คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
เลือกเรื่องที่ต้องการ
โครงการจัดสรรเงินอุดหนุนนักเรียนยากจนพิเศษแบบมีเงื่อนไข
ทางโรงเรียนสามารถเข้าไปบันทึก นร./กสศ.01 ได้ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
- เข้าสู่ระบบด้วย USER/PASSWORD ครูประจำชั้น (หากเป็นแอดมินโรงเรียนให้เปลี่ยนบทบาทเป็นครูประจำชั้น)
- เลือก คัดกรองนักเรียนยากจน
- เลือก นร.กลุ่มใหม่
- เลือก คัดกรองนักเรียน (นร./กสศ.01)
- เลือกชั้น/ห้อง ที่ต้องการคัดกรองนักเรียนยากจน
- สังกัด สพฐ. – ให้เลือกประเภทความด้อยโอกาส ในระบบ DMC เป็น “ยากจน”
- สังกัด อปท. – สังกัด อปท. นักเรียนจะต้องมีรายชื่อในระบบ LEC แล้วหลังจากนั้นให้เลือกสถานะความยากจนว่า “ต้องการสมัครขอรับทุน” ในระบบ DLA
- สังกัด บช.ตชด. – สังกัด บช.ตชด. ให้ทำการเพิ่มรายชื่อนักเรียนกลุ่มใหม่ โดยทางโรงเรียนสามารถเพิ่มรายชื่อนักเรียนที่ต้องการ คัดกรองได้ที่เมนูต่อไปนี้
- เข้าสู่ระบบด้วย username ครูประจำชั้น (หากเป็นแอดมินโรงเรียนให้เปลี่ยนบทบาทเป็นครู)
- เลือก นักเรียนกลุ่มใหม่
- เลือก สมัครขอรับเงินอุดหนุน
- กดปุ่มเพิ่มนักเรียน (บันทึกข้อมูลตามที่ระบบขึ้นให้แล้วกดบันทึก)
- สังกัด สช. นักเรียนจะต้องมีรายชื่อในระบบ PSIS แล้วหลังจากนั้นให้เลือกสถานะความยากจนว่า “ต้องการสมัครขอรับทุน” ในระบบ OPEC
ให้บันทึกข้อมูลผู้ปกครองที่ดูแลนักเรียนในปัจจุบัน
ให้บันทึกจำนวนรายได้ของสมาชิกในครัวเรือนตามจริงโดยไม่หักค่าใช้จ่าย แต่หากมีสวัสดิการแห่งรัฐ ให้นำรายได้จากสวัสดิการแห่งรัฐที่ไม่ได้รับเป็นรายเดือน (ทะเบียนคนจน/โครงการคนละครึ่ง/เราชนะ/ม.33 เรารักกัน) ให้นำมาหารเฉลี่ยเป็นรายเดือนก่อน เช่นได้รับสวัสดิการจากรัฐรวม 6,000 บาท หารเฉลี่ย 12 เดือน = 500 บาท/เดือน
- กรณีที่ไม่มีการเปลี่ยนที่อยู่อาศัยสามารถกดปุ่มดึงพิกัดได้ทันที
- กรณีที่มีการเปลี่ยนที่อยู่อาศัย คุณครูสามารถดึงพิกัดใน นร./กสศ.01 ได้โดย “กรอกที่อยู่ของตำบลก่อน” จากนั้นระบบจะขึ้นข้อมูลอำเภอและจังหวัด และให้คุณครูเลือกที่อยู่จากข้อมูลที่แสดงอัตโนมัติโดยไม่ต้องพิมพ์
ให้เลือกในแบบฟอร์ม นร./กสศ.01 ว่านักเรียนอาศัยอยู่กับ “ครัวเรือนสถาบัน” กรอกข้อมูล ชื่อครัวเรือนสถาบัน ที่อยู่ และข้อมูลติดต่อ ผู้รับผิดชอบสถาบัน
ให้บันทึกข้อมูลผู้ปกครองที่ดูแลนักเรียนในปัจจุบัน
- สังกัด สพฐ.
เจ้าหน้าที่รัฐที่สามารถรับรองได้ เป็นบุคคลดังต่อไปนี้- ข้าราชการปกครองส่วนท้องถิ่นผู้ดำรงตำแหน่ง ไม่ต่ำกว่าระดับชำนาญงาน หรือชำนาญการ หรือเทียบเท่า
- กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
- ผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมาชิกสภาท้องถิ่น
- ข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการ หรือ เจ้าหน้าที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (กรณีสถานศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ) ผู้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับชำนาญการ หรือเทียบเท่า
- สังกัด อปท.
