กำหนดการประชุมนานาชาติเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา : จินตภาพใหม่การศึกษา ร่วมสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเยาวชนและประชากรวัยแรงงาน

กำหนดการประชุมนานาชาติเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา : จินตภาพใหม่การศึกษา ร่วมสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเยาวชนและประชากรวัยแรงงาน

The 3rd International Conference on Equitable Education: Reimagining Education, Co-Creating Lifelong Learning for All
18 – 19 ตุลาคม 2567

ความเป็นมา

กว่าสองทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศทั่วโลกได้ประสบกับสถานการณ์ความขัดแย้งและความไม่แน่นอนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลทำให้รูปแบบการศึกษาสำหรับอนาคตต้องมีการปรับตัวให้มีรูปแบบการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นและสอดคล้องกับความต้องการแรงงานในอนาคตมากขึ้น เพื่อสร้างความตระหนัก และขับเคลื่อนเรื่องวิกฤตการศึกษา สำนักเลขาธิการสหประชาชาติจึงได้จัดการประชุมสุดยอดการเปลี่ยนแปลงการศึกษา (TES) ในปี 2565 เพื่อระดมความร่วมมือเพื่อผลักดันเรื่องความเสมอภาคทางการศึกษา การพัฒนาคุณภาพการศึกษา และประเด็นอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

แม้กระนั้น การเข้าถึงการศึกษายังคงเป็นเป้าหมายที่ท้าทายในระดับนานาชาติ โดยทั่วโลกมีเด็กและเยาวชนประมาณ 244 ล้านคนไม่ได้อยู่ในระบบการศึกษา และผู้ใหญ่จำนวนประมาณ 763 ล้านคนที่ยังขาดทักษะพื้นฐานทางการรู้หนังสือและการคำนวณ โดยสองในสามของประชากรนี้เป็นผู้หญิง และเกือบครึ่งหนึ่งอาศัยอยู่ในเอเชียใต้ ด้านคุณภาพการศึกษา ในภาพรวมทั่วโลกระบบการศึกษายังไม่เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม แรงงานในปัจจุบันยังมีทักษะที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน อีกทั้งจำนวนเยาวชนที่ไม่ได้อยู่ในระบบการศึกษา การทำงาน หรือการฝึกอบรม (Not in education, employment, or training – NEETs) ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น วิกฤตการศึกษาดังกล่าวสะท้อนถึงความจำเป็นที่จะต้องปรับแนวทางการศึกษาและพัฒนาทักษะเพื่อให้แรงงานในปัจจุบันและอนาคตมีทักษะสำคัญที่จำเป็นต่อการทำงานและการมีอาชีพ โดยเยาวชนต้องได้รับการพัฒนาให้มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 รวมถึงทักษะทางสังคมและอารมณ์ ทักษะการคิดรู้และเมตาค็อกนิทิฟ ทักษะดิจิทัล และทักษะการเป็นมิตร กับสังคมและสิ่งแวดล้อมผ่านการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต

เพื่อร่วมผลักดันเรื่องการเข้าถึงการศึกษาและการพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับเยาวชน โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง กสศ. จึงร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายจัดการประชุมวิชาการนานาชาติเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ครั้งที่ 3 จินตภาพใหม่การศึกษา : ร่วมสร้างการ เรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเยาวชนและประชากรวัยแรงงาน โดยเป็นการจัดงานต่อเนื่องกับการประชุมวิชาการนานาชาติ รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 5 (5th PMCA Forum)

วัตถุประสงค์และผลสัมฤทธิ์ที่คาดหวัง

การจัดประชุมวิชาการนานาชาติจะสร้างความตระหนักและนำไปสู่การแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับความเสมอภาคทางการศึกษาในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ สะท้อนถึงกลยุทธ์ กลไก และแนวทางปฏิบัติที่เกิดขึ้นใหม่เพื่อส่งเสริมความเสมอภาคให้เกิดขึ้นได้ในบริบทต่างๆ โดยผลสัมฤทธิ์ที่คาดหวังจากการประชุมในครั้งนี้คือคำแนะนำทางเทคนิคที่พร้อมนำไปประยุกต์ปฏิบัติอย่างเป็นผลสำเร็จต่อไป ซึ่งเกิดจากการประมวลข้อมูลจากถ้อยแถลงกรุงเทพฯ 2565 ผลสัมฤทธิ์จากการประชุม TES ร่วมกับผลการอภิปรายของผู้เข้าร่วมที่เกี่ยวข้องจากการประชุมในครั้งนี้

