การเข้ามาของดิจิทัลแพลตฟอร์ม กลายเป็นเรื่องแพร่หลายมากยิ่งขึ้น ไม่เว้นแม้แต่วงการเกษตรกรรม สังเกตได้ในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมา เหล่าเกษตรกรไทยทั่วประเทศหันมาจับเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับการทำเกษตรมากยิ่งขึ้น เสมือนเป็นหนึ่งในปัจจัย 4 สำหรับการทำเกษตรกรรม ไม่ว่าจะเป็น การใช้เทคโนโลยีออนไลน์ สื่อโซเชียลมีเดีย หรือดิจิทัลแพลตฟอร์มต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกสบายให้ชีวิตง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสารกัน การเรียนออนไลน์ การหาความบันเทิงหรือแม้กระทั่งการค้าขาย
ตำบลโคกกระชาย อำเภอครบุรี ตั้งอยู่ในจังหวัดนครราชสีมา หนึ่งในพื้นที่ที่เริ่มหันมาใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ร่วมกับการทำเกษตรกรรม สืบเนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่เชิงราย อยู่ใกล้ต้นน้ำลำแชะซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่ไหลผ่านหมู่บ้านต่างๆ ก่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ แต่ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดจากโควิด-19 ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวลดลงเป็นอย่างมาก ผลิตภัณฑ์ที่ชุมชนเคยนำออกขายสร้างรายได้ก็ไม่สามารถขายได้อีกต่อไป ชุมชนจึงมีความคิดที่อยากจะปรับตัวให้เท่าทันวิกฤติและเข้าถึงการขายโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพื่อให้ยังมีรายได้อยู่
เนื่องจากเห็นความตั้งใจของชุมชน ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล หน่วยงานที่ใกล้ชิดพื้นที่ ที่มีความสนใจช่วยเหลือและพัฒนาผู้ปะกอบการ จึงได้จัดตั้ง ‘โครงการการส่งเสริมการสร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยดิจิทัลแพลตฟอร์มแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ตำบลโคกกระชาย อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา’ ขึ้นเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มแก่ชาวชุมชน โดยที่ทักษะความรู้นี้สามารถนำมาปรับใช้กับการขายผลิตภัณฑ์ชุมชนในโลกออนไลน์ได้โดยตรง เพื่อให้ความรู้ในการผลิตสินค้าที่ชุมชนมีอยู่ต่อยอดหากลุ่มลูกค้าได้อย่างไม่จำกัดพื้นที่ ลดการพึ่งพาการท่องเที่ยวเป็นหลัก แต่เริ่มจากการพึ่งพาต้นทุนที่ตนเองมี นำมาต่อยอด ปรับตัวและปรับใช้เพื่อให้เท่าทันโลกภายนอกต่อไป
สำหรับกลุ่มเป้าหมายในโครงการฯ คือ ผู้ที่ได้รับผลกระทบโควิด-19 จากในพื้นที่ดังกล่าวเป็นหลัก โดยประกอบด้วย ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนจำนวน 18 ราย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากผลิตภัณฑ์ชุมชนได้แก่ เกษตรกร 17 ราย แบ่งเป็นชาวนา 7 ราย ชาวไร่ 10รายผู้รับจ้างทั่วไป 15 ราย นักเรียนนักศึกษา 10 ราย ซึ่งได้รับผลกระทบจากการแพร่กระจายของโควิด-19 ที่แตกต่างกัน ดังนี้ ผู้ประกอบการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ได้น้อยลงเนื่องจากพึ่งพาการท่องเที่ยวเป็นหลัก กลุ่มเกษตรกรได้รับผลกระทบจากราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ และภัยแล้ง ผู้รับจ้างทั่วไปขาดรายได้จากการจ้างงาน นักเรียนนักศึกษา ได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากการขาดรายได้ของผู้ปกครอง
โครงการฯ ได้ออกแบบหลักสูตรสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดจากโควิด-19 และกลุ่มผู้ว่างงาน ตั้งแต่การจัดทำฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์ชุมชนและกลุ่มเป้าหมาย การประเมินศักยภาพและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย การเพิ่มทักษะเป็นผู้ประกอบการในศตวรรษที่ 21 การเพิ่มทักษะการใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มตลอดจนนำไปใช้เองได้ โดยโครงการฯ มุ่งหวังให้การจัดกิจกรรมครั้งนี้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของชุมชนในการนำความรู้ที่ได้รับมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ เพื่อสร้างเป็นแนวทางในการพัฒนารายได้และส่งต่อไปให้กับรุ่นลูกรุ่นหลาน มีวิธีการปรับทัศนคติต่อการดำเนินชีวิตในสถานการณ์ปัจจุบันและมีภูมิต้านทานให้กับชุมชนต่อไป
โครงการฯ ได้ออกแบบหลักสูตรสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดจากโควิด-19 และกลุ่มผู้ว่างงาน ตั้งแต่การจัดทำฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์ชุมชนและกลุ่มเป้าหมาย การประเมินศักยภาพและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย การเพิ่มทักษะเป็นผู้ประกอบการในศตวรรษที่ 21 การเพิ่มทักษะการใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มตลอดจนนำไปใช้เองได้ โดยโครงการฯ มุ่งหวังให้การจัดกิจกรรมครั้งนี้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของชุมชน
เกี่ยวกับโครงการเบื้องต้น
การส่งเสริมการสร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยดิจิทัลแพลตฟอร์มแก่ผู้ได้รับผลกระทบจาก Covid-19 ตำบลโคกกระชาย อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา
มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
- โทร: 0804461719
- ผู้ประสานงาน: นายภมรย์ กุลเลิศวัฒนา
เป้าประสงค์
1.ได้ฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์ชุมชน ศักยภาพของชุมชน และความต้องการ ที่สามารถนำมาใช้ในการส่งเสริมการสร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์ชุมชน
2.ได้รูปแบบการดำเนินการที่ประยุกต์ใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มร่วมกับฐานทรัพยากรในชุมชนที่เหมาะสม และช่วยสร้างโอกาสในการเพิ่มรายได้
3.กลุ่มเป้าหมายมีรายได้เพิ่มขึ้นจากผลิตภัณฑ์ชุมชน ตามฐานทรัพยากรของตนเอง
เรื่องราวนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาระบบทดลองการพัฒนาทักษะแรงงานที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาส โดยกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
กว่า 74 หน่วยงาน 42 จังหวัด กับ 1 เป้าหมายเพื่อสร้างชุมชนที่มีศักยภาพ ด้วยการพัฒนาทักษะอาชีพแก่แรงงานด้อยโอกาส