กสศ. ชวนดูสถิติน่าสนใจจากแนวโน้มการศึกษาต่อปีการศึกษา 2566

กสศ. ชวนดูสถิติน่าสนใจจากแนวโน้มการศึกษาต่อปีการศึกษา 2566

ปิดเทอมใหญ่ เป็นช่วงที่ต้องเฝ้าระวังเด็กหลุดออกจากระบบการศึกษามากที่สุด ในปีการศึกษา 2565 ที่ผ่านมา มีนักเรียนทุนเสมอภาคในช่วงชั้นรอยต่อไม่ได้เรียนต่อกว่า 44,555 คน* โดยเป็นเด็ก ๆ ที่ศึกษาในระดับชั้นอนุบาล 3 จำนวน 476 คน ระดับประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 7,526 คน และระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 36,553 คน ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่น่าใจหายมาก ๆ

“หลากเหตุผล หลายปัจจัย เพราะอะไรทำไมนักเรียนทุนเสมอภาคจึงไม่ได้ศึกษาต่อ”

กสศ. ชวนทุกคนมาสำรวจสถิติที่น่าสนใจเกี่ยวกับแนวโน้มการศึกษาต่อของนักเรียนทุนเสมอภาคในปีการศึกษา 2566 ซึ่งเป็นข้อมูลและความเห็นจากเพื่อนครูในกิจกรรม “เทคนิคมัดใจ ไม่ให้เด็ก ๆ หายระหว่างเทอม” มาร่วมสำรวจสถานการณ์การศึกษาของเด็กไทย พร้อมแชร์ไอเดียการรับมือไม่ให้เด็ก ๆ หลุดออกจากระบบการศึกษา

สถานการณ์การหลุดออกนอกระบบการศึกษาของนักเรียนทุนเสมอภาคยังน่าเป็นห่วง หากมีความคิดเห็นอย่างไร หรือมีวิธีการรับมือกับเด็ก ๆ ที่กำลังจะหลุดออกนอกระบบการศึกษาอย่างไร

*จากข้อมูลการคงอยู่ในระบบของนักเรียนทุนเสมอภาค 2/65 ในภาคเรียนที่ 1/66 จาก 6 ต้นสังกัด โดยสำนักพัฒนาหลักประกันโอกาสทางการศึกษา กสศ.

รู้หรือไม่! ในปีการศึกษา 2565 ที่ผ่านมา มีนักเรียนทุนเสมอภาคในช่วงชั้นรอยต่อ ไม่ได้เรียนต่อกว่า 44,555 คน*

โดยเป็นนักเรียนทุนเสมอภาคที่ศึกษาในระดับชั้นอนุบาล 3 จำนวน 476 คน ระดับประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 7,526 คน และระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 36,553 คน ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่ไม่น้อยเลยทีเดียว

แล้วแนวโน้มการศึกษาต่อของนักเรียนทุนเสมอภาคในปีการศึกษาหน้าจะเป็นอย่างไร?

จากการสำรวจเบื้องต้นของคุณครู* พบว่าในปีการศึกษา 2566 มีนักเรียนทุนเสมอภาคเลือกไม่ศึกษาต่อ 30% และอีก 11% ยังไม่แน่ใจ และจากข้อมูลเบื้องต้นนี้ ก็ยังไม่สามารถประเมินเป็นจำนวนคนที่แน่นอนได้

หลากเหตุผล หลายปัจจัย ทำไมนักเรียนทุนเสมอภาคจึงไม่ได้ไปต่อในระบบการศึกษา

เหตุผลและปัจจัยหลักที่อยู่เบื้องหลังการหลุดออกนอกระบบการศึกษาของนักเรียนทุนเสมอภาคยังเป็นปัญหาด้านทุนทรัพย์ในการศึกษาต่อ ซึ่งคิดเป็น 35.1% รองลงมาคือการออกไปช่วยแบ่งเบาภาระทางบ้าน (26%) การย้ายโรงเรียนเนื่องจากต้องย้ายตามผู้ปกครอง ทำให้ไม่ได้รับการศึกษาที่ต่อเนื่อง (20.8%)

รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ (18.2%) เช่น ไม่ประสงค์ศึกษาต่อตามความต้องการส่วนตัว ผู้ปกครองไม่เห็นความจำเป็นในการศึกษาต่อของบุตรหลาน หรือเลือกศึกษาต่อทางศาสนา* เป็นต้น

สถานการณ์การหลุดออกนอกระบบการศึกษาของนักเรียนทุนเสมอภาคยังน่าเป็นห่วง หากมีความคิดเห็นอย่างไร หรือมีวิธีการรับมือกับเด็ก ๆ ที่กำลังจะหลุดออกนอกระบบการศึกษาอย่างไร มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นใต้โพสต์นี้ได้เลยนะคะ