การประชุมครั้งนี้เปิดโอกาสให้ผู้กำหนดนโยบาย ผู้นำด้านการศึกษา และนักการศึกษาได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และรับฟังกรณีศึกษาจากภูมิภาคและนานาชาติ จากการดำเนินงานในกลุ่มผู้ด้อยโอกาสและกลุ่มชายขอบเพื่อนำมาปรับใช้ตามบริบทของพื้นที่ตามความเหมาะสม

ผลสัมฤทธิ์โดยรวมจากการเข้าร่วมการประชุมนี้ ผู้เข้าร่วมประชุมจะได้รับทราบถึง 1) การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตและทักษะในศตวรรษที่ 21 2) การพัฒนาทักษะดิจิทัลและการรับมือความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี 3) การส่งเสริมการจัดการศึกษาในระดับพื้นที่ 4) การสนับสนุนและกลไกในการติดตามและประเมินผลการศึกษา

ผู้เข้าร่วมประชุม

  • หน่วยงานรัฐบาล องค์กรภาคเอกชน บุคลากรทางการศึกษา นักวิชาการ และผู้กำหนดนโยบาย 
  • สมาชิกกลุ่มพันธมิตรเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (EEA) ซึ่งเป็นเครือข่ายองค์กรที่มุ่งพัฒนาความเสมอภาคด้านการศึกษาในภูมิภาคและนอกภูมิภาค
  • ประชาชนทั่วไป รวมถึงนักเรียนและเยาวชนที่สนใจ

วันที่และสถานที่

  • วันที่ 18-19 ตุลาคม 2567
  • สถานที่จัดประชุม: ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี กรุงเทพฯ ประเทศไทย
  • ออนไลน์: https://afe2024.eef.or.th/ ท่านจะได้รับลิงค์เข้าร่วมรับฟังการประชุมหลังจากลงทะเบียนแล้ว
  • ภาษา: ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และภาษามือ

ผู้ร่วมจัดงาน

  • กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (EEF)
  • สำนักงานภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก องค์การยูเนสโก กรุงเทพฯ (UNESCO Bangkok)
  • สำนักงานยูนิเซฟ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก (UNICEF EAPRO)
  • องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย (UNICEF Thailand)
  • สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ สำนักงานภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (UNHCR, Bureau for Asia and the Pacific)
  • องค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAMEO)
  • Ministry of Education, Youth, and Sports (MoEYS) ประเทศกัมพูชา
  • National Institute for Lifelong Education (NILE) สาธารณรัฐเกาหลี
  • Program Management Office (PMO) of Kartu Prakerja สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
  • เครือข่าย Asia South Pacific Association For Basic And Education (ASPBAE)


ร่างกำหนดการประชุม

วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม 2567
เวลารายละเอียด
08:30-09:00ลงทะเบียน
09:00-10:00พิธีเปิดการประชุม  กล่าวเปิดการประชุมโดยองค์กรร่วมจัดงาน 
1.นายกรัฐมนตรี/ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
2.นางสาวซูฮยอน คิม ผู้อำนวยการสำนักงานยูเนสโก กรุงเทพฯ 
3.นางเซเวอรีน ลีโอนาร์ดี รองผู้แทนองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย
4.ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา

วิดิทัศน์แนะนำหน่วยงานร่วมจัด
Youth Talk อนาคตการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับเยาวชน
1.นางสาวนูรฮายาตี สุลตาน ผู้ก่อตั้งร่วมและผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมเยาวชนและความรู้ด้านดิจิทัล เครือข่าย Rohingya Maìyafuìnor Collaborative Network
2.นางสาวนดา บินร่อหีม ประธานสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย
ผู้ดำเนินรายการ ดร.ทินสิริ ศิริโพธิ์ องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย
10:00-10:30การสัมภาษณ์สื่อมวลชน/ พักรับประทานอาหารว่าง 
10:30-12:00Plenary 1 ภูมิทัศน์์ด้านการศึกษาในประเด็นความเสมอภาคในการพัฒนาทักษะและการเรียนรู้ตลอดชีวิตในระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ
1.นายเอกลาเวีย ภาเว หัวหน้าฝ่ายเอเชีย Coursera
2.ดร.เดนนี่ ปุสปา ปูร์บาซารี ผู้อำนวยการบริหาร PMO Prakerja
3.นางสาวคริสตินา เมเรอูตา ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาทุนมนุษย์อาวุโส European Training Foundation
4.นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานกรรมการ และประธานคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ และด้านการเงิน บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และนายกสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย
ผู้ดำเนินรายการ นางริกะ โยโรสุ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาการศึกษา องค์การยูเนสโก กรุงเทพฯ
12:00-13:30พักรับประทานอาหารกลางวัน
13:30-15:00 Parallel Session 11.1 การเพิ่มและสร้างทักษะใหม่เพื่อยกระดับทักษะที่เหมาะสมกับสังคมที่มีความยืดหยุ่นสูง
1.นางสาวปฏิมา จงเจริญธนาวัฒน์ ผู้อำนวยการกองศึกษาและวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
2.นายแอร์เว มอแร็ง หัวหน้าโครงการ UPSHIFT องค์การยูนิเซฟภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก
3.นางสาวคาเทีย มาลาเกียส ผู้ก่อตั้งร่วม กลุ่มพันธมิตร Australian Alliance for Inclusive Education ผู้ดำเนินรายการ นางสาวคยองอา บัง ที่ปรึกษา องค์การยูเนสโก กรุงเทพฯ
1.2 กลยุทธ์ในการเชื่อมโยงแรงงานจากภาคการศึกษาสู่ตลาดแรงงานอย่างไร้รอยต่อ
1.ดร.สตีเฟน ยิป มหาวิทยาลัย The Education University of Hong Kong 
2.นายเคนจิ คุโน ที่ปรึกษาอาวุโส องค์กร Japan International Cooperation Agency (JICA)
3.ผศ.ดร.เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผู้ดำเนินรายการ นางสาวธันว์ธิดา วงศ์ประสงค์ผู้อำนวยการสํานักพัฒนานวัตกรรมเพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
15:00-15:30รับประทานอาหารว่าง
15:00-16:30 Parallel Session 22.1 การขยายโอกาสการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นเพื่อลดช่องว่างทางการศึกษา
1.นางสาวมินซอน พัก ผู้เชี่ยวชาญโครงการ สถาบัน National Institute for Lifelong Education (NILE)
2.ดร.เฮซุส ซี. อินสิลาดา ครูรับรางวัลเจ้าฟ้ามหาจักรี ประจำปี พ.ศ. 2560 ประเทศฟิลิปปินส์
3.นางสาวแทมมี ลินน์ ชาร์ป นางแทมมี่ ลินน์ ชาร์ป (Tammi Lynn Sharpe) ผู้แทนสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ประจำประเทศไทย
ผู้ดำเนินรายการ นางสาวจาเอล ชิซันยา มารารู เจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการศึกษา สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) 
2.2 การพัฒนาระบบอาชีวศึกษาที่ตอบสนองความหลากหลายของผู้เรียนโดยใช้ทักษะด้านดิจิทัล และทักษะการเป็นมิตรกับสังคมและสิ่งแวดล้อมส่งเสริมเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
1.นายโอไบดูร์ ราห์มาน ที่ปรึกษาด้านเยาวชนระดับโลก องค์กร Save the Children
2.นายอิสรารุดดิน อิสรารุดดิน ผู้อำนวยการ THK Initiatives, Partnership and Policy Lab มูลนิธิ United in Diversity Foundation
3.รศ.ดร.มาร์การิตา พาฟโลวา ภาควิชาการศึกษานานาชาติและการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัย The Education University of Hong Kong ศูนย์ UNESCO-UNEVOC
ผู้ดำเนินรายการ นายเอมิลจอห์น เซนติลลาส ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายและวางแผน สำนักเลขาธิการองค์การซีมีโอ (SEAMEO)
18:30งานเลี้ยงอาหารค่ำ
วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม 2567