เจ้าหน้าที่รัฐที่สามารถรับรองได้ เป็นบุคคลดังต่อไปนี้- ข้าราชการปกครองส่วนท้องถิ่นผู้ดำรงตำแหน่ง ไม่ต่ำกว่าระดับชำนาญงาน หรือชำนาญการ หรือเทียบเท่า
- กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
- ผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมาชิกสภาท้องถิ่น
- สังกัด บช.ตชด.
เจ้าหน้าที่รัฐที่สามารถรับรองได้ เป็นบุคคลดังต่อไปนี้- ข้าราชการปกครองส่วนท้องถิ่นผู้ดำรงตำแหน่ง ไม่ต่ำกว่าระดับชำนาญงาน หรือชำนาญการ หรือเทียบเท่า
- กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
- ผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมาชิกสภาท้องถิ่น
- ข้าราชการตํารวจ สังกัดกองกํากับการตํารวจตระเวนชายแดน (กรณีโรงเรียนตํารวจตะเวนชายแดน) ผู้ดํารงตําแหน่งชั้นสัญญาบัตรตั้งแต่ ยศร้อยตํารวจเอกขึ้นไป)
- สังกัด สช.
เจ้าหน้าที่รัฐที่สามารถรับรองได้ เป็นบุคคลดังต่อไปนี้- ข้าราชการปกครองส่วนท้องถิ่นผู้ดำรงตำแหน่ง ไม่ต่ำกว่าระดับชำนาญงาน หรือชำนาญการ หรือเทียบเท่า
- กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
- ผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมาชิกสภาท้องถิ่น
นักเรียนทุนเสมอภาคที่ผ่านเกณฑ์การคัดกรองด้วยวิธีการวัดรายได้ทางอ้อม PMT “ยากจนพิเศษ” จะได้รับจัดสรรในอัตรา 3,000 บาทต่อคนต่อปี
สามารถเลือกรับเงินได้ 3 ช่องทาง ดังนี้
- รับเงินสดผ่านสถานศึกษา
- รับเงินผ่านพร้อมเพย์นักเรียน
- รับเงินผ่านพร้อมเพย์ผู้ปกครอง
- ครูประจำชั้น พิมพ์หลักฐานการจ่ายเงินให้ผู้ปกครอง เซ็นรับเงิน เก็บไว้ที่โรงเรียนเป็นรายห้องเรียน จากนั้นบันทึกแบบหลักฐานรายห้องเรียนในระบบ ลงลายเซ็นรับรองการจ่ายเงิน
- ครูแอดมิน ตรวจสอบการจ่ายเงินของทั้งโรงเรียน แล้วบันทึกแบบรายงานการจัดสรรเงินของโรงเรียน ในระบบ ลงลายเซ็นครูแอดมินและผอ.
- กรณีที่ผู้ปกครองตาม นร./กสศ.01 ไม่สามารถมารับเงินได้ ให้มอบอำนาจให้แก่ผู้ปกครองท่านอื่นมารับแทน ตามเอกสารมอบอำนาจใน นร.08
- กรณีที่ผู้ปกครองตาม นร./กสศ.01 ไม่อยู่ในสถานะที่มอบอำนาจได้ ให้ใช้เอกสารมอบอำนาจตาม นร.08 ฉบับโรงเรียน โดยให้ผู้อำนวยการโรงเรียนเป็นผู้มอบอำนาจ
สามารถทำได้ 2 รูปแบบ ดังนี้
- โอนจากบัญชีที่โรงเรียนเปิดรับเงิน กสศ. ไปยังผู้ปกครองโดยตรง
- โอนจากบัญชีโรงเรียนเข้าบัญชีครู ผู้ที่ได้รับมอบหมาย แล้วครูดำเนินดำเนินการโอนเงินไปยัง ผู้ปกครองนักเรียน
สามารถโอนเข้าบัญชีสมาชิกครัวเรือนที่มีรายชื่อตาม นร./กสศ.01 ได้
กรณีนักเรียนที่รับเงินสดผ่านสถานศึกษาแต่ไม่สามารถมารับได้เนื่องจาก ย้าย/ลาออก เสียชีวิต ไม่มีตัวตน จะต้องทำการคืนเงินให้กับทาง กสศ.
