ตามรอยเส้นทางการศึกษา นักเรียนยากจน-ยากจนพิเศษ จากรั้วโรงเรียนสู่มหาวิทยาลัย

ตามรอยเส้นทางการศึกษา นักเรียนยากจน-ยากจนพิเศษ จากรั้วโรงเรียนสู่มหาวิทยาลัย

กสศ. รายงานสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาปี 2566 พบว่า
https://www.eef.or.th/publication-28816/
.
การเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยคือก้าวใหญ่ที่ทำให้เด็กและครอบครัวหลุดพ้นจากความยากจนได้ ความเหลื่อมล้ำในระดับอุดมศึกษาระหว่างเด็กที่มีฐานะร่ำรวยและเด็กที่มีฐานะยากจนยังเป็นโจทย์ท้าทายที่ทุกฝ่ายต้องร่วมกันแก้ไข
.
จากการติดตามข้อมูลนักเรียนจากครัวเรือนยากจนและยากจนพิเศษซึ่งศึกษาอยู่ในระดับ ม.3 เมื่อปีการศึกษา 2562 ที่เข้าศึกษาต่อระดับ ม.4 หรือเทียบเท่าในปีการศึกษา 2563 มีข้อค้นพบดังนี้
.
‘ช่วงชั้นรอยต่อ’ เป็นช่วงเวลาวิกฤตที่เด็กและเยาวชนหลุดออกจากระบบมากที่สุด เพราะจำเป็นต้องย้ายสถานศึกษาในช่วงเปิดเทอมและต้องแบกรับค่าใช้จ่ายจำนวนมาก เช่น ค่าธรรมเนียมการสมัครเรียน ค่าเดินทางมาสมัครเรียน หรือการเตรียมความพร้อมในการเรียนต่อ
.
ยิ่งการศึกษาระดับสูง โอกาสที่เด็กและเยาวชนกลุ่มนี้จะได้เรียนต่อก็น้อยลงเรื่อยๆ เห็นได้จากนักเรียนชั้น ม.3 ในรุ่นเดียวกันเมื่อปีการศึกษา 2562 มีโอกาสเรียนจนถึงระดับมหาวิทยาลัยในปี 2566 เพียง 21,921 คนหรือ 12.46% เท่านั้น
.
.
“ไม่ว่าลูกของใคร จะเกิดมาในครอบครัวยากดีมีจน เขาควรต้องได้เรียนจนสุดความสามารถ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องฐานะครอบครัว เมื่อเห็นข้อมูลแล้วว่าเด็กที่ยืนยันสิทธิในระบบ TCAS เรียนสาขาใด กสศ. จะแบ่งปันข้อมูลดังกล่าวให้ กยศ. ซึ่งอาจนำไปสู่การสนับสนุนลดเงินต้นหรือการสนับสนุนในรูปแบบต่างๆ แก่เด็กที่เลือกเรียนในบางสาขา หรือการมีระบบอาสาสมัครให้เด็กกลับไปแนะแนวที่โรงเรียน เพิ่มโอกาสให้รุ่นน้องและสร้างเครือข่ายต่อไป”
-ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
.
.
ผลงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการนำเสนอในงาน Equity Forum 2023 “ทุนมนุษย์เพื่อยุติความเหลื่อมล้ำ”

ดาวน์โหลดเพิ่มเติม