กระบวนของการสร้างครูของโรงเรียน และครูของชุมชน ภายใต้ชื่อ ‘ครูรัก(ษ์)ถิ่น’ ผ่านมาแล้วกว่า 5 ปีตั้งแต่เริ่มจัดตั้งโครงการในปี 2562 โดยมีเป้าหมายในการผลิตครูรุ่นใหม่หัวใจรัก(ษ์)ถิ่น 5 รุ่นรวมกว่า 1500 คน ซึ่งปี 2567 นี้ ครูรัก(ษ์)ถิ่นรุ่น 1 ที่นับเป็นรุ่นปฐมบทได้สำเร็จการศึกษาตามเป้าหมายครบทั้ง 327 คนแล้ว และเตรียมพร้อมสำหรับการทำหน้าที่ครูที่โรงเรียนบ้านเกิดใน 285 โรงเรียนพื้นที่ห่างไกล ซึ่งจะได้บรรจุเป็นข้าราชการครูเต็มตัวในเดือนตุลาคมปีนี้
“เรียนจบ แต่อาชีพครูไม่จบ” ครูรัก(ษ์)ถิ่น แม้จะเรียนจบ 4 ปีจากสถาบันการศึกษาแล้วก็ตาม แต่พวกเขาจะยังคงสร้างความต่อเนื่อง ทำหน้าที่พัฒนาการศึกษาในโรงเรียนปลายทางอย่างน้อย 6 ปีต่อเนื่องตามเงื่อนไขทุนจดทะเบียน
เมื่อมีวันปฐมนิเทศ ก็ย่อมต้องถึงวันแห่งการปัจฉิมนิเทศ สำหรับครูรัก(ษ์)ถิ่นรุ่น 1 ไม่ใช่การปัจฉิมเพื่อการจากลา แต่เป็นการปัจฉิมสถานะจากนักศึกษาสู่การเป็นครูจริงๆ เราจึงชวนครูรุ่นพี่ 5 คน ที่เดินทางในเส้นทางการศึกษา และมีคำหน้าว่าครูหรืออาจารย์อย่างยาวนาน มาฝากบอกอะไรแก่ครูรุ่นใหม่ที่จะช่วยกันสร้างการศึกษาให้มีความหวังต่อไป
รองศาสตราจารย์ ดร.ดารณี อุทัยรัตนกิจ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ประธานอนุกรรมการพัฒนาระบบการผลิตและพัฒนาครูสำหรับโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล
ในฐานะหัวเรือใหญ่ร่วมก่อฐานโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น อาจารย์ดารณี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และประธานอนุกรรมการพัฒนาระบบการผลิตและพัฒนาครูสำหรับโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล มีสิ่งที่อยากฝากบอกครูรัก(ษ์)ถิ่นรุ่น 1
“อันดับแรกเลยต้องขอบคุณที่เลือกมาเรียนครู เขาเรียนรู้มาเยอะ อยากให้เขามีความสุขกับการทำงาน อาชีพครูมีคุณค่า ทำประโยชน์ให้คนอื่น เรามีความสุข สร้างความสุข สร้างพลังให้ตัวเรา เด็กทุกคนมีชีวิตมีจิตใจ การที่เราได้มีโอกาสให้และหล่อหลอมให้เด็กคนหนึ่งได้โตมาทั้งร่างกายจิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม อยากให้เขาภูมิใจที่ได้เป็นครู ที่เราตั้งชื่อว่าครูรัก(ษ์)ถิ่น เมื่อไหร่ที่เขารักในวิชาชีพครู แล้วก็รักถิ่นฐานบ้านเกิด จิตวิญญาณของเขาก็จะทำงาน เพราะเขามีความรู้สึกว่าเขาเป็นเจ้าของ ความรู้สึกเป็นเจ้าของมันก็จะทำให้เขามุ่งมั่นในการที่จะสร้าง พัฒนา แล้วตัวเขาก็จะมีความสุขในการอยู่ด้วย”
“ขอบคุณที่เลือกมาเรียนครู เขาเรียนรู้มาเยอะ อยากให้เขามีความสุขกับการทำงาน อาชีพครูมีคุณค่า ทำประโยชน์ให้คนอื่น เรามีความสุข สร้างความสุข สร้างพลังให้ตัวเรา เด็กทุกคนมีชีวิตมีจิตใจ ที่เราตั้งชื่อว่าครูรัก(ษ์)ถิ่น เมื่อไหร่ที่เขารักในวิชาชีพครู ก็จะรักถิ่นฐานบ้านเกิด จิตวิญญาณของเขาก็จะทำงาน เพราะเขามีความรู้สึกเป็นเจ้าของ ความรู้สึกเป็นเจ้าของมันก็จะทำให้เขามุ่งมั่นในการสร้าง พัฒนา แล้วตัวเขาก็จะมีความสุขในการอยู่ด้วย”
อาจารย์พิศมัย รัตนโรจน์สกุล ผู้จัดการโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น
จากประสบการณ์ในการลงพื้นที่ไปเจอนักศึกษาครูรัก(ษ์)ถิ่นมาทุกที่ อาจารย์ก็จะบอกเขาเสมอว่าสิ่งหนึ่งที่เห็นมาตลอดคือนักศึกษากำลังจะจบปี 4 จะรู้สึกว่าเขากำลังจะเป็นอิสระ จะหลุดพ้นแล้ว เหมือนลูกโป่งกำลังฟีบ เพราะเขาเหนื่อยกันมามาก วันแรกที่เขาเข้ารับทุนมันฮึกเหิม ตั้งปณิธานกัน ‘ฉันจะเป็นครูที่ดี’ ‘ฉันไปพัฒนาชุมชน’ แล้วพอไปเรียนไปเรื่อยๆ เจอทั้งงานหนัก ทั้งฝึกสอน เกิดสถานการณ์ที่มันบั่นทอน ความรู้สึกเหล่านี้มันหดหายไป ความเข้มข้นในจิตใจของเขาต่อการกลับไปเป็นครูที่มุ่งมั่นลดลง