เพื่อการดำเนินงานที่ปลอดภัยภายใต้สถานการณ์ COVID-19 คุณครูสามารถเลือกช่องทาง การจัดสรรเงินตามความเหมาะสมได้ดังนี้
- ผู้ปกครอง/นักเรียนทุนเสมอภาค รับเงินสดที่โรงเรียน โดยรักษามาตราการ เว้นระยะห่าง
- โอนเข้าบัญชีธนาคารผู้ปกครองนักเรียน
- เลือกสองทาง ทั้งมารับเงินสดที่โรงเรียนและโอนเงิน
- เปิดบัญชีพร้อมเพย์ได้ 3 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน และ ธกส.
- การเปิดบัญชีธนาคารต้องผูกบัญชีพร้อมเพย์ ด้วยเลขประจำตัวประชาชนของเด็กนักเรียน ทุนเสมอภาคเท่านั้น
- ต้องเป็นนักเรียนสัญชาติไทยที่มีอายุมากกว่า 7 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และทำบัตรประจำตัวประชาชนแล้ว
ทางโรงเรียนสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์ม “ขอเปิดบัญชีพร้อมเพย์” ให้นักเรียนในระบบได้ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
- เข้าสู่ระบบด้วย username ครูประจำชั้น (แอดมินโรงเรียนจะต้องเปลี่ยนบทบาท เป็นครูประจำชั้น)
- เลือกเมนู นร.กลุ่มเก่า/กลุ่มใหม่
- เลือกเมนู ขอเปิดบัญชีพร้อมเพย์
- ดำเนินการเลือกชั้น/ห้อง ของนักเรียนที่ต้องการเปิดบัญชี
- เลือกบันทึกข้อมูลธนาคารและสาขา สำหรับนักเรียนที่ต้องการรับเงินผ่านพร้อมเพย์ และพิมพ์แบบขอเปิดบัญชี
กรณีที่รับเงินผ่านบัญชีพร้อมเพย์ของผู้ปกครอง ไม่ต้องพิมพ์ใบขอเปิดบัญชีสามารถไปเปิดบัญชี ที่ธนาคารและผูกพร้อมเพย์กับเลขบัตรประจำตัว ประชาชนได้เลย
**หากมีบัญชีอยู่แล้วให้ตรวจสอบว่า ได้ผูกพร้อมเพย์ไว้กับเลขบัตรหรือไม่ และผูกพร้อมเพย์ไว้กับบัญชีใด จากนั้นเลือกวิธีการรับเงินในระบบ
กรณีที่สถานะการโอนเงินแจ้งว่ารับเงินผ่านพร้อมเพย์ ผู้ปกครอง/นักเรียน แต่มีการแจ้งว่าเงินไม่เข้าบัญชี ให้ตรวจสอบข้อมูล ดังต่อไปนี้
- ให้คุณครูตรวจสอบชื่อผู้ปกครอง/นักเรียน ในระบบกับชื่อบัญชีที่นำไปปรับว่าตรงกันหรือไม่
- ให้คุณครูแจ้งผู้ปกครอง/นักเรียน ตรวจสอบข้อมูลว่าเลขบัตรประชาชนผูกพร้อมเพย์ ไว้กับธนาคารใด แล้วให้นำไปปรับที่ธนาคาร (นำสมุดบัญชีไปปรับกับเจ้าหน้าที่ธนาคารเท่านั้น)
- ถ้าหากว่านำบัญชีไปปรับกับเจ้าหน้าที่ธนาคาร แล้วเงินไม่เข้า ให้เจ้าหน้าที่ธนาคารตรวจสอบให้ ว่าเลขบัตรประชาชนของผู้ปกครอง/นักเรียน ผูกพร้อมเพย์ไว้กับบัญชีของธนาคารใด
ดอกเบี้ยในบัญชีธนาคารและผลกำไรที่เกิดจากกิจกรรมพัฒนานักเรียนทุนเสมอภาคไม่ต้องนำส่งคืน กสศ. ให้สถานศึกษานำไปสมทบจัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อนักเรียนทุนเสมอภาคได้
สถานศึกษาดำเนินการโอนเงินคืน ผ่านระบบ Bill Payment โดยเข้าบันทึกข้อมูลการคืนเงิน ในระบบปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจน สามารถดำเนินการได้ 2 รูปแบบ ดังนี้
รูปแบบที่ 1 ชำระเงินผ่านบัญชีธนาคาร Mobile application ของทุกธนาคาร สามารถดำเนินการสแกน QR Code หรือ Barcode จากระบบปัจจัยพื้นฐาน นักเรียนยากจน (ไม่มีค่าธรรมเนียมธนาคาร)
รูปแบบที่ 2 ชำระเงินที่เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขาเท่านั้น สามารถดำเนินการได้โดยการพิมพ์ ใบชำระเงินที่ QR Code หรือ Barcode จากระบบปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจน (มีค่าธรรมเนียมการคืนเงิน 10 บาท/ครั้ง โดยค่าธรรมเนียมดังกล่าวไม่สามารถเบิกจ่าย จาก กสศ. ได้)
กดเปลี่ยนบทบาท สามารถดำเนินการได้ ดังนี้
