ประกาศสนับสนุนทุน ตั้งแต่วันนี้ – 30 เมษายน 2566
และสามารถยื่นข้อเสนอผ่านระบบออนไลน์ www.eef.or.th
ได้ตั้งแต่วันที่ 11– 30 เมษายน 2566 ปิดรับภายในเวลา 16.30 น.
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ขอเชิญชวนองค์กรชุมชน มูลนิธิ องค์กรสาธารณประโยชน์ กิจการเพื่อสังคม หน่วยงาน สถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและภาคเอกชน (หน่วยเสนอโครงการ) ที่มีแนวคิดมุ่งเน้นพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับเยาวชนนอกระบบการศึกษา ได้อย่างสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของกลุ่มเป้าหมาย ให้มีทักษะที่สำคัญในการดำรงชีวิตและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ร่วมยื่นข้อเสนอโครงการพัฒนาการเรียนรู้สำหรับเยาวชนนอกระบบการศึกษา ปี 2566
กรอบแนวคิด
การค้นหารูปแบบ และสร้างกระบวนการทางสังคมขึ้นใหม่ เพื่อนำไปสู่การจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมสำหรับเยาวชนนอกระบบการศึกษา ได้ค้นพบศักยภาพตนเอง พึ่งพาตนเองได้ และยกระดับการทำงานเชิงระบบ โดยทำงานร่วมกันในลักษณะภาคีเครือข่ายในพื้นที่ ระหว่างภาครัฐ ภาคท้องถิ่น ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ และภาคเอกชน เน้นการใช้หน่วยจัดการเรียนรู้ เป็นจุดคานงัดสำคัญในการสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โดยเพิ่มขีดความสามารถหน่วยจัดการเรียนรู้ให้มีศักยภาพในการจัดกระบวน การเรียนรู้ที่ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายและพัฒนาทักษะที่สำคัญในการดำรงชีวิต เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการเรียนรู้และมีการพัฒนาตนเอง นำไปสู่การดำรงชีวิตอิสระตามความต้องการ สามารถพึ่งตนเองและจัดการตนเองได้ ตลอดจนเลื่อนสถานะทางความคิดและความรู้ไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในระยะยาว
รูปแบบการสนับสนุนทุน
เปิดรับข้อเสนอโครงการที่ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกระบวนการเรียนรู้สำหรับเยาวชนนอกระบบการศึกษา โดยพัฒนาวิธีการ รูปแบบ และนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างขีดความสามารถของเยาวชนนอกระบบการศึกษาให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ และนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตลอดจนส่งเสริม/สนับสนุนให้เกิดระบบนิเวศที่เอื้อให้เกิดการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ โดยมีรูปแบบการดำเนินงานดังนี้
ก. หน่วยเสนอโครงการต้องทำหน้าที่เป็นหน่วยจัดการเรียนรู้ ดังนี้
- ค้นหากลุ่มเป้าหมายเยาวชนนอกระบบการศึกษาเชิงรุก วิเคราะห์ข้อมูลสภาพปัญหาความต้องการ และศักยภาพที่จำเป็นในการพัฒนากลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งนำไปสู่การออกแบบการจัดการเรียนรู้ได้อย่างสอดคล้องและเหมาะสมกับวิถีชีวิตของกลุ่มเป้าหมาย
- จัดกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์สำหรับเยาวชนนอกระบบการศึกษา โดยคำนึงบริบทพื้นที่ สภาพปัญหา ความต้องการ และศักยภาพของกลุ่มเป้าหมาย
