โครงสร้างและอำนาจหน้าที่
แผนผังโครงสร้าง
(โปรดคลิกกล่องข้อความในแผนภาพเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม)
หน้าที่และอำนาจของ กสศ.
พระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ.2561 กำหนดวัตถุประสงค์ และอำนาจหน้าที่กองทุนฯ ดังนี้
วัตถุประสงค์ของ กสศ.
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา หรือ กสศ. จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา รวมทั้งมีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้
- ส่งเสริม สนับสนุน และให้ความช่วยเหลือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน หรือภาคประชาสังคม เพื่อให้เด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กปฐมวัย ได้รับการพัฒนา ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาที่เหมาะสมกับวัย
- ให้ความช่วยเหลือ ส่งเสริม พัฒนา และสนับสนุนเงินและค่าใช้จ่ายให้แก่เด็กและเยาวชน ซึ่งขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาส และผู้ด้อยโอกาส จนสำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- เสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครูให้มีความสามารถในการจัดการเรียนการสอน สามารถพัฒนาเด็กและเยาวชนตามพื้นฐานและศักยภาพที่แตกต่างกัน
- ส่งเสริม สนับสนุน และให้ความช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และผู้ด้อยโอกาส ให้ได้รับการศึกษาหรือพัฒนา เพื่อให้มีความรู้ความสามารถในการประกอบอาชีพตามความถนัดและ มีศักยภาพที่จะพึ่งพาตนเองในการดำรงชีวิตได้
- ส่งเสริม สนับสนุน และให้ความช่วยเหลือสถานศึกษา เพื่อให้มีการเรียนการสอนที่ทำให้ ผู้เรียนสามารถรู้และพัฒนาได้ตามความถนัดและศักยภาพของตน
- ดำเนินการหรือจัดให้มีการศึกษา วิจัย หรือคันคว้าแนวทางในการพัฒนาครู ให้มีจิตวิญญาณ ของความเป็นครู มีคุณธรรม มีจริยธรรม มีความรู้ และมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนและ การพัฒนาผู้เรียนเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษาโดยมีแรงจูงใจที่เหมาะสม รวมทั้งส่งเสริมหรือ สนับสนุนให้มีการจัดตั้งสถาบันตันแบบในการผลิตและพัฒนาครู
- ดำเนินการหรือจัดให้มีการศึกษา วิจัย และพัฒนาองค์ความรู้เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนการนำองค์ความรู้ตังกล่าวไปใช้เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา สนองความต้องการทางด้านกำลังแรงงาน และการยกระดับความสามารถของคนไทย การขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาสตาม (2) และ (4) ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด ในการนี้ ให้คณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องประกอบการพิจารณาด้วย ในการดำเนินการเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ตามวรรคหนึ่ง กองทุนจะดำเนินการเองหรือร่วมกับ หน่วยงานอื่นของรัฐหรือภาคเอกชนในการดำเนินการก็ได้
อำนาจกระทำกิจการของกองทุน
กองทุนมีอำนาจกระทำกิจการต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ตามมาตรา 5 และอำนาจเช่นว่านี้ให้รวมถึง
- ถือกรรมสิทธิ์ มีสิทธิครอบครอง และมีทรัพยสิทธิต่างๆ
- ก่อตั้งสิทธิหรือกระทำนิติกรรมใด ๆ ทั้งในและนอกราชอาณาจักร
- ลงทุนหาผลประโยชน์จากเงินและทรัพย์สินของกองทุน
- กระทำการอื่นใดที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องในการจัดการให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
การลงทุนตาม (3) ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
หน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการบริหาร กสศ.
- กำหนดนโยบาย เป้าหมาย และแนวทางการดำเนินงานของกองทุนเพื่อให้การดำเนินงานของกองทุนเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ซึ่งต้องสอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ ยุทธศาสตร์ชาติ และแผนและขั้นตอนการปฏิรูปประเทศด้วย
- เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับมาตรการและผลการศึกษา วิจัย หรือค้นคว้าที่เป็นประโยชน์ต่อการลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา เพื่อให้กระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ
- พิจารณาอนุมัติแผนการดำเนินงาน แผนการพัฒนานวัตกรรม แผนบริหารความเสี่ยง และงบประมาณรายจ่ายประจำปีของกองทุน
- ควบคุมดูแลและจัดให้มีการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ นโยบาย เป้าหมาย และแนวทางตาม (1) และแผนและงบประมาณตาม (3) โดยต้องสอดคล้องกับหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
- ออกระเบียบเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การเงิน การจัดซื้อจัดจ้าง การพัสดุ การบัญชี การตรวจสอบภายใน การบริหารความเสี่ยง การติดตาม การประเมินผล และการเปิดเผยผลการทำงาน และระเบียบอื่นใดที่จำเป็นต่อการดำเนินงานของกองทุน
- ออกระเบียบเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ในการตรวจสอบข้อมูลและการช่วยเหลือเด็กปฐมวัย เด็กและเยาวชนซึ่งขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาส ผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ผู้ด้อยโอกาส ครอบครัวที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ และครู
- ออกระเบียบเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ งื่อนไข และลำดับความสำคัญในการจัดสรรเงินกองทุนเพื่อใช้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในมาตรา 5
- ออกระเบียบเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการสรรหาผู้จัดการ ออกระเบียบและประกาศเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
- แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
- ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่พระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นหน้าที่หรืออำนาจของคณะกรรมการในการกำหนดนโยบาย เป้าหมาย และแนวทางการดำเนินงานตาม (1) ให้คณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องประกอบการพิจารณาด้วย
นโยบาย เป้าหมาย และแนวทางการดำเนินงานตาม (1) และแผนและงบประมาณที่ได้รับอนุมัติตาม (3) ให้เผยแพร่ให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไปด้วย
ระเบียบตาม (5) (6) (7) และ (8) เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้และให้คณะกรรมการจัดให้มีการทบทวนความเหมาะสมของระเบียบดังกล่าวอย่างน้อยทุกรอบห้าปีนับแต่วันที่ระเบียบนั้นมีผลใช้บังคับโดยรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องประกอบการพิจารณาด้วยความในวรรคสี่ให้ใช้บังคับแก่การออกระเบียบและประกาศตาม (9) ที่มีผลใช้บังคับแก่บุคคลทั่วไปด้วยโดยอนุโลม
การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานตาม (10) ให้กระทำเพียงเท่าที่จำเป็น โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพในการดำเนินงานและความคุ้มค่าในการใช้จ่ายเงินของกองทุน และให้กำหนดภารกิจและกรอบเวลาดำเนินงานของคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานให้ชัดเจน
หน้าที่และอำนาจของสำนักงาน กสศ.
- ดำเนินงานต่าง ๆ ของกองทุนและประสานความร่วมมือกับส่วนราชการและองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- ทำหน้าที่ธุรการและอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ
- ศึกษา วิจัย ค้นคว้า และพัฒนาองค์ความรู้เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
- สนับสนุนและเผยแพร่ผลการศึกษา วิจัย ค้นคว้า และพัฒนาองค์ความรู้ตาม (3) และการนำผลดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ ตลอดจนประเมินผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการดังกล่าว
- ส่งเสริมและรณรงค์ให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการบริจาคหรือให้การสนับสนุนกิจการของสถานศึกษาหรือของกองทุน
- จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีของกองทุนเพื่อเผยแพรให้ประชาชนทราบ
- ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
หน้าที่และอำนาจของส่วนงานต่าง ๆ
ส่วนงาน | หน้าที่และอำนาจ |
---|---|
คณะกรรมการบริหาร กสศ. | กำหนดนโยบาย เป้าหมาย แนวทางการดำเนินงาน ระเบียบของ กสศ. และควบคุมดูแลการดำเนินงานของ กสศ. |