- กดไอคอนรูปคนสีฟ้า มุมบนขวามือ
- กดบรรทัดที่ 3 เปลี่ยนบทบาท
- กดเลือก ครู
- กดตกลง
สามารถเพิ่มผู้ใช้งานครูประจำชั้นได้ตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้
- เข้าระบบด้วย username ครูแอดมิน
- เลือกเมนู จัดการข้อมูล
- เลือก ข้อมูลผู้ใช้
- เลือก เพิ่มผู้ใช้
- จากนั้นให้บันทึกข้อมูลของครูประจำชั้น ที่ต้องการเพิ่มผู้ใช้งาน
- กดตกลง
กรณีที่แอดมินโรงเรียนลืมรหัสผ่านให้ติดต่อแอดมิน เขตพื้นที่เพื่อทำการ reset รหัสผ่าน
**จากนั้นรหัสผ่านใหม่จะถูกส่งไปยัง e-mail ที่คุณครูได้เเจ้งไว้ในระบบ
สามารถดำเนินการแก้ไขข้อมูลในระบบได้ โดยมีขั้นตอนดังนี้
- เข้าระบบด้วย username ครูแอดมิน
- เลือกเมนู จัดการข้อมูล
- เลือก ข้อมูลโรงเรียน
- เลือก แก้ไข
- แก้ไขข้อมูลผู้อำนวยการให้เป็นปัจจุบัน **กรณีมีรักษาราชการแทนให้ใส่วงเล็บ หลังชื่อ-นามสกุล (รักษาการแทน)
- กดบันทึก
ครูประจำชั้น
- กรณีรับเงินสดที่โรงเรียน พิมพ์แบบหลักฐานการจ่ายเงิน “รายห้องเรียน” ผู้ปกครองเซ็นรับเงิน ครูผู้จ่ายเงินและเจ้าหน้าที่ การเงินเซ็นยืนยัน เก็บหลักฐานไว้ที่โรงเรียน ไม่ต้องนำส่งคืน กสศ. จากนั้นให้บันทึก แบบรายงานการจ่ายเงิน ส่วนของครูประจำชั้น เลือกรายชื่อนักเรียนที่จ่ายเงินสำเร็จแล้ว อัปโหลดรูปลายเซ็นครูประจำชั้น พร้อมลายเซ็นของผู้อำนวยการสถานศึกษา
- กรณีที่โอนเงินให้กับผู้ปกครอง ให้บันทึกรายงานการจ่ายเงินในระบบเท่านั้น ไม่ต้องเซ็นชื่อรับเงิน และให้เก็บหลักฐานการจ่ายเงิน ไว้ที่โรงเรียน
ครูแอดมิน
- ให้ติดตาม ตรวจสอบความก้าวหน้าการจ่ายเงิน ของครูประจำชั้นผ่านระบบ (ตรวจสอบได้ที่หน้าระบบของครูประจำชั้น)
- จากนั้นบันทึกแบบรายงานการจัดสรรเงินอุดหนุนฯ ในหน้าระบบครูแอดมิน โดยบันทึกลายเซ็น แอดมินโรงเรียนและลายเซ็นผู้อำนวยการโรงเรียน
**ครูประจำชั้นต้องดำเนินการจ่ายเงินและ บันทึกรายงานการจ่ายเงินรายห้องในระบบ ให้เสร็จเรียบร้อยก่อน ครูแอดมินจึงจะสามารถ บันทึกรายการภาพรวมของโรงเรียนได้
ทางโรงเรียนสามารถบันทึกการเข้าเรียนได้ 2 รูปแบบ คือแบบรายวัน และแบบรายเดือน ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้
1. การบันทึกการเข้าเรียนแบบรายวัน
- บทบาทแอดมินโรงเรียน
- เลือกเมนู จัดการข้อมูล
- เลือก กำหนดวันเปิด-ปิด ภาคเรียน (ให้กำหนดเป็นเทอมต่อเทอม)
- จากนั้นเลือกวันเปิด-ปิดภาคเรียน เลือกประเภทการเช็กชื่อเป็นรายวัน
- บทบาทครูประจำชั้น
- เลือกบันทึกการเข้าเรียนและน้ำหนักส่วนสูง
- เลือกการเข้าเรียนรายวัน
- เลือกชั้น/ห้อง ที่ต้องการบันทึกข้อมูล แล้วจึงบันทึกข้อมูลการเข้าเรียน
2. การบันทึกการเข้าเรียนแบบรายเดือน
- บทบาทแอดมินโรงเรียน
- ล็อกอินด้วย username ครูแอดมิน
- เลือกเมนูจัดการข้อมูล แล้วเลือกกำหนดวันเปิด-ปิดภาคเรียน (ให้กำหนดเป็นเทอมต่อเทอม)
- จากนั้นเลือกวันเปิด-ปิดภาคเรียน เลือกประเภทการเช็กชื่อเป็นรายเดือน
- บทบาทครูประจำชั้น
- เลือกบันทึกการเข้าเรียนและน้ำหนักส่วนสูง
- เลือกการเข้าเรียนรายเดือน
- เลือกชั้น/ห้อง ที่ต้องการบันทึกข้อมูล แล้วจึงบันทึกข้อมูลการเข้าเรียน
ทางโรงเรียนสามารถบันทึกน้ำหนักส่วนสูง ได้ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ บทบาทครูประจำชั้น
- เลือกบันทึกน้ำหนักส่วนสูง
- เลือกชั้น/ห้อง ที่ต้องการบันทึกข้อมูล
