การป้องกัน คือมาตราการสำคัญที่สุดในการแก้ปัญหาการหลุดจากระบบการศึกษาของเด็กและเยาวชน
ตลอด 6 ปีที่ผ่านกสศ.พัฒนาโครงการเงินอุดหนุนอย่างมีเงื่อนหรือทุนเสมอภาค เพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาในรายการที่นอกเหนือจากรัฐจัดสรรให้ เช่น ค่าเดินทางไปโรงเรียน ค่าอาหารเช้า โดยมีเงื่อนไขที่นักเรียนทุนเสมอภาคต้องรักษาอัตราการมาเรียนและมีพัฒนาการด้านร่างกายที่สมวัยตามเกณฑ์ การคัดกรองนักเรียนทุนเสมอภาคได้รับการสนับสนุนจากครูทั่วประเทศในการเดินทางลงพื้นที่เยี่ยมบ้านนักเรียนเป็นรายบุคคล หลายพื้นที่มีความยากลำบากต้องฝ่าฟันอุปสรรค เพื่อบันทึกและนำส่งข้อมูลสถานะความยากจนของครัวเรือนนักเรียนให้แก่ กสศ. ดำเนินการคัดกรองความยากจนด้วยวิธีการวัดรายได้ทางอ้อม (Proxy Means Test: PMT) รวมถึงส่งต่อฐานข้อมูลผลการคัดกรองความยากจนให้แก่ต้นสังกัดของสถานศึกษา เพื่อจัดสรรเงินอุดหนุนในส่วนปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจน หลังจากนักเรียนยากจนพิเศษได้รับทุนเสมอภาค กสศ. ได้รับความร่วมมือจากครูอย่างต่อเนื่อง ในการบันทึกอัตราการมาเรียน ผลการเรียน รวมถึงน้ำหนักและส่วนสูงของนักเรียนทุนเสมอภาค กสศ. ได้นำข้อมูลนี้มาศึกษา วิจัยเพื่อปรับปรุงและพัฒนาหลักเกณฑ์การดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศมากยิ่งขึ้น
ฐานข้อมูลนี้ยังนำใช้ในการติดตามและป้องกันการหลุดออกจากระบบการศึกษา โดยกสศ. ร่วมกับหน่วยงานต้นสังกัดของสถานศึกษาและหน่วยงานทางวิชาการ พัฒนาต้นแบบระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อคัดกรองนักเรียนที่มีความเสี่ยงหลุดออกจากระบบการศึกษาได้ครอบคลุมในหลายมิติ เช่น ความยากจน สุขภาพ พฤติกรรม และการเรียนรู้ โดยจะนำไปใช้ในการติดตามและป้องกันมิให้นักเรียนกลุ่มเสี่ยงต้องหลุดออกจากระบบการศึกษา ร่วมกับหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ยังนำฐานข้อมูล ไปพัฒนาระบบส่งต่อโอกาสการศึกษา ในระดับสูงขึ้นตามศักยภาพ
กสศ.ชวนคุณติดตามผลลัพธ์ทุนเสมอภาคต่อการป้องกันเด็กยากจน 1.3 ล้านคน ไม่ให้หลุดจากระบบการศึกษาอย่างได้ผล และความก้าวหน้าการผลักดันนโยบายเพื่อไปให้ถึงหลักประกันโอกาสการศึกษา จากข้อมูลชุดนี้