- เป็นหน่วยนำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) ในพื้นที่ โดยทำหน้าที่เปิดพื้นที่การเรียนรู้ ประสานและเชื่อมโยงทรัพยากร จัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และจัดการความรู้จากการปฏิบัติการสู่เปลี่ยนแปลงหรือสามารถแก้ไขปัญหาในพื้นที่ได้ เพื่อพัฒนาศักยภาพของเยาวชนนอกระบบการศึกษาให้มีทักษะสำคัญในการดำรงชีวิต ทั้งทักษะชีวิต ทักษะวิชาการ และทักษะวิชาชีพ โดยดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่และนอกพื้นที่ รวมถึง การวิเคราะห์และสังเคราะห์ผลการดำเนินงาน
ข. หน่วยจัดการเรียนรู้ข้างต้นมีโจทย์การทำงานและเป้าหมายการดำเนินงาน ดังนี้
โจทย์การทำงาน | เป้าหมายการดำเนินงาน |
1) พัฒนาคณะทำงาน/แกนนำในพื้นที่ดำเนินงาน ให้มีศักยภาพในการทำงานกับเยาวชนนอกระบบ และเป็นกลไกทำงานในพื้นที่ได้ในระยะยาว | 1) รูปแบบ/กลไกในการค้นหาและเข้าถึงเยาวชนนอกระบบการศึกษา ที่เหมาะสมกับบริบทของแต่ละพื้นที่ |
2) ค้นหาและเข้าถึงเยาวชนนอกระบบการศึกษา รวมทั้งวิเคราะห์สภาพปัญหา ความต้องการ และศักยภาพในการพัฒนากลุ่มเป้าหมาย | 2) หน่วยจัดการเรียนรู้ค้นพบเยาวชนนอกระบบการศึกษา จำนวน 20-50 คน ในระดับชุมชนหรือตำบล และมีข้อมูลรายบุคคลเพื่อใช้ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่สอดคลัองกับความต้องการและศักยภาพ |
3) สร้างพื้นที่ปลอดภัยและพื้นที่การเรียนรู้โดยร่วมกับครอบครัวและชุมชน เพื่อประสาน เชื่อมโยงทรัพยากร และจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ | 3) หน่วยจัดการเรียนรู้สร้างความไว้วางใจให้เยาวชนนอกระบบการศึกษา และคนในชุมชนมีทัศนคติ ที่ดีต่อเยาวชนนอกระบบการศึกษา โดยมีพี่เลี้ยง เช่น ครู พ่อแม่ คนในชุมชน ผู้ดูแลเยาวชน เป็นต้น ทำหน้าที่ให้คำปรึกษา และทำงานร่วมกับภาคส่วนต่างๆ ในพื้นที่ |
4) จัดกระบวนการเรียนรู้ ที่สอดคล้องกับความต้องการและเงื่อนไขในชีวิต เน้นการเรียนรู้ผ่าน การปฏิบัติ (ทักษะชีวิต ทักษะวิชาการ ทักษะอาชีพ) ผ่านการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม | 4) เยาวชนนอกระบบการศึกษามีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เห็นคุณค่าในตัวเอง (self esteem) หรือ มุมมองเชิงบวกต่อตนเอง (self concept) รวมทั้ง มีภูมิคุ้มกันจากปัจจัยเสี่ยง มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ สามารถปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงของสังคม และแก้ไขปัญหาชีวิตได้ 5) เยาวชนนอกระบบการศึกษามีทางเลือก ในการเข้าถึงการศึกษา และ/หรือ มีความพร้อม ในการประกอบอาชีพ |
5) จัดทำแผนการดูแลกลุ่มเป้าหมายรายกรณี และสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพ / ฟื้นฟู เยียวยา / ส่งต่อความช่วยเหลือ รวมทั้งติดตามผลการดำเนินงาน | 6) หน่วยจัดการเรียนรู้มีแผนการดูแลรายกรณี/ รายกลุ่ม และสามารถทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่และนอกพื้นที่ เพื่อพัฒนาศักยภาพและยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่เยาวชนนอกระบบการศึกษา |
6) พัฒนาระบบหรือมาตรการ เพื่อยกระดับการจัดการเรียนรู้สำหรับเยาวชนนอกระบบการศึกษา ตัวอย่างเช่น (1) ระบบดูแลและส่งต่อความช่วยเหลือเยาวชนนอกระบบการศึกษา โดยความร่วมมือของภาคีเครือข่ายในพื้นที่และนอกพื้นที่ (2) ระบบเทียบโอนประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อสะสมความรู้และเชื่อมต่อกับการศึกษาในระบบต่างๆ เช่น ธนาคารหน่วยกิต (credit bank) การเทียบโอนการเรียนรู้ระหว่างในระบบและนอกระบบการศึกษา การเทียบโอนประสบการณ์จากอาชีพ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐด้านการศึกษา (education card) เป็นต้น (3) การจัดชุดสวัสดิการที่เหมาะสมกับความต้องการของเยาวชนนอกระบบการศึกษาโดยเชื่อมโยงสวัสดิการที่มีอยู่ของหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ เช่น กลุ่มแม่วัยใส กลุ่มคนพิการ (4) อื่นๆ | 7) ชุมชนหรือท้องถิ่นมีระบบ/กลไก/มาตรการ เพื่อจัดการเรียนรู้และส่งต่อความช่วยเหลือเยาวชนนอกระบบการศึกษาในพื้นที่ 8) แนวทางการดำเนินงานและตัวแบบระบบเทียบโอนประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเยาวชน นอกระบบการศึกษาที่หลากหลาย สอดคล้องกับเงื่อนไขชีวิต และนำไปสู่การสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิต 9) ชุดสวัสดิการที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของเยาวชนนอกระบบการศึกษา แต่ละกลุ่ม เช่น กลุ่มแม่วัยใส กลุ่มคนพิการ เป็นต้น |
กลุ่มเป้าหมาย เป็นกลุ่มเยาวชนนอกระบบการศึกษาที่มีคุณสมบัติ ตามเอกสารแนบท้ายประกาศ 2 โดยหน่วยเสนอโครงการต้องระบุจำนวนกลุ่มเป้าหมายที่จะดำเนินการในพื้นที่/ชุมชนอย่างน้อยตั้งแต่ 20 คน แต่ไม่เกิน 50 คน ตามศักยภาพและความเหมาะสม กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ ควรเป็นเยาวชนนอกระบบการศึกษากลุ่มใหม่ที่หน่วยเสนอโครงการยังไม่เคยทำงานด้วย โดยมีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด เพื่อเป็นการขยายโอกาสและสร้างโอกาสทางการศึกษาร่วมกัน
พื้นที่ดำเนินงาน ระดับหมู่บ้าน ตำบล เทศบาล และพื้นที่การเรียนรู้ (สามารถระบุได้มากกว่า 1 พื้นที่แต่ไม่เกิน 4 พื้นที่) และมีการทำงานในลักษณะพันธมิตรและการมีส่วนร่วมของหน่วยงานเจ้าของพื้นที่
การดำเนินงานและระยะเวลา
- สนับสนุนการดำเนินงานโครงการไม่เกิน 1,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาท)
- ระยะเวลาดำเนินโครงการไม่เกิน 12 เดือน
- เริ่มดำเนินโครงการตั้งแต่มิถุนายน 2566
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
- ประกาศทุนพัฒนาเยาวชนนอกระบบการศึกษาปี 2566 PDF
- แบบข้อเสนอโครงการพัฒนาการเรียนรู้สำหรับเยาวชนนอกระบบการศึกษาปี 2566 PDF WORD
- ประวัติส่วนตัวผู้รับผิดชอบและคณะทำงานปี 2566 PDF WORD
- แบบฟอร์มรายชื่อกลุ่มเป้าหมายปี 2566 PDF WORD
- รายละเอียดคุณสมบัติกลุ่มเป้าหมาย PDF WORD
- กรอบงบประมาณโครงการปี 2566 PDF
- หนังสือโครงการพัฒนาการเรียนรู้สำหรับเยาวชนนอกระบบการศึกษาปี 2566
วิธีการเสนอโครงการ
ยื่นแบบผ่านระบบออนไลน์ที่เว็บไซต์ www.EEF.or.th หรือ https://application.eef.or.th ตั้งแต่วันที่ 11– 30 เมษายน 2566 ภายในเวลา 16.30 น. และศึกษารายละเอียดประกาศได้ที่เว็บไซต์ กสศ.
ช่องทางการติดต่อ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
สำนักพัฒนานวัตกรรมเพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทรศัพท์ 02 079 5475 กด 3 และ
เบอร์มือถือ 06 5969 1354 ในวันและเวลาราชการ
อีเมล์ Community@EEF.or.th
www.EEF.or.th
เพจ Facebook : ทุนส่งเสริมโอกาสการเรียนรู้ที่ใช้ชุมชมเป็นฐาน