ตรวจสอบรายชื่อรายสถานศึกษาที่ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
การจัดสรรเงินทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนทุนเสมอภาค (กลุ่มชั้นรอยต่อ ป.6 และ ม.3) จากภาคเอกชน
รายชื่อสถานศึกษา
โครงการลมหายใจเพื่อน้อง
รายชื่อสถานศึกษา โครงการ “Zero Dropout เด็กทุกคนต้องได้เรียน”
ปฏิทินขยายระยะเวลาการบันทึกข้อมูล
การจัดสรรเงินทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนทุนเสมอภาค (กลุ่มชั้นรอยต่อ) จากภาคเอกชน
1 ก.ย. – 25 ก.ย. 65
กิจกรรม
สถานศึกษาที่ไม่สามารถดำเนินการบันทึกข้อมูลการจัดสรรเงินทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนทุนเสมอภาค (กลุ่มชั้นรอยต่อ) จากภาคเอกชน ได้ตามระยะเวลาที่กำหนด เข้าสู่หน้าระบบแต่ละสังกัด ด้วยบัญชีผู้ใช้งานแอดมินโรงเรียน ดำเนินการบันทึกรายงานผลการเบิกจ่าย โดยมีรายละเอียดดังนี้
- บันทึกรายงานผลการเบิกจ่าย
- บันทึกหลักฐานการสมัครเรียนต่อ และข้อมูลการคงอยู่ในระบบการศึกษาของนักเรียน ผ่านระบบสารสนเทศ
ผู้รับผิดชอบหลัก: ครูแอดมิน
สถานศึกษาดำเนินการคืนเงินทุนการศึกษาของนักเรียนที่ไม่มีตัวตน ย้าย ลาออก เสียชีวิต กลับมายัง กสศ. ด้วยวิธี Teller Payment โดยเข้าไปบันทึกและพิมพ์แบบคืนเงินได้ผ่านระบบสารสนเทศของแต่ละสังกัด
ผู้รับผิดชอบหลัก: ครูแอดมิน
หน่วยกำกับติดตาม ติดตามผลการบันทึกข้อมูลรายงานผลการเบิกจ่ายทุนการศึกษา และการบันทึกข้อมูลการคงอยู่ในระบบการศึกษาของนักเรียน ผ่านระบบสารสนเทศ
ผู้รับผิดชอบหลัก: หน่วยกำกับติดตาม
หมายเหตุ
– สถานศึกษาคืนเงินทุนการศึกษา ของนักเรียนที่ไม่มี ตัวตน ย้าย ลาออก เสียชีวิต กลับมายัง กสศ. ด้วยวิธี Teller Payment โดยเข้าไปบันทึก และพิมพ์แบบคืนเงิน ได้ผ่าน ระบบสารสนเทศของแต่ละสังกัด
– กรณีผู้บริหารสถานศึกษาที่มีอำนาจลงนาม อยู่ระหว่างการโยกย้าย สามารถกำหนดให้ผู้มีอำนาจรักษาการดำเนินการแทนได้
ช่องทางการติดต่อสอบถาม
สำนักสื่อสารสาธารณะ และระดมความร่วมมือกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.00 – 18.00 น.
ทุน กสศ. – ปตท. “ลมหายใจเพื่อน้อง”
โอกาสเพื่อนักเรียนทุนเสมอภาคชั้นรอยต่อ ป.6 และ ม.3
กสศ. ร่วมกับ 6 หน่วยงานต้นสังกัดทางการศึกษา
สำรวจครัวเรือนยากจนพิเศษที่มีรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ราว 1,094 บาท ต่อคน/เดือน หรือเฉลี่ยวันละ 30-40 บาท ซึ่งมีบุตรหลานอยู่ในช่วงชั้นรอยต่อระดับ ป.6 และ ม.3
เมื่อปีการศึกษา 2/2564 พบว่า มีนักเรียนทุนเสมอภาค กลุ่มนี้ ราว 100,000 คน มีความเสี่ยงหลุดออกจากระบบการศึกษา เพราะต้องย้ายที่เรียนในช่วงเปิดเทอมปีการศึกษา 2565 เพราะสถานศึกษาเดิมไม่มีการจัดการศึกษาในชั้น ม.1 และ ม.4/ปวช. ทำให้มีภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางและค่าใช้จ่ายการศึกษาอื่นๆ เพิ่มขึ้นตามมา
จากการวิจัยติดตามข้อมูลของ กสศ. และหน่วยงานต้นสังกัดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 3 ปี
