรือฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม