รายได้เฉลี่ยครัวเรือนของนักเรียนยากจนพิเศษ เปรียบเทียบตั้งแต่ปี 2562-2566

รายได้เฉลี่ยครัวเรือนของนักเรียนยากจนพิเศษ เปรียบเทียบตั้งแต่ปี 2562-2566

ปี 2566 หลังจากสถานการณ์โควิด-19 เศรษฐกิจของประเทศไทยยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ สถานการณ์เงินเฟ้อยังอยู่ในระดับสูง เป็นตัวเร่งให้สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษารุนแรงขึ้น โดยเฉพาะค่าครองชีพที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา เช่น ค่าเดินทาง ค่าอาหาร เด็กและเยาวชนจากครัวเรือนเปราะบางได้รับผลกระทบหนักที่สุด เนื่องจากมีปัญหาความยากจนหรือด้อยโอกาสในมิติต่างๆ เป็นทุนเดิม

รายได้ของครัวเรือนยากจนและยากจนพิเศษที่มีบุตรหลานอยู่ในระบบการศึกษามีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง จากเดิม 1,250 บาทต่อเดือน 4 ปีผ่านไป ปี 2566 ลดลงเหลือ 1,039 บาทต่อเดือนหรือวันละ 34 บาท หรือลดลงราว 5% ซึ่งน้อยกว่าเกณฑ์ความยากจนระดับนานาชาติที่ 2.15 ดอลลาร์ต่อวันหรือวันละประมาณ 80 บาท
.
เมื่อพิจารณาแหล่งรายได้ของครัวเรือนนักเรียนยากจนพิเศษในปี 2566 พบว่าเป็นการพึ่งพิงรายได้จากสวัสดิการรัฐและเอกชนเป็นแหล่งรายได้หลัก หรือ 58.3% ของแหล่งรายได้ทั้งหมด สะท้อนถึงศักยภาพในการหารายได้ที่ค่อนข้างจำกัด
.
เมื่อสถานการณ์รายได้ของครัวเรือนนักเรียนยากจนพิเศษอยู่ในระดับที่แย่ลง จึงเสี่ยงที่จะมีทุนทรัพย์ไม่เพียงพอในการส่งเสริมการเรียนของบุตรหลาน และอาจกระทบต่อสุขภาวะในด้านต่างๆ รวมถึงโอกาสในการเข้าถึงการฟื้นฟูการเรียนรู้ที่เหมาะสม
.
จำนวนครัวเรือนที่อยู่ในเกณฑ์ยากจนพิเศษที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากผลกระทบทางเศรษฐกิจ ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญในการหลุดออกจากระบบการศึกษาของเด็กและเยาวชนที่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
.
.
ผลงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการนำเสนอในงาน Equity Forum 2023 “ทุนมนุษย์เพื่อยุติความเหลื่อมล้ำ”

ดาวน์โหลดเพิ่มเติม