พบว่าช่วงเวลาที่มีการหลุดออกจากระบบการศึกษาของนักเรียนสูงที่สุด คือช่วงรอยต่อระหว่างปีการศึกษาระหว่างเดือน พ.ค.- มิ.ย. จึงเป็นช่วงเวลาสำคัญของการระดมความร่วมมือของทุกภาคส่วนเพื่อไม่ให้มีเด็ก ๆ ของเราร่วงหล่น
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จับมือ กสศ. ริเริ่มกิจกรรม PTT Virtual Run
ภายใต้โครงการลมหายใจเพื่อน้อง เดิน – วิ่ง ระดมทุนการศึกษาเพื่อเยาวชน ที่ประชาชนทั่วประเทศ มีส่วนร่วมสร้างสถิติใหม่สะสมระยะทางถึง 600,000 กิโลเมตร ด้วยเวลาเพียง 6 วัน เท่านั้น จนนำมาสู่การสนับสนุนเงินบริจาคจำนวน 151 ล้านบาท เพื่อเป็นทุนการศึกษาช่วยเหลือนักเรียนทุนเสมอภาคกลุ่มชั้นรอยต่อ ชั้น ป.6 และ ม.3 เพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา ไม่ให้นักเรียนกลุ่มนี้หลุดออกจากระบบ
จากพลังของประชาชน นำมาสู่ การทำงานร่วมกับโรงเรียน 17,432 แห่ง
4 สังกัด (สพฐ. ตชด. อปท. สช.) ซึ่งเป็นโรงเรียนเดิมที่นักเรียนทุนเสมอภาค ช่วงชั้นรอยต่อ เคยศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 เพื่อร่วมกันติดตามสถานะการศึกษาต่อของนักเรียน และให้กลับมารับทุนการศึกษาที่โรงเรียน เนื่องจากคุณครูมีประสบการณ์ลงพื้นที่เยี่ยมบ้าน ติดตามนักเรียนกลุ่มดังกล่าวอย่างใกล้ชิดเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี และได้ร่วมกับ กสศ. ในการสำรวจข้อมูลการศึกษาต่อของนักเรียนรายบุคคลในช่วงก่อนเปิดภาคเรียน 1/2565 จึงทำให้มีข้อมูลที่ติดต่อได้ของนักเรียน และมีความเข้าใจในกระบวนการปฏิบัติงานอย่างลึกซึ้ง
กสศ. จะเริ่มจัดสรรทุนการศึกษา
ให้แก่นักเรียนทุนเสมอภาคเพิ่มเติม (กลุ่มชั้นรอยต่อ)
ภายใต้โครงการ “ลมหายใจเพื่อน้อง”
จำนวนกว่า 60,000 คน
สังกัด สพฐ. ตชด. อปท. และ สช.
นักเรียนทุนเสมอภาค
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ทุนการศึกษาละ
1,000 บาท
นักเรียนทุนเสมอภาค
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ทุนการศึกษาละ
3,000 บาท
กสศ. ขอบคุณ
พลังคุณครู ทั้ง 17,432 แห่ง
ที่จะเป็นพลังสำคัญในภารกิจ พาน้องกลับมาเรียน ครั้งนี้
คู่มือและแนวทางการบริหารจัดการทุนการศึกษา
สำหรับนักเรียนทุนเสมอภาค (กลุ่มชั้นรอยต่อ)
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
โรงเรียนที่ได้รับการจัดสรรทุนการศึกษาจากโครงการจะเป็นโรงเรียนที่เข้าร่วมตอบแบบสำรวจแนวโน้มการศึกษาต่อของนักเรียนช่วงชั้นรอยต่อ ปีการศึกษา 2/2564 ที่กสศ. ร่วมกับหน่วยงานต้นสังกัดทางการศึกษาจัดทำขึ้น ระหว่างวันที่ 15 มีนาคม – 15 เมษายน 2565
โดยทุนการศึกษาลมหายใจเพื่อน้อง หรือทุน ปตท. กสศ. มุ่งไปที่ ครัวเรือนยากจนพิเศษที่มีรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ราว 1,094 บาท ต่อคน/เดือน หรือเฉลี่ย วันละ 30-40 บาท และมีบุตรหลานอยู่ในชั้นรอยต่อชั้น ป.6 และ ม.3 และต้องย้าย ที่เรียนในช่วงเปิดเทอมปีการศึกษา 2565 เนื่องจากสถานศึกษาเดิมไม่มีการจัดการศึกษาในชั้น ม.1 และ ม.4/ปวช. ทำให้มีภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางและค่าใช้จ่ายการศึกษาอื่นๆ เพิ่มขึ้นตามมา
โรงเรียนสามารถจ่ายเงินให้กับนักเรียน/ผู้ปกครอง และบันทึกข้อมูล การจ่ายเงิน ในระบบปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจน โดยสามารถเลือกจ่ายได้ทั้ง 4 วิธี ตามที่โรงเรียนและเด็ก/ผู้ปกครอง ตกลงความสะดวกร่วมกัน (รายละเอียดคู่มือการใช้งานระบบสารสนเทศ หน้า 17)
สามารถแนบหลักฐานที่ยืนยันสถานะการศึกษา ในปัจจุบัน เช่น บัตรนักเรียน, ใบเสร็จรับเงินค่าเทอม, ค่าใช้จ่ายในการศึกษาต่อ, ใบสมัครเรียน
สามารถเลือกวิธีโอนเงินคืนได้ทั้ง 2 ช่องทาง
- สถานศึกษาชำระผ่าน Teller Payment
- สามารถโอนคืนผ่านระบบ “Krungthai NEXT”
ทุนการศึกษา โครงการ “Zero Dropout เด็กทุกคนต้องได้เรียน” เป็นความร่วมมือ ระหว่างบริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) และกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ที่ระดมพลังคนไทยเปลี่ยนแปลงการศึกษาไทยให้เด็กหลุดจากการศึกษาเป็น “ศูนย์” ให้ได้ใน 3 ปี ในพื้นที่จังหวัด “ราชบุรีโมเดล”
สำหรับโรงเรียนที่ได้รับการจัดสรรทุนการศึกษาจากโครงการจะเป็นโรงเรียนที่เข้าร่วม ตอบแบบสำรวจแนวโน้มการศึกษาต่อของนักเรียนช่วงชั้นรอยต่อ ปีการศึกษา 2/2564 ที่กสศ. ร่วมกับหน่วยงานต้นสังกัดทางการศึกษาจัดทำขึ้น ระหว่างวันที่ 15 มีนาคม – 15 เมษายน 2565
โดยทุนการศึกษา โครงการ “Zero Dropout เด็กทุกคนต้องได้เรียน” มุ่งไปที่ครัวเรือนยากจนพิเศษที่มีรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ราว 1,094 บาท ต่อคน/เดือน หรือ เฉลี่ยวันละ 30-40 บาท และมีบุตรหลานอยู่ในชั้นรอยต่อชั้น ป.6 และ ม.3 และต้อง ย้ายที่เรียนในช่วงเปิดเทอมปีการศึกษา 2565 เนื่องจากสถานศึกษาเดิมไม่มี การจัดการศึกษาในชั้น ม.1 และ ม.4/ปวช.ทำใหมีภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และค่าใช้จ่ายการศึกษาอื่นๆ เพิ่มขึ้นตามมา
โรงเรียนสามารถจ่ายเงินให้กับนักเรียน/ผู้ปกครอง และบันทึกข้อมูลการจ่ายเงิน ในระบบปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจน โดยสามารถเลือกจ่ายได้ทั้ง 4 วิธี ตามที่โรงเรียนและเด็ก/ผู้ปกครอง ตกลงความสะดวกร่วมกัน (รายละเอียดคู่มือการใช้งานระบบสารสนเทศ หน้า 17)
สามารถแนบหลักฐานที่ยืนยันสถานะการศึกษา ในปัจจุบัน เช่น บัตรนักเรียน, ใบเสร็จรับเงินค่าเทอม, ค่าใช้จ่ายในการศึกษาต่อ, ใบสมัครเรียน
สามารถเลือกวิธีโอนเงินคืนได้ทั้ง 2 ช่องทาง
- สถานศึกษาชำระผ่าน Teller Payment
- สามารถโอนคืนผ่านระบบ “Krungthai NEXT”
ตามแผนการทำงานร่วมกันระหว่าง กสศ. และหน่วยจัดการศึกษา เพื่อแก้ไขปัญหานักเรียนช่วงชั้น รอยต่อเชิงระบบในระยะยาว จะมีการสำรวจแนวโน้มการศึกษาต่อของนักเรียนทุนเสมอภาคช่วงชั้น รอยต่อผ่านระบบสารสนเทศ กสศ. ในช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน ของทุกปี หากโรงเรียนไม่ได้ตอบ แบบสำรวจในช่วงดังกล่าว และพบว่ามีนักเรียนกลุ่มวิกฤตที่มีความเสี่ยงหลุดจากระบบการศึกษา สามารถแจ้งข้อมูลเข้ามาที่ ศูนย์ช่วยเหลือเด็กและเยาวชนในภาวะวิกฤตการศึกษา หมายเลขโทรศัพท์ 02-079-5475 ต่อ 0 ในวันและเวลาราชการ