Banner
ศูนย์เรียนรู้ปราชญ์ชาวบ้าน บ้านโนนพริก
ขอนแก่น

ศูนย์เรียนรู้บ้านโนนพริก แก้ปัญหาขาดแคลนพืชผักและเนื้อสัตว์ที่ปลอดภัยในชุมชน ด้วยการยกระดับทักษะของเกษตรกรจากกลุ่มผู้ด้อยโอกาส

ความใส่ใจต่อคุณภาพชีวิตกำลังเป็นกระแสสนใจของคนทั้งโลก ไม่ว่าจะเป็นการดูแลสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการดำรงชีวิต การเลือกรับประทานอาหารปลอดสารพิษ และการดูแลสุขภาพ ซึ่งนี่คือ ‘โอกาส’ สำคัญของประเทศไทยในฐานะประเทศเกษตรกรรม ที่จะปรับตัวเพื่อให้สอดรับกับกระแสความต้องการของตลาดเกษตรอินทรีย์ในปัจจุบัน

ด้วยโอกาสดังกล่าว ศูนย์เรียนรู้ปราชญ์ชาวบ้าน บ้านโนนพริก ตำบลโคกสง่า อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น จึงได้จัดทำ โครงการยกระดับการประกอบอาชีพเสริมด้วยเทคโนโลยีเกษตรผสมผสานระบบอินทรีย์ เพื่อยกระดับทักษะการประกอบอาชีพเสริม อย่างการปลูกผักและการเลี้ยงสัตว์แบบครบวงจร ด้วยเทคโนโลยีเกษตรผสมผสานระบบอินทรีย์ 

โดยมีจุดมุ่งหมายคือการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส ได้แก่ แรงงานนอกระบบ ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ผู้ว่างงาน และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ให้เข้าถึงปัจจัยการผลิตในการทำอาชีพเสริมดังกล่าวได้ ซึ่งมีจำนวนกลุ่มเป้าหมายจากพื้นที่ในชุมชนทั้งสิ้น 50 คน โดยอาศัยภาคีเครือข่ายเข้ามาช่วยด้านการเพิ่มพูนทักษะต่างๆ ด้านเกษตรอินทรีย์ อาทิ วิทยาลัยการอาชีพ อำเภอพล, สำนักงานเกษตรขอนแก่น เขต 3, วิสาหกิจชุมชนโฮมฮัก และโรงพยาบาลอำเภอพล ในฐานะตลาดสีเขียว

พ่อผอง เกตพิบูลย์ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้ก่อตั้งศูนย์เรียนรู้ปราชญ์ชาวบ้าน บ้านโนนพริก วัย 90 ปี เล่าว่า “แต่ก่อน ในหลวงรัชกาลที่ 9 ท่านแนะนำให้พวกเราปลูกเกษตรผสมผสาน ซึ่งการทำเกษตรจะต้องประกอบด้วย 3 อย่าง (1) ต้องมีที่ดินเป็นของตัวเอง ยืมก็ได้ เช่าก็ได้ (2) ต้องมีน้ำ (3) ต้องมีความรู้ ถ้าไม่มี 3 อย่างนี้ ไม่สำเร็จหรอก”

ทั้งนี้ เมื่อมีความรู้และองค์ประกอบอื่นๆ ครบถ้วนแล้ว แต่หากเรียนแต่ในตำรา อบรมแต่ในห้องเพียงอย่างเดียว มันก็ไร้ผล ภัทระ ขันดงแก้ว หนึ่งในคณะทำงาน จากวิทยาลัยการอาชีพ อำเภอพล จึงเสริมว่า หลักสูตรของโครงการไม่ใช่แค่การนั่งอบรมในห้องเรียน แต่ยังพาไปปฏิบัติจริงในพื้นที่ แม้จะให้กรอบแนวคิดในห้องเรียน แต่ก็เปิดโอกาสให้นำแนวคิดต่างๆ เหล่านั้น ไปปฏิบัติจริงด้วย 

อีกทั้งยังมีการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ให้กับกลุ่มเป้าหมายที่ขาดแคลน เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถดำเนินงานตามกรอบของโครงการได้อย่างเต็มที่ ทำให้จากที่แต่ก่อนนิยมสูบน้ำคลองมารดผักจนเจิ่งนอง ทำให้รากเน่า ก็ช่วยสนับสนุนสปริงเกลอร์ (Sprinkler) สำหรับการฉีดน้ำเป็นละอองฝอยและระบบน้ำหยด ทำให้ผักแตกใบ ซึ่งขายดีมาก ส่งตลาดได้ต่อเนื่อง ช่วยให้กลุ่มเป้าหมายมีรายได้เดือนละประมาณ 30,000 บาท

ด้าน สมควร จันทา วิทยากรประจำศูนย์เรียนรู้ปราชญ์ท้องถิ่น อธิบายถึงกรอบแนวคิดการทำเกษตรอินทรีย์ว่า “ถ้าพูดภาษาชาวบ้านก็คือ ทั้งผู้กิน ผู้ใช้ ผู้ผลิต ผู้บริโภค ปลอดภัยทุกกระบวนการ จึงต้องเริ่มจากการให้แนวคิด การเปลี่ยนให้คนมาทำเกษตรอินทรีย์ ต้องทำให้มันดูเหมือนง่าย แต่จริงๆ แล้วไม่ง่ายเลย ฉะนั้น การปรับทัศนคติจึงเป็นสิ่งสำคัญ” 

ความใส่ใจต่อคุณภาพชีวิตกำลังเป็นกระแสสนใจของคนทั้งโลก ไม่ว่าจะเป็นการดูแลสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการดำรงชีวิต การเลือกรับประทานอาหารปลอดสารพิษ และการดูแลสุขภาพ ซึ่งนี่คือ ‘โอกาส’ สำคัญของประเทศไทยในฐานะประเทศเกษตรกรรม ที่จะปรับตัวเพื่อให้สอดรับกับกระแสความต้องการของตลาดเกษตรอินทรีย์ในปัจจุบัน

ด้วยโอกาสดังกล่าว ศูนย์เรียนรู้ปราชญ์ชาวบ้าน บ้านโนนพริก ตำบลโคกสง่า อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น จึงได้จัดทำ โครงการยกระดับการประกอบอาชีพเสริมด้วยเทคโนโลยีเกษตรผสมผสานระบบอินทรีย์ เพื่อยกระดับทักษะการประกอบอาชีพเสริม อย่างการปลูกผักและการเลี้ยงสัตว์แบบครบวงจร ด้วยเทคโนโลยีเกษตรผสมผสานระบบอินทรีย์ 

โดยมีจุดมุ่งหมายคือการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส ได้แก่ แรงงานนอกระบบ ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ผู้ว่างงาน และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ให้เข้าถึงปัจจัยการผลิตในการทำอาชีพเสริมดังกล่าวได้ ซึ่งมีจำนวนกลุ่มเป้าหมายจากพื้นที่ในชุมชนทั้งสิ้น 50 คน โดยอาศัยภาคีเครือข่ายเข้ามาช่วยด้านการเพิ่มพูนทักษะต่างๆ ด้านเกษตรอินทรีย์ อาทิ วิทยาลัยการอาชีพ อำเภอพล, สำนักงานเกษตรขอนแก่น เขต 3, วิสาหกิจชุมชนโฮมฮัก และโรงพยาบาลอำเภอพล ในฐานะตลาดสีเขียว

พ่อผอง เกตพิบูลย์ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้ก่อตั้งศูนย์เรียนรู้ปราชญ์ชาวบ้าน บ้านโนนพริก วัย 90 ปี เล่าว่า “แต่ก่อน ในหลวงรัชกาลที่ 9 ท่านแนะนำให้พวกเราปลูกเกษตรผสมผสาน ซึ่งการทำเกษตรจะต้องประกอบด้วย 3 อย่าง (1) ต้องมีที่ดินเป็นของตัวเอง ยืมก็ได้ เช่าก็ได้ (2) ต้องมีน้ำ (3) ต้องมีความรู้ ถ้าไม่มี 3 อย่างนี้ ไม่สำเร็จหรอก”

ทั้งนี้ เมื่อมีความรู้และองค์ประกอบอื่นๆ ครบถ้วนแล้ว แต่หากเรียนแต่ในตำรา อบรมแต่ในห้องเพียงอย่างเดียว มันก็ไร้ผล ภัทระ ขันดงแก้ว หนึ่งในคณะทำงาน จากวิทยาลัยการอาชีพ อำเภอพล จึงเสริมว่า หลักสูตรของโครงการไม่ใช่แค่การนั่งอบรมในห้องเรียน แต่ยังพาไปปฏิบัติจริงในพื้นที่ แม้จะให้กรอบแนวคิดในห้องเรียน แต่ก็เปิดโอกาสให้นำแนวคิดต่างๆ เหล่านั้น ไปปฏิบัติจริงด้วย 

อีกทั้งยังมีการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ให้กับกลุ่มเป้าหมายที่ขาดแคลน เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถดำเนินงานตามกรอบของโครงการได้อย่างเต็มที่ ทำให้จากที่แต่ก่อนนิยมสูบน้ำคลองมารดผักจนเจิ่งนอง ทำให้รากเน่า ก็ช่วยสนับสนุนสปริงเกลอร์ (Sprinkler) สำหรับการฉีดน้ำเป็นละอองฝอยและระบบน้ำหยด ทำให้ผักแตกใบ ซึ่งขายดีมาก ส่งตลาดได้ต่อเนื่อง ช่วยให้กลุ่มเป้าหมายมีรายได้เดือนละประมาณ 30,000 บาท

ด้าน สมควร จันทา วิทยากรประจำศูนย์เรียนรู้ปราชญ์ท้องถิ่น อธิบายถึงกรอบแนวคิดการทำเกษตรอินทรีย์ว่า “ถ้าพูดภาษาชาวบ้านก็คือ ทั้งผู้กิน ผู้ใช้ ผู้ผลิต ผู้บริโภค ปลอดภัยทุกกระบวนการ จึงต้องเริ่มจากการให้แนวคิด การเปลี่ยนให้คนมาทำเกษตรอินทรีย์ ต้องทำให้มันดูเมือนง่าย แต่จริงๆ แล้วไม่ง่ายเลย ฉะนั้น การปรับทัศนคติจึงเป็นสิ่งสำคัญ” 

“ถ้าพูดภาษาชาวบ้านก็คือ ทั้งผู้กิน ผู้ใช้ ผู้ผลิต ผู้บริโภค ปลอดภัยทุกกระบวนการ จึงต้องเริ่มจากการให้แนวคิด การเปลี่ยนให้คนมาทำเกษตรอินทรีย์ ต้องทำให้มันดูเมือนง่าย แต่จริงๆ แล้วไม่ง่ายเลย ฉะนั้น การปรับทัศนคติจึงเป็นสิ่งสำคัญ” สมควร จันทา วิทยากรประจำศูนย์เรียนรู้ปราชญ์ท้องถิ่น

เกี่ยวกับโครงการเบื้องต้น

การยกระดับการประกอบอาชีพเสริมด้วยเทคโนโลยีเกษตรผสมผสานระบบอินทรีย์

ศูนย์เรียนรู้ปราชญ์ชาวบ้าน บ้านโนนพริก

  • โทร: 089-9207805
  • ผู้ประสานงาน: นายสุรพงษ์ ด่านซ้าย

เป้าประสงค์

  1. ยกระดับองค์ความรู้ ทักษะ และเจตคติการประกอบอาชีพเสริมพืชผัก และหรือสัตว์แบบครบวงจร ด้วยเทคโนโลยีเกษตรผสมผสานระบบอินทรีย์  มุ่งเน้นการฝึกปฏิบัติในสภาพจริง
  2. เสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือการบริหารจัดการ  และการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเชิงบูรณาการ

เรื่องราวนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาระบบทดลองการพัฒนาทักษะแรงงานที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาส โดยกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา

กว่า 74 หน่วยงาน 42 จังหวัด กับ 1 เป้าหมายเพื่อสร้างชุมชนที่มีศักยภาพ ด้วยการพัฒนาทักษะอาชีพแก่แรงงานด้อยโอกาส