หากพูดถึงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์และโดดเด่นเป็นที่เรื่องลือคงหนีไม่พ้นภาคอีสานหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะเรื่องของการทอผ้าถือว่าไม่เป็นรองใคร เป็นที่นิยมทั้งตลาดในประเทศและนอกประเทศ
“ผ้าทอมือไหมแพรวา” หนึ่งในภูมิปัญญาท้องถิ่นจากชาวภูไทดำ ปัจจุบันพวกเขาอาศัยอยู่ที่บ้านโพน อำเภอคำม่วงจังหวัดกาฬสินธุ์ เดิมเป็นกลุ่มที่อพยพมาจากประเทศจีนตอนใต้ข้ามแม่น้ำโขงเข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่แถบเทือกเขาภูพานภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยเป็นส่วนใหญ่ ทุกวันนี้ชาวภูไทดำยังคงอนุรักษ์รักษาวัฒนธรรมประเพณี ขนบธรรมเนียม ความเชื่อ การต่างกาย และการทอผ้าแบบดั้งเดิมเอาไว้อย่างเหนียวแน่น
ชาวบ้านโพนจึงมีความรู้ความสามารถและความเชี่ยวชาญในการทอผ้าไหมแพรวาเป็นอย่างสูงในการทอผ้าไหมด้วยการเก็บลายหรือเก็บขิดแบบจกที่มีลวดลายโดดเด่นที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ อีกทั้งยังนำองค์ความรู้เหล่านั้นมาพัฒนาต่ออย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ปัจจุบันลวดลายการทอของผ้าไหมแพรวา เกิดการสร้างลายใหม่ ๆ ให้มีความทันสมัยและความต้องการของผู้บริโภคในยุคใหม่ แต่ยังคงไว้ซึ่งพื้นฐานที่เป็นเอกลักษณ์ของผ้าไหมแพรวา เช่น การเลือกใช้เส้นไหมน้อยหรือยอดที่มีความเลื่อมมัน เป็นต้น ผ้าไหมแพรวาจึงถือว่าเป็นของล้ำค่าและมีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของชาวภูไทดำ จังหวัดกาฬสินธุ์อย่างแท้จริง
ฟังดูแล้วเหมือนชาวบ้านโพนกำลังมีศักยภาพและการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยผ่านการใช้ต้นทุนเดิมของสังคมได้เป็นอย่างดี ถึงอย่างนั้น ในความเป็นจริงแล้ว ตลาดการทอผ้ากลับมีการแข่งขันสูง ผู้ซื้อต้องการสินค้าราคาถูกแต่คุณภาพดี ประกอบทั้งการส่งออกผ้าทอมือไหมแพรวา ชาวบ้านยังคงต้องพึ่งพากลุ่มพ่อค้าแม่ค้าคนกลาง ส่งผลให้รายได้ที่ชาวบ้านได้รับจริง ๆ กลับไม่ได้มากมายเพียงพอจะประกอบอาชีพทอผ้าได้เพียงอย่างเดียวในการเลี้ยงดูครอบครัวและเลี้ยงชีพตัวเอง
จากปัญหาที่กล่าวมาส่งผลให้ “โครงการการพัฒนาและส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือของชุมชนผู้ไท ตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ อย่างครบวงจร” ถือเกิดขึ้น โดยมีกลุ่มคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เข้ามาช่วยเหลือและออกแบบแนวทางในการพากลุ่มเป้าหมายหรือสมาชิกในกลุ่มทอมือไหมแพรวา และสมาชิกอื่นๆ ในตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ จาก 5 ชุมชน 10 หมู่บ้าน ก้าวไปถึงเป้าหมายในการพัฒนาสินค้าชุมชน ฟื้นฟูเศรษฐกิจ ผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น ก่อเกิดเป็นความมั่นคงด้านรายได้ให้กับชุมชนอย่างแท้จริง
ดังนั้นโครงการฯ จึงได้ออกแบบเนื้อหาโดยมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาและส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ ให้ความสำคัญกับการออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ผ้าทอมือ รวมถึงพัฒนาช่องทางการขายทั้งตลาดออนไลน์และตลาดออฟไลน์ จนไปถึงการส่งเสริมการตลาดสำหรับผลผลิตและผลิตภัณฑ์ของธุรกิจชุมชนที่เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวหรือภาคบริการอื่นๆ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถยกระดับและเพิ่มมูลค่าให้แก่ผ้าทอไหมแพรวาสามารถเข้าแข่งในตลาดทอผ้าได้
และเมื่อกลุ่มทอมือไหมแพราวาสามารถเข้าสู่ตลาดทอผ้าได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องผ่านกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าคนกลาง รวมถึงสินค้าเป็นที่ต้องตาต้องใจผู้บริโภคอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ก็จะส่งให้พวกเขาสามารถประกอบอาชีพทอผ้าเพื่อเลี้ยงดูตนเองและครอบครัวได้สำเร็จ สู่การเป็นชุมชนเข้มแข็งในปลายทาง
เมื่อกลุ่มทอมือไหมแพราวาสามารถเข้าสู่ตลาดทอผ้าได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องผ่านกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าคนกลาง รวมถึงสินค้าเป็นที่ต้องตาต้องใจผู้บริโภคอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ก็จะส่งให้พวกเขาสามารถประกอบอาชีพทอผ้าเพื่อเลี้ยงดูตนเองและครอบครัวได้สำเร็จ สู่การเป็นชุมชนเข้มแข็งในปลายทาง
เกี่ยวกับโครงการเบื้องต้น
การพัฒนาและส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือของชุมชนผู้ไท ตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ อย่างครบวงจร
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
- โทร: 081-7652736
- ผู้ประสานงาน: รศ.ดร.วาริธ ราศี
เป้าประสงค์
การพัฒนาส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือชุมชนผู้ไทตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ จะก่อให้เกิดการสร้างหรือเพิ่มรายได้ จำนวน 10 หมู่บ้าน ในระยะเวลา 4 เดือน จะมีรายได้เพิ่มขึ้นหมู่บ้านละ 8,000 บาท/คน/เดือน และการพัฒนาส่งเสริมการขายผ้าทอมือชุมชนผู้ไทตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ จะก่อให้เกิดการสร้างและเพิ่มรายได้ จำนวน 10 หมู่บ้าน ในระยะเวลา 7 เดือน จะมีรายได้เพิ่มขึ้น 800,000 บาทต่อเดือน
เรื่องราวนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาระบบทดลองการพัฒนาทักษะแรงงานที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาส โดยกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
กว่า 74 หน่วยงาน 42 จังหวัด กับ 1 เป้าหมายเพื่อสร้างชุมชนที่มีศักยภาพ ด้วยการพัฒนาทักษะอาชีพแก่แรงงานด้อยโอกาส