ทางโรงเรียนสามารถเข้าไปบันทึกการโอนเงินคืน กสศ. ได้ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
- เข้าสู่ระบบด้วย username ครูแอดมิน
- เมนูแบบฟอร์ม เลือก “การโอนเงินคืน กสศ.” จากนั้นเลือกการโอนเงินคืน กสศ. (นักเรียนยากจนพิเศษ)
- เลือกปีการศึกษาและภาคเรียน
- หากโอนเงินคืนส่วนของโรงเรียนให้เลือก รายชื่อนักเรียนที่ต้องการคืนเงิน หากโอนเงินคืนส่วนของโรงเรียน ให้กรอกจำนวนเงินที่ต้องการโอนคืน
- สร้าง Barcode และ QR code
สำหรับโรงเรียนที่โอนเงินคืนมาที่ กสศ. แล้ว ไม่ต้องนำสลิปมาบันทึกในระบบให้เก็บไว้ เป็นหลักฐานที่โรงเรียน และสามาถพิมพ์ ใบเสร็จอิเล็กทรอนิกส์ได้ที่เมนู
*”การโอนเงินคืน กสศ. >> รายการใบเสร็จรับเงิน อิเล็กทรอนิกส์ BillPayment”
**โดยจะสามารถพิมพ์เอกสารใบเสร็จรับเงิน อิเล็กทรอนิกส์ได้ทุกวันที่ 15 และ วันสิ้นเดือน ของทุกเดือน
โครงการทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง
ทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง คือ ทุนที่เปิดโอกาสให้สถานศึกษาสายอาชีพ ทั้งภาครัฐและเอกชน ได้แก่ วิทยาลัยอาชีวศึกษา วิทยาลัยชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล และสถานศึกษาอื่น ๆ ที่จัดการเรียนการสอนสาขาวิชาชีพ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ต่อเนื่องระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือระดับอนุปริญญา หรือหลักสูตรประกาศนียบัตร (1 ปี) ที่ได้รับรองจากหน่วยงานต้นสังกัด ได้แก่ หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล และหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยทันตแพทย์ เสนอโครงการเพื่อยกระดับการทำงาน และส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาให้เด็ก เยาวชนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ หรือด้อยโอกาส โดยปลายทางสถานศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกจะยกระดับสู่สถาบันนวัตกรรมชั้นสูง
ทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง มี 3 ประเภท ได้แก่ 1) ทุน 5 ปี (ปวช. ต่อเนื่อง ปวส.) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หรือเทียบเท่า 2) ทุน 2 ปี (ปวส./อนุปริญญา) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ 3 หรือเทียบเท่า และ 3) ทุน 1 ปี (หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล/ผู้ช่วยทันตแพทย์) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ 3 หรือเทียบเท่า
- สาขาที่เป็นเป้าหมายหลักในการพัฒนาประเทศ ได้แก่ อุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ (First S Curve) และ อุตสาหกรรมอนาคต (New S-curve)
- สาขาที่ขาดแคลนด้านสายอาชีพ
2.1 สาขาหรือหลักสูตรประกาศนียบัตร (1 ปี) ที่สภาวิชาชีพรับรองหลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาลที่ได้รับการรับรองจากสภาการพยาบาล และหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยทันตแพทย์ที่ได้รับการรับรองจากทันตแพทยสภา
2.2 สาขาหรือหลักสูตรที่ขาดแคลนในท้องถิ่นหรือจังหวัดที่สถานศึกษาตั้งอยู่ - สาขาด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี (STEM) และ เทคโนโลยีดิจิทัล
- ทุน 5 ปี (ปวช. ต่อเนื่อง ปวส.) สำหรับนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ชั้น ม.3 หรือเทียบเท่า
