ในประเทศที่พัฒนาแล้ว ความพิการไม่เป็นอุปสรรต่อการใช้ชีวิต เพราะประเทศเหล่านั้น ‘นึกถึง’ และให้ความเท่าเทียมทางสังคมกับคนพิการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างการออกแบบที่เรียกว่า universal design โอกาสในการเข้าถึงระบบคมนาคม การเข้าถึงสวัสดิการต่างๆ รวมไปถึงโอกาสในการมีงานทำและประกอบอาชีพ
แต่ถ้าหากมองกลับมายังประเทศที่ ‘กำลังพัฒนา’ อย่างประเทศไทย คนพิการมากมายต้องใช้ชีวิตที่ยากลำบากกว่าที่ควรจะเป็น เพราะรัฐไม่ได้มีการออกแบบ universal design หรือนโยบายที่เอื้อต่อการใช้ชีวิตของพวกเขาอย่างทั่วถึงและรอบด้านเท่าที่ควร
ตัวเลขคนพิการในเมืองไทย ณ ปัจจุบัน อยู่ที่ราวๆ 2 ล้านคน นับเป็น 3 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งประเทศ จากจำนวนนี้มีคนพิการที่ไม่ได้เข้ารับการศึกษาเลย 4.2 เปอร์เซ็นต์ และมีคนพิการที่ได้รับการศึกษาเพียงระดับชั้นประถมศึกษาถึง 68% ตัวเลขนี้ชี้ให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำด้านโอกาสอย่างชัดเจน ไม่นับว่ายังมีคนพิการอีกกลุ่มใหญ่ที่อยู่ในวัยทำงาน 150,000 คน ซึ่งยังไม่มีอาชีพ ไม่มีรายได้ เพื่อการใช้ชีวิตอย่างพึ่
ตัวเลข 150,000 (ทีมา : มาจากเอกสารข้อเสนอโครงการ) คนนี้เป็นตัวเลขที่น่าเป็นห่วง เพราะถึงแม้ในปัจจุบันเราจะมีสถานประกอบการหลายแห่งที่พร้อมว่าจ้างคนพิการ แต่คนที่อยู่ห่างไกลเมืองใหญ่ก็ยังไม่สามารถเข้าถึงโอกาสเหล่านั้นได้อยู่ดี ‘มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม’ ซึ่งเป็นมูลนิธิที่ทำงานด้านการขับเคลื่อนส่งเสริมให้เกิดการเชื่อมโอกาสงาน และสนับสนุ
‘โครงการเสริมศักยภาพอาชีพคนพิ
โดยมูลนิธิฯ จะดำเนินงานกับกลุ่มเป้าหมายจาก 37 หมู่บ้าน ใน 8 ตำบล รวมทิ้งสิ้น 60 คน โดยกลุ่มเป้าหมายจะต้องเป็นแรงงานนอกระบบและคนพิการ โดยเมื่อทุกคนได้เข้ามาในโครงการแล้ว ก็จะได้รับการให้คำปรึกษาแนะนำตั้งแต่การวิเคราะห์ต้นทุนทางสังคมของแต่ละพื้นที่ การประเมินขีดความสามารถในการประกอบอาชีพปัจจุบันตามความถนัดรายบุคคล เพื่อค้นหาศักยภาพที่มีอยู่ ในการสร้างเป้าหมายและกำหนดแผนพัฒนาอาชีพให้มีรายได้ต่อเนื่องสม่ำเสมอ ทั้งในด้านการบริหารจัดการต้นทุน-กำไร ประเมินความเสี่ยง ข้อจำกัดด้านการตลาดหรือปัจจัยแวดล้อมอื่นที่มีผลต่ออาชีพที่รายได้ไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายของครอบครัว นอกจากนี้ก็ยังมีการช่วยจัดทำแผนพัฒนา ‘เชิงตัวบุคคล’ ทั้งในด้านทักษะอาชีพและการออกแบบชีวิตให้กับผู้ที่เข้าร่วมโครงการด้วย เพื่อให้กลุ่มคนพิการเมื่อจบโครงการออกไปแล้วสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างมีความมั่นคง
ดูเหมือนว่าการแก้ปัญหาว่างงานของคนพิการจะต้องใช้เวลาและการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่แน่นอนว่าการทำแบบนี้ย่อมจะช่วยแก้ปัญหา ‘ระยะยาว’ ให้กับตัวคนพิการเอง และหวังเป็นอย่างนิ่งว่าหลังจากโครงการนี้ได้เริ่มดำเนินงาน กลุ่มคนพิการในจังหวัดเลยจะสามารถเข้าถึงโอกาสและเลี้ยงชีพตัวเองได้ ไม่น้อยไปกว่าบุคคลอื่นๆ ในสังคม
เกี่ยวกับโครงการเบื้องต้น
เสริมศักยภาพคนทำงานและเครือข่ายคนพิการระดับตำบล จังหวัดเลย
มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม
- โทร: 089-5210864
- ผู้ประสานงาน: นางมนิษา อนันตผล
เป้าประสงค์
- คนพิการสามารถประกอบอาชีพของตนได้อย่างยั่งยืน (มีความรู้/ทักษะ มีรายได้/กำไร มีการบริหารจัดการเงินที่ดี มีแผนการลงทุนต่อยอด) สามารถเป็นต้นแบบด้านการจัดการอาชีพได้
- เกิดกลไกดำเนินงานด้านการส่งเสริมคนพิการให้มีอาชีพและมีงานทำ ระหว่างองค์กรคนพิการและหน่วยงานทุกภาคส่วนในพื้นที่
เรื่องราวนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาระบบทดลองการพัฒนาทักษะแรงงานที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาส โดยกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
กว่า 74 หน่วยงาน 42 จังหวัด กับ 1 เป้าหมายเพื่อสร้างชุมชนที่มีศักยภาพ ด้วยการพัฒนาทักษะอาชีพแก่แรงงานด้อยโอกาส