การส่งเสริมทักษะเพื่อสร้างความเสมอภาคและเลื่อนชั้นทางสังคม
โดย : Professor James J. Heckman, Director of The Center for the Economics of Human Development, University of Chicago

การส่งเสริมทักษะเพื่อสร้างความเสมอภาคและเลื่อนชั้นทางสังคม

ช่องว่างทางทักษะระหว่างกลุ่มเศรษฐกิจและสังคมที่แตกต่างกัน เปิดกว้างตั้งแต่อายุยังน้อย: ทักษะไม่ได้ถูกกำหนดตั้งแต่เกิด แต่จะค่อยๆ พัฒนาและส่งเสริมขึ้นตามอายุของคน แม้ว่าทักษะมีองค์ประกอบทางพันธุกรรม แต่ไม่ได้ถูกกำหนดโดยพันธุกรรมเพียงอย่างเดียว ดังนั้นทักษะสามารถพัฒนาขึ้นได้และสามารถถูกส่งเสริมผ่านการลงทุนและสภาพแวดล้อม

หลักฐานประสิทธิภาพในการส่งเสริมทักษะ

ปัญหาทางสังคมของผู้ใหญ่ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80 มีรากฐานมาจากช่วงวัยเด็กก่อนอายุ 5 ปี ดังนั้นการระบุเด็กที่มีความเสี่ยงตั้งแต่วัยเด็ก (ช่วงก่อนอายุ 5 ปี) อาจจะช่วยป้องกันปัญหาเหล่านี้ได้ ซึ่งข้อมูลตัวชี้วัดนี้สามารถนำไปใช้ในการออกแบบการส่งเสริมทักษะและพฤติกรรมเชิงบวกในปฐมวัย (Capsi et. al, 2016)

ทักษะที่จำเป็นต่อความสำเร็จในชีวิต

ความสำเร็จในชีวิตไม่ได้ขึ้นอยู่กับทักษะทางปัญญาเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงทักษะทางสังคมและอารมณ์ (Socio emotional) ด้วยเช่นกัน ทักษะทางปัญญา ที่วัดโดยคะแนน IQ และผลการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ยังคงเป็นทักษะที่สำคัญสำหรับการเรียนรู้และประสบความสำเร็จในทางวิชาการ อย่างไรก็ตาม ทักษะทางสังคมและอารมณ์ ก็มีบทบาทสำคัญต่อความสำเร็จในชีวิตเช่นกัน เช่น ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Sociability) หรือ ความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง เป็นต้น

ครอบครัวมีอิทธิพลอย่างมากในการหล่อหลอมทักษะของเด็ก

กรณีศึกษางานวิจัย Family Environments Vary and Matter : Hart and Risley (1995) พบว่าเด็กที่มาจากครอบครัวสวัสดิการทางสังคม (Welfare Family Status) รู้คำศัพท์อยู่ที่ 616 คำ ในขณะที่เด็กจากครอบครัวกลุ่มทำงาน (Working Class Status ) และกลุ่มมีฐานะดีขึ้น (Professional Status) มีการรู้คำศัพท์อยู่ที่ 1,251 และ 2,153 คำ ตามลำดับ จึงเป็นที่มาว่า ในอดีต “ความยากจนของเด็ก” มักถูกวัดโดยพิจารณาจากรายได้ของครอบครัวเพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตาม งานวิจัยชิ้นใหม่ๆชี้ให้เห็นว่าความยากจนของเด็กไม่ได้จำกัดอยู่แค่เพียงจำนวนรายได้อย่างเดียว แต่ยังรวมถึงปัจจัยด้านการเลี้ยงดูอีกด้วย เด็กที่เติบโตขึ้นมาในครอบครัวที่มีรายได้น้อยแต่ได้รับการเลี้ยงดูที่ดีมักมีโอกาสประสบความสำเร็จในชีวิตมากกว่าเด็กที่เติบโตขึ้นมาในครอบครัวที่มีรายได้สูงแต่ไม่ได้รับการเลี้ยงดูที่ดี ดังนั้นการสนับสนุนด้านการเลี้ยงดูที่ดี สามารถช่วยให้เด็กที่เติบโตขึ้นมาในครอบครัวที่มีรายได้น้อย มีโอกาสประสบความสำเร็จในชีวิตและลดปัญหาความยากจนของเด็กลงได้

จากกราฟข้างต้นจะเห็นว่า ผลผลิตส่วนเพิ่มต่อหน่วยมูลค่าที่ลงทุน (Marginal Products Per Unit Value Invested) ในแต่ละช่วงชีวิตมีผลตอบแทนที่แตกต่างกัน เช่น การลงทุนช่วงปฐมวัย มีผลตอบแทนที่สูงเมื่อเทียบกับช่วงวัยกลางคน เนื่องด้วยปัจจัยรอบด้านของช่วงอายุที่มีผลกระทบต่อการลงทุนและการพัฒนาทักษะของแต่ละบุคคล

เริ่มต้นยิ่งเร็ว ผลลัพธ์การลงทุนยิ่งคุ้มค่า กรณีตัวอย่างจาก Perry Preschool Projects