คณะกรรมการตรวจสอบภายใน | ตรวจสอบภายในเพื่อรายงานผลการตรวจสอบโดยตรงต่อคณะกรรมการ |
คณะอนุกรรมการด้านต่าง ๆ | ปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการมอบหมาย |
ผู้จัดการ | รับผิดชอบต่อคณะกรรมการ และเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้าง รับผิดชอบการบริหารกิจการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน กฎหมาย ระเบียบ ประกาศ นโยบาย และมติของคณะกรรมการ |
ฝ่ายตรวจสอบภายใน | วางแผนและดำเนินการตรวจสอบภายใน และรายงานต่อคณะกรรมการตรวจสอบภายใน |
กลุ่มภารกิจมุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมาย | |
• สำนักพัฒนาการเรียนรู้เชิงพื้นที่ | สนับสนุนการทำงานแบบผสมผสานและบูรณาการระหว่างส่วนงานในสำนักงาน เพื่อให้เกิดบูรณาการการทำงานด้านข้อมูล องค์ความรู้ และการขยายผล |
• สำนักพัฒนาหลักประกันโอกาสทางการศึกษา | สนับสนุนการคัดกรองความยากจนและความด้อยโอกาสในมติต่าง ๆ เพื่อให้ความช่วยเหลือเด็กและเยาวชนในครัวเรือนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาสให้สามารถเข้าถึงโอกาสทางการเรียนรู้ |
• สำนักพัฒนานวัตกรรมเพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้ | สนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมการศึกษาและการเรียนรู้ ตลอดจนส่งเสริมทุนการศึกษาและการพัฒนาอาชีพเพื่อสร้างโอกาสให้แก่เยาวชนและประชากรวัยแรงงานจากครัวเรือนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาส |
• สำนักพัฒนาคุณภาพครูและสถานศึกษา | สนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครู รวมถึงพัฒนาโรงเรียนและระบบนิเวศการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ พัฒนาการเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพและความถนัด |
กลุ่มภารกิจมุ่งเน้นกลยุทธ์ | |
• สำนักวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา | สนับสนุนการขับเคลื่อนภารกิจของ กสศ. ที่เป็นกลุ่มภารกิจมุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมาย และส่วนงาน รวมถึงภาคีเครือข่ายและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในภาคส่วนต่าง ๆ ตามกรอบแนวคิด “ห่วงโซ่มาตรการ” (Intervention Value Chain) |
• สำนักสื่อสารสาธารณะและระดมความร่วมมือ | ดำเนินการสื่อสารองค์กรและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมความเสมอภาคทางการศึกษาทุกระดับ รวมทั้งจัดทำกลยุทธ์และส่งเสริมการระดมความร่วมมือและทรัพยากรจาก ทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป |
• สำนักบริหารกลยุทธ์ งบประมาณ และเงินกองทุน | ดำเนินการเกี่ยวกับการวางแผนและพัฒนากลยุทธ์ บริหารและติดตามการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ แผนการดำเนินงานและแผนการใช้เงินประจำปี แผนบริหารความเสี่ยง รวมถึงพัฒนากระบวนการ |
กลุ่มภารกิจด้านระบบงานองค์กร | |
• สำนักบริหารทั่วไป | ดำเนินการด้านการรับเงินและเบิกจ่ายเงินทุกประเภท นำฝากและเก็บรักษาเงิน จัดทำรายงานเงินคงเหลือประจำวัน และรายงานการเงินอื่นใดที่ได้รับทอบหมาย จัดทำบัญชีและรายงานการเงินขององค์กร |
• สำนักธรรมาภิบาล | สนับสนุนการพัฒนาระบบต่าง ๆ และพัฒนากระบวนการจัดการของสำนักงานให้กระชับ มีประสิทธิภาพ เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี |
• สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ | จัดทํา พัฒนา หรือสนับสนุนระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อรองรับการบริหารของสํานักงานที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพ โดยนำเทคโนโลยีมาใช้เป็นเครื่องมือ |
กลุ่มภารกิจด้านบริหารองค์กร | |
• สำนักผู้จัดการ | สนับสนุนให้เกิดบูรณาการการทำงานของกลุ่มภารกิจมุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มภารกิจมุ่งเน้นกลยุทธ์ และกลุ่มภารกิจด้านระบบงานองค์กร ให้ตอบสนองการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ |
• ฝ่ายทรัพยากรบุคคล | ดําเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของสํานักงาน ได้แก่การสรรหา การบรรจุแต่งตั้งบุคลากร รวมถึงศึกษา วิเคราะห์ วางแผน กำหนดกลยุทธ์ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล |
• รองผู้จัดการ/ผู้ช่วยผู้จัดการ | รับผิดชอบการกำกับดูแลส่วนงาน/หน่วยงาน ตามที่ผู้จัดการมอบหมาย |
• ผู้อำนวยการสำนัก | ปฏิบัติงานเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้าง และรับผิดชอบการบริหารกิจการในส่วนของสำนักที่เกี่ยวข้อง |
• ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการ | ปฏิบัติงานและขึ้นตรงต่อผู้จัดการ |