- ทุน 2 ปี (ปวส./อนุปริญญา) สำหรับนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ชั้น ม.6 หรือ ปวช.3 หรือเทียบเท่า
- ทุน 1 ปี (หลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล/ผู้ช่วยทันตแพทย์) สำหรับนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ชั้น ม.6 หรือ ปวช.3 หรือเทียบเท่า
ผู้ขอรับทุนทั้ง 3 ประเภท จะต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
- เป็นผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ที่มีรายได้เฉลี่ยของครัวเรือนไม่เกิน 3,000 บาทต่อคนต่อเดือน หรือด้อยโอกาส
- มีศักยภาพในการศึกษาต่อ หรือความสามารถพิเศษโดดเด่นที่เกี่ยวข้องกับสาขาที่สถานศึกษาเปิดรับ
ทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูงเป็นทุนให้เปล่า หากผู้รับทุนเรียนจนจบการศึกษาตามระยะเวลาที่กำหนดของประเภททุนไม่ต้องชดใช้ทุน แต่ในกรณีที่ผู้รับทุนรายใดไม่สามารถเรียนจนจบการศึกษา ผู้รับทุนรายนั้นจะต้องเข้าสู่กระบวนการพิจารณาชดใช้ทุน โดยจะได้รับการยกเว้นการชดใช้ทุน หากเป็นเหตุสุดวิสัย
เมื่อรับทุนจากโครงการนี้ ผู้รับทุนต้องยุติการรับทุนอื่นจากภาครัฐที่มีลักษณะซ้ำซ้อนกัน รวมถึงยุติการกู้ยืมเงินจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการรับทุนพระราชทานและความช่วยเหลือจากภาคเอกชนที่ได้รับความเห็นชอบจากผู้ให้ทุนแล้ว
โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น (โครงการสร้างโอกาสทางการศึกษาสำหรับนักเรียนในพื้นที่ห่างไกลเป็นครูรุ่นใหม่เพื่อพัฒนาคุณภาพ โรงเรียนของชุมชน)
โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น มีเป้าประสงค์หลักคือ การแก้ปัญหาครูไม่ครบชั้นและโยกย้ายบ่อยของโรงเรียนขนาดเล็กในพื้นที่ห่างไกล ผลิตครูพัฒนาท้องถิ่น สู่การลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา จึงมีวัตถุประสงค์ในการผลิตและพัฒนาครูรุ่นใหม่ให้สอดคล้องกับความต้องการของโรงเรียนขนาดเล็กในชุมชนพื้นที่ห่างไกล ซึ่งได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานหลักในการผลิตและพัฒนาครู อาทิสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำหรับการจัดสรรอัตราข้าราชการครูเกษียณในปี 2567 ให้กับโครงการเพื่อรองรับการบรรจุบัณฑิตครูที่สำเร็จการศึกษาอย่างมีคุณภาพ มีจิตวิญญาณความเป็นครู มีสรรถนะพื้นฐานของวิชาชีพครู มีสรรถนะการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 รวมถึงมีสมรรถนะของนักพัฒนาชุมชน กลับไปเป็นครูในโรงเรียนพื้นที่ห่างไกลเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น
ด้วยหลักการสำคัญของโครงการข้างต้น โครงการจึงใช้ตำบลที่เป็นที่ตั้งของโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลที่มีอัตราบรรจุข้าราชการครูในปี 2567 เป็นฐานในการค้นหา คัดกรอง และคัดเลือกนักเรียนผู้รับทุน และสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนสาขาปฐมวัยและประถมศึกษาเป็นสถาบันผลิตและพัฒนาครูในโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น โดยมุ่งหวังที่จะให้นักศึกษาผู้รับทุนได้เข้ารับการศึกษาในสถาบันผลิตและพัฒนาครูที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคของภูมิลำเนาท้องถิ่นของตน เพื่อให้นักศึกษาผู้รับทุนได้เรียนในระบบการหล่อหลอมที่เข้าใจ และสอดคล้องกับบริบทชุมชนมากที่สุด