เริ่มต้นที่กลุ่มเด็กอายุ 3 ปี โดยมีการเยี่ยมบ้าน (Home Visit) 2 ชั่วโมง/ครั้ง ในระยะเวลา 2 ปี ผ่านกระบวนการ Plan Do และ Review โดยสามารถสรุปได้ว่าการลงทุนในโปแกรมนี้มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าถึง 10% เมื่อเทียบกับผลตอบแทนต่อเงินลงทุน 1 ดอลลาร์ และปัจจัยทางอารมณ์และสังคมได้รับการเสริมสร้างอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า ซึ่งการคำนวณอัตราส่วนระหว่างมูลค่าประโยชน์ที่ได้รับ กับต้นทุนที่ใช้ไปมีค่ามากกว่า 1 หมายความว่า โครงการนี้สร้างผลประโยชน์มากกว่าต้นทุนที่ลงทุนไป ซึ่งมีทั้งผลประโยชน์โดยตรงและผลประโยชน์ทางอ้อม

โอกาสประสบความสำเร็จในชีวิตที่เพิ่มสูงขึ้น
ความสำคัญของ Benefit-cost Ratio ของ Perry Preschool Project

Perry Preschool Project มุ่งเน้นไปที่การศึกษาผลกระทบของการให้การศึกษาปฐมวัยที่มีคุณภาพ แก่เด็กด้อยโอกาสในชุมชน ซึ่งเป็นโครงการวิจัยและติดตามเด็กกลุ่มเป้าหมายเป็นเวลาหลายปี ในการวิจัยมีการค้นพบว่า เด็กที่เข้าร่วมโครงการมีโอกาสประสบความสำเร็จในชีวิตมากกว่าเด็กที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ เช่น มีโอกาสเรียนจบมัธยมปลาย และเข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยมากกว่าเด็กที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ

กลไกเบื้องหลังการส่งเสริมอย่างมีประสิทธิภาพในช่วงปฐมวัย มีปัจจัยประกอบที่หลากหลายสู่การประสบความสำเร็จ เช่น สภาพแวดล้อมในครอบครัวของเด็กในรุ่นที่สอง (Second Generation Family) การเสริมสร้างชีวิตที่บ้านของเด็กนอกเหนือจากศูนย์เด็กเล็กจากกระบวนการสอนผู้ปกครองเกี่ยวกับทักษะการเลี้ยงดูลูก หรือวิธีการส่งเสริมพัฒนาการของลูกที่บ้าน หรือแม้กระทั่งการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองหลังจากเด็กจบจากเตรียมอนุบาล (Pre-K) ไปแล้ว

กรณีตัวอย่างจาก China REACH in Huachi : Mai Lu, Zhou Jin, and Liu Bei (Sponsored by CDRF)

โปรแกรมนี้ส่งบุคคลที่ผ่านการฝึกอบรมมาแล้วที่มีทักษะคล้ายคลึงกับคุณแม่ไปเยี่ยมครอบครัวที่มีเด็กเล็ก เป็นเวลา 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ เริ่มต้นไม่นานหลังจากเด็กได้เกิดขึ้นมาและดำเนินต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 3 ปี แนวทางนี้มีพื้นฐานมาจากโปรแกรมที่ประสบความสำเร็จชื่อ “Jamaica Reach Up and Learn” มากกว่านั้น การเยี่ยมบ้าน (Home Visiting) เป็นทางเลือกที่คุ้มค่า โดยมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าถึง 5% เมื่อเทียบกับ Omnibus Programs และมีการเข้าถึงที่ง่ายกว่า เหมาะสำหรับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กในทุกพื้นที่เพราะสามารถปรับรูปแบบให้เหมาะสมกับพื้นที่ชนบทห่างไกลและสภาพแวดล้อมที่ยากจน

การลงทุนในทักษะเพื่อแก้ไขปัญหาสังคม
การลงทุนในช่วงปฐมวัยโดยเฉพาะการส่งเสริมการเลี้ยงดูเป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาทักษะ และแก้ไขปัญหาสังคมที่สามารถส่งผลต่อเด็กทั้งในรุ่นปัจจุบันและรุ่นถัดไป

หลายประเทศกำลังเผชิญกับปัญหาสังคมต่างๆ  ดังนั้นการพัฒนาทักษะของบุคคลจึงเป็นแนวทางสำคัญในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้

งานวิจัยชี้ให้เห็นว่าทักษะมีความหลากหลาย และการประเมินผลของโครงการส่งเสริมทักษะควรคำนึงถึงทักษะในหลากหลายมิติ

1. ช่วงปฐมวัยของชีวิต (ในครอบครัว) มีผลกระทบอย่างมากต่อความสำเร็จในชีวิต 
2. การเลี้ยงดูเด็กโดยผู้ปกครองเป็นหัวใจสำคัญของการส่งเสริมที่ประสบความสำเร็จ 
3. การให้คำแนะนำ (Mentoring) เป็นรูปแบบหนึ่งของการเลี้ยงดู และ 
4. การส่งเสริมในช่วงปฐมวัยที่เน้นการส่งเสริมการเลี้ยงดูเด็กอย่างมีประสิทธิภาพ

หัวใจสำคัญของโครงการที่มีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับพ่อแม่/ผู้ดูแล และโครงการ “Jamaica Reach Up” เป็นต้นแบบที่สามารถนำไปปรับใช้ได้เป็นอย่างดี

Professor James J. Heckman
Director of The Center for the Economics of Human Development
University of Chicago


เรียบเรียงจาก :
งานแถลงข่าวความร่วมมือทางวิชาการเพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาและพัฒนาทุนมนุษย์ และ การเสวนาแลกเปลี่ยนผลวิจัย การพัฒนาการเลี้ยงดูของผู้ปกครอง (Parenting Program) เพื่อพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัยอย่างยั่งยืน

แปลและเรียบเรียงโดย :

พรวลัย ศุภธนกิจ  นักวิชาการสื่อสารนโยบาย   
สำนักสื่อสารสาธารณะและระดมความร่วมมือ  กสศ.