เวลารายละเอียด
9:00-9:15สรุปสาระสำคัญและข้อเสนอแนะจากการประชุมวันที่ 1
นางสาวเคท กริฟฟิธส์ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายการใช้และขับเคลื่อนหลักฐานเชิงประจักษ์  ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบาย องค์การ Australian Education Research Organisation (AERO)
9:15-10:45Plenary 2 การสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเพื่อสนับสนุนให้เกิดระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่พร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลง
1.นางสาวดอว์น เอเดรียน ผู้จัดการฝ่ายการศึกษาสถาบัน SDG เครือข่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDSN)
2.นายจอร์ดี ปราท ทูคา ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO)
3.นายโจเซ เด เจซุส ผู้ประสานงาน เครือข่ายความร่วมมือภาคประชาสังคมทางการศึกษา (CSEP) และสภาเยาวชนกลุ่มเปราะบาง (MYF) ของประเทศติมอร์-เลสเต
4.นางสาวเรณู เศรษฐ หัวหน้าร่วมโครงการเด็กหญิงและสตรี มูลนิธิ Pratham
ผู้ดำเนินรายการ ดร.อาร์ตี เซจี หัวหน้าฝ่ายการศึกษา องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย
10:45-11:00พักรับประทานอาหารว่าง
11:00-12:30 Parallel Session 33.1 นวัตกรรมการเงินเพื่อสนับสนุนการศึกษาสำหรับอนาคต
1.นางสาวแจนเน็ต รุ้งสิทธิกุล ผู้จัดการฝ่ายการตลาดอาวุโส มูลนิธิเคเอฟซี
2.นางสาวปริยา ชาร์มา อาจารย์ภาควิชาธุรกิจ กฎหมายและภาษี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยโมนาช
3.นางสาวสิรี จงดี รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
4.นางสาวอ้อมแก้ว เวชยชัย หัวหน้าฝ่ายพัฒนาตลาดเอเชีย องค์กร Global Steering Group for Impact (GSG Impact)
ผู้ดำเนินรายการ ผศ.ดร.ตรีนุช ไพชยนต์วิจิตร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
3.2 การกระจายอำนาจทางการศึกษา: การพัฒนาศักยภาพหน่วยงานระดับพื้นที่เพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน
1.นางสาวเรณู เศรษฐ หัวหน้าร่วมโครงการเด็กหญิงและสตรี มูลนิธิ Pratham
2.นางสาวไดแอน เลอ กอฟฟ์ ผู้จัดการโครงการ CSR ด้านการศึกษาเยาวชนและการประกอบการระดับโลก มูลนิธิชไนเดอร์ อิเล็คทริค
3.นายสมศักดิ์ พะเนียงทอง คณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง
ผู้ดำเนินรายการ นายจอห์น อาร์โนลด์ เซียนา (Mr. John Arnold Siena) รองผู้อำนวยการสำนักงานเลขาธิการซีมีโอ (SEAMEO) ด้านการพัฒนาโครงการและกิจกรรม
12:15-13:30พักรับประทานอาหารกลางวัน
13:30-15:00 Parallel Session 44.1 ระบบติดตามและการประกันคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ และการพัฒนาการประเมินผลที่มุ่งพัฒนาผลลัพธ์ทางการศึกษาของผู้เรียน
1.นายบากุส ซานโตโซ ผู้ก่อตั้ง DEFINIT Asia
2.นายอเลฮานโดร อิบาเนซ ผู้จัดการโครงการ Southeast Asia Primary Learning Metrics (SEA-PLM) สำนักเลขาธิการองค์การซีมีโอ (SEAMEO)
3.นายโคจิ มิยาโมโตะ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลก
ผู้ดำเนินรายการ นางสาวคารอลินา รุตโคฟสกา ผู้บริหารโครงการ องค์กร VVOB
4.2 บทบาทของเทคโนโลยีและปัญญาประดิษฐ์เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต 
1.ดร.ชูภาม ซาไฮ ศรีวัสทวา วิศวกรซอฟต์แวร์ ศูนย์ AI สำหรับเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัย National University of Singapore
2.นาย อูเมร์ อาลี ผู้อำนวยการฝ่ายการติดต่อและการมีส่วนร่วม องค์กร Knowledge Platform
3.นางสาวอาบิเกล เลซากา ผู้จัดการ CSR บริษัท IBM ประเทศฟิลิปปินส์
ผู้ดำเนินรายการ ดร. ฮานี มาซารี หัวหน้าภูมิภาคเอเชีย องค์กร EdTech Hub
15:00-16:00พักรับประทานอาหารว่าง และกิจกรรมสร้างเครือข่าย
16:00-17:00พิธีปิดการประชุม
สรุปผลลัพธ์การจัดงาน
• นางสาวมารีนา ปาตรีเยร์ หัวหน้าฝ่ายการศึกษา องค์การยูนิเซฟภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก 
• ดร.ฮาบิบะ อับดุล ราฮิม ผู้อำนวยการสำนักงานเลขาธิการซีมีโอ (SEAMEO)
แถลงข้อเสนอแนะและประเด็นผลักดันเรื่องความเสมอภาคทางการศึกษ และประชาสัมพันธ์สื่อและสิ่งพิมพ์ของการประชุม
• ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
• ดร.เดนนี่ ปุสปา ปูร์บาซารี ผู้อำนวยการบริหาร PMO Prakerja

*กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม