Banner
วิทยาลัยชุมชนตาก
ตาก

วิทยาลัยชุมชนตากจัดทำโครงการพัฒนาแรงงาน 3 วิชาชีพ ช่วยลดคนว่างงาน ยกระดับคุณภาพชีวิต ตอบโจทย์พื้นที่เศรษฐกิจพิเศษใน 3 อำเภอ

โครงการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานฯ ถือกำเนิดขึ้นมาโดยมีเป้าหมายที่ชัดเจน คือการยกระดับแรงงานไร้ฝีมือให้กลายมาเป็นแรงงานฝีมือที่เป็นที่ต้องการของตลาดให้ได้ แต่การจะทำเช่นนั้นให้สำเร็จ นอกจากจะต้องมีแผนพัฒนาและหลักสูตรที่ดีแล้ว ตัวผู้เข้าอบรมเองจะต้อง ‘มีใจ’ ที่รักและสนใจในทักษะอาชีพนั้นอย่างจริงจังด้วย

วิทยาลัยชุมชนตากจึงได้แตกหลักสูตรพัฒนาทักษะอาชีพออกเป็น 3 อาชีพ เพื่อตอบความต้องการอันหลากหลายของกลุ่มเป้าหมาย คือ อาชีพช่างเชื่อมโลหะ อาชีพการนวดไทยเพื่อสุขภาพ และอาชีพแปรรูปผลิตภัณฑ์ของใช้จากผ้าปกาเกอะญอ โดยกลุ่มเป้าหมายหลักที่ทางโครงการจะรับเข้ามาฝึกฝนอบรม คือกลุ่มผู้ด้อยโอกาสและขาดแคลนทุนทรัพย์จากทุกพื้นที่ในจังหวัดตาก จำนวน 130 คน

เมื่อมีสมาชิกครบตามเป้าที่ตั้งไว้แล้ว โครงการก็จะเริ่มจำแนกให้สมาชิกแต่ละคนเข้าอบรมในหลักสูตรที่ตนเองสนใจ
โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. 1.หลักสูตรช่างเชื่อมโลหะ จะมีการเรียนตั้งแต่ทฤษฎีจนถึงภาคปฏิบัติ และหลังจากนั้นก็จะมีการให้ผู้เรียนออกไปฝึกงานกับผู้ประกอบการจริงๆ ด้วย รวมใช้เวลาตลอดหลักสูตรทั้งสิ้น 150 ชั่วโมง
  2. หลักสูตรการนวดไทยเพื่อสุขภาพ จะมีการเรียนตั้งแต่ทฤษฎีจนถึงภาคปฏิบัติ และหลังจากนั้นก็จะให้ผู้เรียนออกไปฝึกงานเพื่อสั่งสมประสบการณ์นวดจริงกับลูกค้า รวมใช้เวลาตลอดหลักสูตรทั้งสิ้น 150 ชั่วโมง
  3. หลักสูตรการแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าปกาเกอะญอ จะฝึกสอนเรื่องการแปรรูปผลิตภัณฑ์ให้เกิดมูลค่าเพิ่ม
    โดยให้สมาชิกแต่ละคนนำเอาผ้าทอของตัวเองมาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น ทำเป็นกระเป๋าสำหรับสตรี หรือ ของใช้อื่นๆ ที่ผลิตด้วยมือ รวมใช้เวลาตลอดหลักสูตรทั้งสิ้น 75 ชั่วโมง

หลังจากที่โครงการได้เริ่มต้น ในระยะแรกกลุ่มเป้าหมายทั้ง 130 คนมีความกระตือรือร้นและมุ่งมั่นที่จะเข้ามาฝึกฝนทักษะของตน ทำให้เห็นถึงแนวโน้มว่าหลังจากที่ทุกหลักสูตรได้สิ้นสุดลงแล้ว สมาชิกทุกคนจะมีทักษะอาชีพที่เพิ่มขึ้นและสามารถสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับตัวเองและครอบครัวได้

เกี่ยวกับโครงการเบื้องต้น

พัฒนาทักษะฝีมือแรงงานที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ และด้อยโอกาส โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น

วิทยาลัยชุมชนตาก

  • โทร: 083-1991482
  • ผู้ประสานงาน: นางรัตนา เจริญศรี

เป้าประสงค์

สร้างโอกาสให้กับชุมชนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาสให้ได้รับการพัฒนายกระดับฝีมือแรงงาน

  1. ผลลัพธ์  ผู้รับการอบรมที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาสมีความความรู้ทักษะฝีมือแรงงานยกระดับฝีมือที่มีคุณภาพยิ่งขึ้น
  2. ผลกระทบ ครอบครัวผู้รับการอบรมที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาส มีรายได้และคุณภาพชีวิตดีขึ้น

เรื่องราวนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาระบบทดลองการพัฒนาทักษะแรงงานที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาส โดยกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา

กว่า 74 หน่วยงาน 42 จังหวัด กับ 1 เป้าหมายเพื่อสร้างชุมชนที่มีศักยภาพ ด้วยการพัฒนาทักษะอาชีพแก่แรงงานด้อยโอกาส