EEF x WB Partnership Framework and Policy Forum: Power of Skills
ความเป็นมา
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ.2561 มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครู และตามที่ระบุไว้ในมาตรา 5 (5) ส่งเสริม สนับสนุน และให้ความช่วยเหลือสถานศึกษา เพื่อให้มีการเรียนการสอนที่ทำให้ผู้เรียนสามารถรู้และพัฒนาได้ตามความถนัดและศักยภาพของตน นอกจากนี้การดำเนินงานในโครงการนี้ยังเป็นการดำเนินงานตามภารกิจที่ระบุในมาตรา 5 (7) ด้านการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสนับสนุนการนำองค์ความรู้ดังกล่าวไปใช้เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา สนองความต้องการทางด้านกำลังแรงงานของประเทศ
กสศ. ได้มีความร่วมมือทางวิชาการกับธนาคารโลกอย่างต่อเนื่อง โดยได้ดำเนินโครงการวิจัยมาตรฐานคุณภาพโรงเรียน (Fundamental School Quality Levels: FSQL) เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร และโครงการวิจัยสำรวจทักษะและความพร้อมของกลุ่มประชากรวัยแรงงานของประเทศไทย (Adult Skills Assessment in Thailand) เพื่อวิจัยสำรวจทักษะและความพร้อมของเยาวชนและประชากรวัยแรงงานระดับจังหวัดและค้นหา พัฒนาแนวทางในการปฏิบัติการเพื่อยกระดับศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ เพื่อให้เกิดความร่วมมือทางวิชาการและการผลักดันข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาที่มีความต่อเนื่องและยั่งยืน รวมถึงการถ่ายโอนความรู้และพัฒนาศักยภาพบุคลากรของ กสศ. และภาคีเครือข่ายในประเทศไทย
เพื่อยกระดับและต่อยอดการทำงานข้างต้น กสศ. และธนาคารโลก จึงได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (Partnership Framework) “โครงการขยายผลสำรวจและพัฒนาทักษะความพร้อมเยาวชนและประชากรวัยแรงงาน” ซึ่งประกอบด้วย (1) การสำรวจทักษะและความพร้อมของเยาวชนและประชากรวัยแรงงานระดับจังหวัด และ (2) การศึกษาและส่งเสริมการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมสำหรับเยาวชนในสถานศึกษาอาชีวศึกษา โดยมีแนวทางการดำเนินงานดังนี้ (1) พัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลเชิงวินิจฉัย (diagnostic tools) เพื่อสนับสนุนการจัดทำนโยบาย (2) ค้นหาและผลักดันมาตรการบนฐานของข้อมูลและงานวิชาการ (evidence-based interventions) เพื่อการพัฒนาการศึกษาและทักษะแรงงาน และ (3) ร่วมสื่อสารและผลักดันข้อเสนอเชิงนโยบายและนวัตกรรมต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
วัตถุประสงค์
- เพื่อลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) กับธนาคารโลกเพื่อลดความเหลื่อมล้ำของสถานศึกษาและการพัฒนาขีดความสามารถของเยาวชนและแรงงานไทย
- เพื่อสร้างความเข้าใจในยุทธศาสตร์และความท้าท้ายใหม่กับการพัฒนาเยาวชนและประชากรวัยแรงงาน
- เพื่อแลกเปลี่ยนให้ความสำคัญกับบทบาทของทักษะและการเรียนรู้ที่มีความจำเป็นเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมจากภาคีเครือข่ายภาคนโยบาย ภาควิชาการ และ ภาคเอกชน
รายละเอียดเวที
- ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ Partnership Framework
- กล่าวรายงานและปาฐกถาโครงการความร่วมมือ กสศ. และ ธนาคารโลก
- นำเสนอ “กรณีศึกษาโครงการสำรวจทักษะพื้นฐานของทุนมนุษย์จากประเทศแคนาดา และแนวปฏิบัติระดับนานาชาติ”
- เสวนาแลกเปลี่ยน “ทักษะพื้นฐานของทุนมนุษย์ในเยาวชนและประชากรวัยแรงงานแห่งโลกยุคใหม่”
รูปแบบการประชุม
เป็นการประชุมรูปแบบผสม (Hybrid) โดยเชิญผู้เข้าร่วมแบบ onsite จำนวน 50 คน และผู้เข้าร่วมรับชมผ่านช่องทาง online จำนวน 200-300 คน
กลุ่มเป้าหมาย
- หน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ และสื่อสารมวลชน ที่ทำงานด้านการลดความเหลื่อมล้ำของสถานศึกษาและการพัฒนาขีดความสามารถของเยาวชนและแรงงานไทย
- ตัวแทนหน่วยงานภาคีภาคท้องถิ่นและจังหวัด
เวลาและสถานที่
วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม 2566 เวลา 13.00 – 16.30 น.
สถานที่ : โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น
ออนไลน์ : ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถเข้าร่วมผ่านระบบ Zoom คลิก
กำหนดการประชุม
เวลา | รายละเอียด |
11.00 – 13.00 น. | รับประทานอาหารกลางวัน |
13.00 – 13.30 น. | ลงทะเบียน |
13.30 – 13.50 น. | กล่าวรายงาน โดย ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ดร. ฟาบริซิโอ ซาร์โคเน ผู้จัดการประจำประเทศไทย ธนาคารโลก |
13.50 – 14.05 น. | ปาฐกถา โดย ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประธานกรรมการบริหารกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา |
14.05 – 14.15 น. | พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ • ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา • นายพัฒนะพงษ์ สุขมะดัน ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา • ดร.ฟาบริซิโอ ซาร์โคเน ผู้จัดการประจำประเทศไทย ธนาคารโลก • คุณคริสเตียน ไอโด ผู้จัดการด้านการศึกษา เอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ธนาคารโลก |
14.15 – 14.20 น. | ถ่ายภาพ |
14.20 – 14.35 น. | พักทานอาหารว่าง |
14.35 – 15.05 น. | นำเสนอ “กรณีศึกษาโครงการสำรวจทักษะพื้นฐานของทุนมนุษย์จากประเทศแคนาดา และแนวปฏิบัติระดับนานาชาติ” • คุณคริสเตียน ไอโด ผู้จัดการด้านการศึกษา เอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ธนาคารโลก • Mr. Scott Murray, Director General, Social and Institutional Statistics, Statistics Canada and Director of Learning Outcomes, UNESCO, and President of DataAngel • Ms. Jennifer Adams, former Director of Education, Ottawa-Carleton District School Board and Editor in Chief, Knowledgehook Signature Leadership Series |
15.05 – 16.15 น. | เสวนา “ทักษะพื้นฐานของทุนมนุษย์ในเยาวชนและประชากรวัยแรงงานแห่งโลกยุคใหม่” • รศ.ดร.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร • คุณสิทธิชัย สุดสวาท ผู้อำนวยการกองแผนงานและสารสนเทศ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน • ดร.ชาติชาย นรเศรษฐาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด • คุณอัษฎากรณ์ ฉัตรานันท์ เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา ผู้นำเสวนา: นายสันติพงษ์ ช้างเผือก |
16.15 – 16.30 น. | ปิดการประชุม โดย ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา |