การจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ หรือ ABE (Area-based Education) เป็นจุดเริ่มต้นของการแสดงความตั้งใจในการทำงานจากพื้นที่เล็ก ๆ ด้วยความพร้อมและต้นทุนที่มี เพื่อให้เด็กเยาวชนทุกคนไม่เพียงเข้าถึงโอกาสการเรียนรู้จนจบการศึกษาภาคบังคับ แต่คือการผลักดันให้ทรัพยากรมนุษย์ทุกกลุ่ม ได้มีลู่ทางพัฒนาไปถึงศักยภาพสูงสุดของตนเอง
‘กสศ.’ รวมพลังความร่วมมือจังหวัดและกลไกการทำงาน ‘พัฒนาตัวแบบการบริหารจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา’ โดยที่ภาคส่วนต่าง ๆ และประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมเป็น ‘เจ้าของปัญหา’ และ ‘บริหารจัดการศึกษา’ ร่วมกันในรูปแบบกลไกการทำงานระดับพื้นที่ โดยมี 4 องค์ประกอบสำคัญ คือ
1.กลไกบูรณาการความร่วมมือจากทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม
2.เชื่อมโยงฐานข้อมูลเด็กเยาวชนคนด้อยโอกาสของพื้นที่ให้เป็นหนึ่งเดียว
3.แผนจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ที่สามารถขับเคลื่อนต่อไปในระยะยาว
4.พัฒนานวัตกรรมจัดการศึกษาหรือดูแลกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่อย่างเป็นระบ
ABE The Series ‘ตัวแบบจัดการศึกษาเชิงพื้นที่’ ลดความเหลื่อมล้ำ กสศ. ขอชวนทุกท่านร่วมสำรวจความพร้อมและการทำงานที่เริ่มต้นไปแล้วของพื้นที่นำร่อง ‘จังหวัดจัดการตนเอง’ ว่าในแต่ละท้องถิ่นมีโจทย์ตั้งต้น เครื่องมือ วิธีการจัดการ และมีแนวทางการระดมทรัพยากรอย่างไร
อ่านฉบับเต็ม ‘ระยอง’ สร้าง ‘ระเบียงเรียนรู้ตะวันออก’ ด้วยพลังคนในพื้นที่ ABE The Series ‘ตัวแบบจัดการศึกษาเชิงพื้นที่’ ลดความเหลื่อมล้ำ EP.4