“ขับเคลื่อน เชื่อมโยง ช่วยเหลือ” เด็กและเยาวชน คืนสู่ระบบการศึกษา

“ขับเคลื่อน เชื่อมโยง ช่วยเหลือ” เด็กและเยาวชน คืนสู่ระบบการศึกษา

จากการเชื่อมโยงข้อมูล พบเด็กและเยาวชนหลุดออกจากระบบการศึกษา ปี 2566 สะสมประมาณ 1.02 ล้านคน (ตัวเลขสะสม : จากข้อมูลของ EDC Education Data Center สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และสำนักทะเบียนราษฎร์กระทรวงมหาดไทย) ตลอดระยะการทำงาน จำนวนดังกล่าวจะถูกส่งต่อจังหวัดต่าง ๆ เพื่อติดตาม ค้นหา ตรวจสอบข้อมูล เด็กและเยาวชนว่าอยู่สถานะไหน เพื่อบันทึกความช่วยเหลือได้ถูกต้อง

จึงทำให้เห็นโอกาสทางการศึกษา โดยมีการทำงานเชิงนโยบายเป็นแรงผลักดันที่จะเปิดโอกาสให้คนในพื้นที่ทำงานสะดวกขึ้น การมีข้อมูลและระบบสนับสนุนต่าง ๆ มุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมร่วมกันในอนาคต

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) พัฒนากลไกการจัดการศึกษาระดับพื้นที่ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการทำงาน โดยมีการทำงาน 2 ส่วน
1. ป้องกันเด็กไม่ให้หลุดออกจากระบบการศึกษา
ร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ฯลฯ เพื่อให้เด็ก 2.8 ล้านคน ทั้งเกิดจากภาวะความพิการ ความยากจน อยู่พื้นที่ห่างไกล ขาดเรียนบ่อย เป็นต้น ให้สามารถอยู่ในระบบการศึกษา (ที่มา: เด็กเสี่ยงหลุดออกนอกระบบการศึกษา ทั้งประถมและมัธยมต้น กลุ่มเป้าหมายของโครงการ Thailand Zero Dropout : EDquity Movement จดหมายข่าวจาก กสศ. โดย ดร.ไกรยส ภัทราวาท ถึงเครือข่ายภาคีหุ้นส่วนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ฉบับเดือนเมษายน 2567)
2. ช่วยเหลือเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา ผ่านการผลักดันการทำงานเชื่อมโยงเครือข่ายต่าง ๆ ระดับพื้นที่ ให้เกิดวาระการทำงานเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนเสี่ยงหลุดออกจากระบบการศึกษาและการเรียนรู้

มาตรการช่วยเหลือ เด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา
( กสศ. นำเสนอและผ่านการลงนามจากนายกรัฐมนตรี และกำลังนำเข้าสู่ ครม.)
1. มาตรการช่วยเหลือ
ทำงานกับข้อมูลระยะยาว ผ่านการเชื่อมโยงบูรณาการข้อมูลจากหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการทำงาน ค้นหา ติดตาม ระบุตัวตนได้ ช่วยเหลือเด็กแและเยาวชน และครอบครัวอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชน ครอบครัว
.
2. มาตรการติดตาม ช่วยเหลือ ส่งต่อ
ออกแบบแผนดูแลเด็กและเยาวชน ตามลักษณะปัญหาเงื่อนไขชีวิต เพื่อสนับสนุน ช่วยเหลือให้เข้าสู่ระบบการศึกษา และการเรียนรู้ที่ยกระดับคุณภาพชีวิตตัวเองได้
.
3. การศึกษาและการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น
หาช่องทาง และระบบการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น หลากหลายและมากพอที่จะตอบโจทย์เงื่อนไขชีวิตเด็กแะเยาวชนนอกระบบการศึกษา
.
4. ส่งเสริมการมีส่วนร่วม
ของผู้ประกอบการภาคเอกชนให้เข้ามามีส่วนร่วมจัดการปัญหา สนับสนุนการเรียนรู้ควบคู่กับการทำงานและร่วมมือพัฒนาเด็กให้สอดคล้องกับตลาดแรงงาน
.
.
อย่างไรก็ตาม ✨‘อิษฏ์ ปักกันต์ธร’ นักวิชาการอาวุโส กสศ. ให้มุมมองในเวทีบูรณาการหน่วยงานและกลไกพัฒนาเด็กและเยาวชนคนระยองสู่สากล วันที่ 25 เม.ย. 2567 ถึงการทำงานนี้ว่าจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าไม่ได้รับความร่วมมือจากคนในพื้นที่ ทั้งที่ในความเป็นจริง ในความเป็นมนุษย์ เราคงไม่อยากเห็นใครสักคนที่ถูกเพิกเฉย หรือถูกปฏิบัติโดยไม่เท่าเทียมกับผู้อื่น