อย่าลืมอุดมการณ์ความเป็นครู ตั้งแต่ที่บอกไว้ในตอนแรกจะรับทุนครูรักษ์ถิ่นแล้ว ที่บอกว่าจะเป็นครูแบบไหน จะตั้งใจทําอะไรบ้าง อย่าลืมสิ่งตัวเองตั้งใจไว้
“อย่าลืมอุดมการณ์ความเป็นครู ตั้งแต่ที่บอกไว้ในตอนแรกจะรับทุนครูรักษ์ถิ่นแล้ว ที่บอกว่าจะเป็นครูแบบไหน จะตั้งใจทําอะไรบ้าง อย่าลืมสิ่งตัวเองตั้งใจไว้”
อาจารย์นิตยา เรืองมาก รองคณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
สิ่งสําคัญที่สุดของคุณสมบัติคือเราอยากให้นักศึกษาที่เราผลิตออกไปเป็นครูต้นแบบ ไม่ใช่ไม่ใช่สักแต่เป็นครูอย่างเดียว แต่เป็นต้นแบบเรื่องที่ดี คุณสมบัติตัวที่สองก็คือความรับผิดชอบต่อหน้าที่และความซื่อสัตย์ต่ออาชีพ ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าทุกวันนี้ครูมีทั้งบวกและลบ เพราะฉะนั้นเราจะทําอย่างไรให้ครูมีความรับผิดชอบและซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ของตัวเอง และสุดท้ายคือในเรื่องของจรรยาบรรณ อย่างไรเสียคนเป็นครู คือเรามีหัวโขนที่ค้ำคออยู่แล้ว
“อยากให้นักศึกษาที่เราผลิตออกไปเป็นครูต้นแบบ ไม่ใช่สักแต่เป็นครูอย่างเดียว แต่เป็นต้นแบบในเรื่องที่ดี คุณสมบัติที่สองคือความรับผิดชอบต่อหน้าที่และความซื่อสัตย์ต่ออาชีพ และสุดท้ายคือจรรยาบรรณ อย่างไรเสียคนเป็นครู เรามีหัวโขนที่ค้ำคออยู่แล้ว”
“อยากให้นักศึกษาที่เราผลิตออกไปเป็นครูต้นแบบ ไม่ใช่สักแต่เป็นครูอย่างเดียว แต่เป็นต้นแบบในเรื่องที่ดี คุณสมบัติที่สองคือความรับผิดชอบต่อหน้าที่และความซื่อสัตย์ต่ออาชีพ และสุดท้ายคือจรรยาบรรณ อย่างไรเสียคนเป็นครู เรามีหัวโขนที่ค้ำคออยู่แล้ว”
เกศฤทัย คำษร ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านจันเดย์ จังหวัดกาญจนบุรี
คาดหวังว่าเขาจะส่งต่อสิ่งดีๆ ให้กับชุมชน หรือแม้แต่การเป็นตัวแทนของโรงเรียนที่เข้าไปประสานและพัฒนาชุมชนในเรื่องต่างๆ เพราะความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนต้องอยู่ในบริบทช่วยเกื้อหนุนกัน แล้วถ้าครูๆ เชื่อมสังคมสู่โรงเรียนได้แล้ว เขาก็จะสามารถเอาสิ่งดีๆ ในชุมชนเข้ามาสู่โรงเรียนได้ เช่นบ้านนักเรียน ถ้าเราเข้าไปสัมพันธ์กับเขาได้ บางบ้านก็จะเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดี เช่นด้านภูมิปัญญาต่างๆ หรือผู้ปกครองเองก็เป็นวิทยากรที่ดีได้ การที่ผู้ปกครองมีความร่วมมือมีความเข้าใจโรงเรียนไปทางเดียวกัน สิ่งเหล่านี้สามารถสร้างสังคมที่ดีได้
“คาดหวังว่าเขาจะส่งต่อสิ่งดีๆ ให้กับชุมชน หรือแม้แต่การเป็นตัวแทนของโรงเรียนที่เข้าไปประสานและพัฒนาชุมชนในเรื่องต่างๆ เพราะความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนต้องอยู่ในบริบทช่วยเกื้อหนุนกัน แล้วถ้าครูๆ เชื่อมสังคมสู่โรงเรียนได้แล้ว เขาก็จะสามารถเอาสิ่งดีๆ ในชุมชนเข้ามาสู่โรงเรียนได้ ”
อุดม กูลดี ผู้อำนวยการโรงเรียนอ่าวกะพ้อ เกาะยาว จังหวัดพังงา
อยากฝากบอกก็คืออยากให้มีครูรัก(ษ์)ถิ่นรุ่นต่อไปเรื่อยๆ ไม่ใช่แค่ 5 รุ่นแล้วจบไป เพราะการผลิตครูแบบนี้มันตอบโจทย์โรงเรียน และมั่นใจว่าวันที่ครูรัก(ษ์)ถิ่นได้เข้ามาสอนในโรงเรียนเต็มตัว เขาจะเป็นครูที่ดีที่โรงเรียนแล้วก็สามารถที่จะถ่ายทอดให้กับเด็ก แล้วก็อยู่ร่วมกับชุมชนได้
“มั่นใจว่าวันที่ครูรัก(ษ์)ถิ่นได้เข้ามาสอนในโรงเรียนเต็มตัว เขาจะเป็นครูที่ดีที่โรงเรียนสามารถถ่ายทอดให้กับเด็ก แล้วก็อยู่ร่วมกับชุมชนได้”