พื้นที่ดำเนินโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น รุ่นที่ 1 และ 2
ในสาขาปฐมศึกษา ปฐมวัย
ในสาขาปฐมศึกษา ปฐมวัย
ครอบคลุม จังหวัด อำเภอ ตำบล สถาบันผลิต
และพัฒนาครู โรงเรียน อัตราบรรจุ 0 0 0 0 0 0
ลักษณะของโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล
ปัญหาหลักในโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล
โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น
จึงเกิดขึ้นเพื่อสร้างโอกาสสำหรับนักเรียนในพื้นที่ห่างไกล ให้ได้ศึกษา
พัฒนาศักยภาพกลับมาเป็นครูรุ่นใหม่เพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนในชุมชน
ภายใต้เป้าหมายและผลลัพธ์เหล่านี้
สร้างโอกาส ส่งเสริมนักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์
และมีจิตวิญญาณการป็นครู ได้เข้ารับการศึกษาและกลับไปพัฒนา
การศึกษาในพื้นที่ของตนเอง
เพิ่มการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพของเด็กในพื้นที่ห่างไกล
เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนครู
ในโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในชนบทห่างไกล
และยังมีบทบาทเป็นครูนักพัฒนาชุมชนเพื่อเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง
ให้แก่ชุมชนที่เป็นภูมิลำเนาของตนเอง
การศึกษาในพื้นที่ของตนเอง
ขยายเครือข่าย ของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาระบบการศึกษาประเทศไทยให้สอดคล้องกับบริบทและพื้นที่ของเมืองไทยยิ่งขึ้น
ผลลัพธ์ นำไปสู่ต้นแบบของระบบการพัฒนาครู
ผลลัพธ์ ในด้านการเชื่อมโยง และทำงานกับหน่วยงานและโครงการอื่น ๆ ในกสศ.
”ถ้าไม่มีโครงการนี้ หนูก็คงไม่ได้เรียนต่อเพราะอยู่ในพื้นที่ที่ ห่างไกล จนมีทุนนี้ก็ทำให้มีหวังและสุดท้ายก็ได้เดินหน้าสู่ เป้าหมายที่อยากกลับมาเป็นครูสอนน้อง ๆ ในพื้นที่ ได้นำ ความรู้ไปพัฒนาชุมชน โรงเรียน และเด็ก ๆ ทุนนี้จึงไม่ใช่ได้ แค่ตัวเรา แต่ได้ทั้งหมู่บ้านและชุมชน”
มะห์สวานี กาซอ(มัส)
นักศึกษา คณะครุศาสตร์ มรภ.ยะลา
หนึ่งในนักเรียนทุนจากโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น รุ่นที่ 1
”ครูรัก(ษ์)ถิ่น ไม่ใช่แค่สอนหนังสือ แต่ต้องเป็นนักพัฒนาชุมชนด้วย ตอนนี้ก็ตั้งใจเรียนเพื่อที่จะได้กลับไปเป็นครูที่ชุมชนตัวเอง ทำหน้าที่ตัวเองให้ดีที่สุด”
อินทิรา สุขใจ (อิน)
นักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มช.
หนึ่งในนักเรียนทุนจากโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น รุ่นที่ 1
”กสศ. มุ่งมั่นให้โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น เป็นส่วนหนึ่งของ
การปฏิรูปการศึกษา
ที่นำไปสู่การพัฒนาครูของประเทศไทย อย่างชัดเจน
เริ่มตั้งแต่การเปลี่ยนแปลง
การผลิตครูจากศูนย์
กลางไปสู่การผลิตครูที่สอดคล้องกับพื้นที่ เป็นครูคุณภาพ
ทำงานที่ร่วมกับชุมชนได้ ในอนาคตโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น
จะเป็นการ
เตรียมความพร้อม ให้ครูเป็นผู้รู้เท่าการเปลี่ยน การแปลง
ต้องปรับตัวได้เร็ว ไม่ว่าในภาวะแบบไหนเด็กก็จะ
ได้รับการศึกษาที่เท่าเทียมกัน เราเชื่อมั่นว่าสถาบันการศึกษา
ที่เข้าร่วมโครงการนี้จะผลิตและพัฒนาครูหัวใจเดียวกันที่
จะดึงศักยภาพให้นักศึกษาจบมาเป็นครูที่ดี มีความสร้างสรรค์
มุ่งมั่นของชุมชน”
รศ.ดร.ดารณี อุทัยรัตนกิจ
กรรมการบริหาร กสศ. และประธานอนุกรรมการพัฒนาระบบการผลิตและพัฒนาครูสำหรับโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล
”โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2563 โดยมีที่
มาจากโรงเรียนขนาดเล็กในพื้นที่ห่างไกลซึ่งจำเป็นต้อง
คงอยู่เพื่อโอกาสทางการศึกษาเด็กท้องถิ่น
ไม่สามารถยุบ ควบรวมได้
จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาคุณภาพครูควบคู่
ไปกับการ
แก้ปัญหาครูโยกย้ายบ่อยจึงคิดวิธีให้คนในท้องถิ่น
มาเรียนเป็นครูเพื่อกลับไปทำงานในบ้านเกิดตัวเอง
ลดปัญหาการย้ายออกและขาดแคลนในอนาคต”
ดร.อุดม วงษ์สิงห์
ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาคุณภาพครู
และสถานศึกษา กสศ.
”โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น เปรียบเสมือนงานวิจัยเพื่อพัฒนา ระบบการผลิตครูโดยใช้ความต้องการของโรงเรียนเป็นฐาน สร้างการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องในกระบวนการผลิตครู ตั้งแต่การคัดเลือกผู้เข้ามาเรียนรู้การปรับระบบการผลิตครู ของสถาบันผลิต(มหาวิทยาลัย) ไปจนถึงการพัฒนาโรงเรียน ปลายทางเพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับเด็กๆ ที่อยู่ใน ชุมชน พื้นที่ห่างไกล ซึ่งโรงเรียนขนาดเล็กมีความสำคัญต่อ ชุมชนและครูเป็นคนสำคัญที่จะพัฒนาทั้งเด็กๆ และชุมชน ให้เกิดความเท่าเทียม”
ผศ.ดร.พิศมัย รัตนโรจน์สกุล
ผู้จัดการโครงการพัฒนาและบริหารจัดการโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น