ปรัชญาขงจื่อฝังรากลึกในสังคมเอเชียตะวันออกมากว่าสองพันปี จุดเริ่มต้นของปรัชญาขงจื่อมีเป้าหมายเรื่องการเปลี่ยนแปลงโลก ฟื้นฟูราชวงศ์โจว และสร้างชุมชนมนุษยธรรม ซึ่งเครื่องมือหนึ่งที่มีส่วนสำคัญในการสร้างสิ่งนี้คือ ‘การเรียนรู้’
แนวคิดจากปรัชญาขงจื่อวิวัฒน์หลายครั้ง ตั้งแต่ถูกใช้เป็นอุดมการณ์ของรัฐ ไปจนถึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดเรื่อง ‘การศึกษายกระดับชีวิต’ จนทำให้เกิดคำถามว่า สาเหตุที่ ‘เด็กเอเชียบ้าเรียน’ เป็นผลมาจากอิทธิพลของแนวคิดขงจื่อหรือไม่
วันโอวันชวน รศ.ดร.ศริญญา อรุณขจรศักดิ์ จากภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญปรัชญาจีน มาพูดคุยว่าด้วยประเด็นเหล่านี้
ความแตกต่างของ ‘ปรัชญาขงจื่อ’ กับ ‘ลัทธิขงจื่อ’ คืออะไร ปรัชญาขงจื่อมีอิทธิพลต่อการสอบจอหงวนอย่างไร ความฝันในการเลื่อนชนชั้นผ่านการสอบในปัจจุบันเป็นอย่างไร และปรัชญาขงจื่อเกี่ยวข้องอย่างไรกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต
อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็มได้ที่ : จาก ‘การสร้างวิญญูชน’ สู่ ‘เด็กเอเชียบ้าเรียน’ การวิวัฒน์กลับด้านเรื่องการเรียนรู้ในปรัชญาขงจื่อ กับ ศริญญา อรุณขจรศักดิ์