โครงการทุนพระกนิษฐาสัมมาชีพ (ทุนพัฒนาเต็มศักยภาพสายอาชีพ)
“ทุนพระกนิษฐาสัมมาชีพ” คือ ทุนที่ส่งเสริมส่โอกาสทางศึกษาต่อเต็มศักยภาพให้กับกลุ่มเป้าหมายผู้ใกล้จบปวช. /ปวส. หรืออนุปริญญาสายอาชีพให้ได้รับโอกาสทางศึกษาและการพัฒนาต่อเต็มศักยภาพอย่างต่อเนื่องระดับปริญญาตรีถึงปริญญาเอก
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานชื่อทุนเพื่อเป็นสิริมงคลแก่นักศึกษาทุน โดยพระองค์ท่านทรงให้ความสำคัญกับการสร้างโอกาสทางการศึกษาสายอาชีพ
ทุนพระกนิษฐาสัมมาชีพ เป็นทุนให้เปล่า ไม่ต้องชดใช้ทุนหากเรียนจนสำเร็จการศึกษาที่กำหนด กรณีที่ผู้รับไม่สามารถเรียนจนจบการศึกษา ผู้รับทุน รายนั้นจะต้องเข้าสู่กระบวนการพิจารณาชดใช้ทุน
ผู้รับทุนไม่สามารถรับทุนการศึกษาอื่นของหน่วยงานภาครัฐที่มีลักษณะซ้ำซ้อนกับ กสศ. ได้ รวมถึง กยศ.ด้วย
กสศ. ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้รับทุนศึกษาต่ออย่างเต็มศักยภาพจนถึงระดับปริญญาเอกการศึกษาต่อในแต่ละระดับจะมีการพิจารณาความเหมาะสม เป็นระดับขั้นไปด้วย
ใช่ โดย กสศ. กำหนดให้ผู้รับทุนต้องรักษาผลการเรียนเฉลี่ยห้ามต่ำกว่า 2.75 ในสองภาคการศึกษาติดต่อกัน ซึ่งหากมีผลการเรียนต่ำกว่า 2.75
ใช่ โดย กสศ. กำหนดให้ผู้รับทุนต้องรักษาผลการเรียนเฉลี่ยห้ามต่ำกว่า 2.75 ในสองภาคการศึกษาติดต่อกัน ซึ่งหากมีผลการเรียนต่ำกว่า 2.75 สองภาคการศึกษาติดต่อกัน กสศ. มีสิทธิ์ระงับการให้ทุนชั่วคราว หรือยุติการให้ทุน
หากนักศึกษาทุนต้องการศึกษาต่อในระดับปริญญาโท นักศึกษาทุนจะต้องมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมอย่างต่ำ 3.00
ค่าใช้จ่ายรายเดือน 10,000 บาทต่อเดือน ค่าธรรมเนียมการศึกษาไม่เกิน 40,000 บาทต่อปี (เบิกจ่ายตามจริง) ค่าอุปกรณ์การเรียน 10,000 บาทต่อ เดือน (เบิกจ่ายตามจริง) ค่าสนับสนุนโครงงานวิจัย 30,000 บาทต่อปี (เบิกจ่ายตามจริง)
โครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง
การพัฒนาโรงเรียนให้สามารถบริหารจัดการตนเองได้ทั้งระบบ ทั้งด้านการบริหารจัดการ ซึ่งประกอบด้วย
- โรงเรียนกำหนดการเป้าหมาย (Goal) ที่ชัดเจนเพื่อยกระดับการเรียนรู้ของนักเรียนในโรงเรียน
- เกิดการใช้ระบบสารสนเทศ (Info) สำหรับผู้บริหารและครูเพื่อใช้ในการบริหาร โดยเฉพาะการดูแลติดตามนักเรียนเป็นรายบุคคล
- เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (PLC) เป็นชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของครูมืออาชีพเพื่อการพัฒนาผู้เรียนโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษาและเครือข่ายต่างๆ (Network) และด้านการจัดการเรียนการสอน
- โรงเรียนมีกระบวนการพัฒนาการเรียนการสอนของครูในระดับชั้นเรียน (Classroom) ที่เป็น Active Learning รูปแบบต่างๆ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาผู้เรียนตามที่กำหนด เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะการเรียนรู้สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 และมีแนวโน้มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามที่กำหนดเพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะการเรียนรู้สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21และมีแนวโน้มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ทั้งนี้การพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบต้องดำเนินงานร่วมกับทีมพี่เลี้ยงภายนอกโรงเรียน (Coach) เพื่อทำหน้าที่สนับสนุน ส่งเสริม จัดกระบวนการให้คำปรึกษาแนะนำเทคนิคกระบวนการพัฒนาระบบบริหารจัดการ และกระบวนการเรียนการสอนให้ผู้บริหารโรงเรียน ครูในโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงให้เกิดการพัฒนาด้านการศึกษาตามบริบทของพื้นที่
โครงการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
เด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาและเด็กปฐมวัยเป็น 2 ใน 7 ของกลุ่มเป้าหมายหลักที่ระบุไว้ในวัตถุประสงค์ของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาในการช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาสทางการศึกษา โดยทั้งสองกลุ่มมีความสำคัญ ดังนี้
- เด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา เป็นกลุ่มที่ขาดเจ้าภาพหลักในการดูแลช่วยเหลือ รวมถึงขาดการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานเพื่อใช้เป็นเครื่องมือช่วยเหลืออย่างทันการณ์และสามารถติดตามดูแลได้อย่างต่อเนื่อง
- เด็กปฐมวัย เป็นช่วงอายุที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาสมอง การลงทุนในการศึกษากับเด็กวัยนี้จะให้ผลตอบแทนทางสังคมที่สูงมากถึงร้อยละ 13.7 ต่อปี ดังนั้นการสนับสนุนให้เด็กปฐมวัยได้รับการดูแลเพื่อให้มีพัฒนาการที่สมวัย จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพของประเทศ
โครงการพัฒนาระบบทดลองการพัฒนาทักษะแรงงานที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาส
คือหน่วยงาน สถาบันการศึกษา ทั้งรัฐ เอกชน และภาคประชาสังคมที่มีแนวคิดการพัฒนาอาชีพที่ใช้ชุมชนเป็นฐานและมีบทบาทในการพัฒนากลุ่มประชากรวัยแรงงาน อาทิ หน่วยงานหรือสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนพัฒนาอาชีพ องค์กรสาธารณประโยชน์ที่ทำงานกับกลุ่มเป้าหมาย
- สถานภาพ เป็นหน่วยงาน สถาบันการศึกษา ทั้งรัฐเอกชนและภาคประชาสังคมที่มีรูปแบบการพัฒนาอาชีพที่ใช้ชุมชนเป็นฐานและมีบทบาทในการพัฒนากลุ่มประชากรวัยแรงงาน
- การส่งเสริมอาชีพ เป็นหน่วยพัฒนาอาชีพซึ่งมีประวัติที่แสดงถึงศักยภาพในการพัฒนาทักษะอาชีพ การฝึกอบรม หรือการพัฒนาหลักสูตรที่เน้นการปฏิบัติจริง ไม่น้อยกว่า 3 ปี
- ประสบการณ์การทำงานเชิงพื้นที่ เป็นหน่วยงานที่มีประสบการณ์การทำงานชุมชนหรือพื้นที่ ไม่น้อยกว่า 3 ปี
- ความพร้อม เป็นหน่วยงานที่มีศักยภาพ ความพร้อมด้านเครื่องมือ อุปกรณ์และความเชี่ยวชาญ
ประชากรวัยแรงงานที่ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือความด้อยโอกาสตามเกณฑ์ที่กำหนด
กลุ่มประชากรวัยแรงงานนอกระบบที่มีการศึกษาต่ำกว่าระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและมีรายได้ต่ำกว่า 6,500 บาท ทำงานอยู่ในภาคเกษตรกรรม และหัตถกรรม รวมถึงในอุตสาหกรรมเบา เน้นการใช้แรงงานหนักและราคาถูก รวมถึงต้องมีการยกระดับสินค้าที่ผลิตทั้งในเชิงคุณภาพและมาตรฐาน โดยการใช้เทคโนโลยีนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ และการบริหารจัดการที่ดี
หากท่านยังมีข้อสงสัยหรืออยากรู้คำตอบเพิ่มเติม ท่านสามารถสอบถามได้โดยตรง โดยคลิก “แชทกับ กสศ. กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา” (Messenger App) บริเวณด้านล่างของหน้าเว็บไซต์ หรือคลิกที่นี่