ทุนพัฒนาอาชีพและนวัตกรรมที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน
ปี 2565
โครงการส่งเสริมโอกาสทางการเรียนรู้
และพัฒนาทักษะเยาวชนและแรงงานนอกระบบ
เพื่อพัฒนาอาชีพที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน ปี 2565
(ทุนพัฒนาอาชีพและนวัตกรรมที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน)
มุ่งเน้นกระบวนการค้นหารูปแบบ สร้างกระบวนการทางสังคมขึ้นใหม่ เพื่อนำไปสู่การจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมสำหรับผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และผู้ด้อยโอกาส โดยเฉพาะเยาวชนที่ออกจากระบบการศึกษาแล้ว และแรงงานนอกระบบ ซึ่งเป็นกลุ่มทรัพยากรมนุษย์ที่รายได้ต่ำและอ่อนแอที่สุดในระบบเศรษฐกิจของไทย ได้ค้นพบศักยภาพตนเอง พึ่งพาตนเองได้ และยกระดับการทำงานเชิงระบบ โดยทำงานร่วมในลักษณะภาคีเครือข่ายในพื้นที่ ระหว่างภาครัฐ ภาคท้องถิ่น ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ และภาคเอกชน
วัตถุประสงค์โครงการ
ยกระดับทักษะ
ศึกษาและพัฒนา
ค้นหานวัตกรรมชุมชน
หลักการและกรอบแนวคิดโครงการ
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เปิดรับข้อเสนอโครงการ (Proposal) จากหน่วยงานสถาบันการศึกษาทั้งรัฐและเอกชน องค์กรชุมชน มูลนิธิ องค์กรสาธารณประโยชน์ และกิจการเพื่อสังคม (หน่วยเสนอโครงการ) ที่มีแนวคิดการพัฒนานวัตกรรมชุมชน หรือการพัฒนาทักษะอาชีพที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน และมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องโดย กสศ. จะคัดเลือกโครงการที่มีศักยภาพสูงสุดเข้าร่วมโครงการ และทําสัญญาสนับสนุนกับหน่วยเสนอโครงการ โดยตั้งอยู่บนหลักการสําคัญ 4 แนวคิด ได้แก่
1) ใช้ชุมชนเป็นฐาน
2) พัฒนาทักษะการประกอบอาชีพด้วยตนเอง
– ทักษะสุขภาพเกี่ยวกับ COVID-19 (COVID-19 Literacy) และการฟื้นฟูทางจิตใจ – ส่งเสริมชุมชนเข้าสู่วิถีสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่ดีการสร้างความเข้าใจระดับชุมชนที่ถูกต้อง การป้องกันและลดการตีตราทางสังคมตามแนวทางของกรมควบคุมโรค
– ทักษะชีวิตด้านเศรษฐศาสตร์ – บัญชีครัวเรือนการออม รายรับ รายจ่าย การบริหารหนี้สิน
– ทักษะเฉพาะอาชีพ – การประกอบการด้วยตนเอง ปฏิบัติ งานจริง ในชุมชนหรือสถานประกอบการ
– ทักษะการบริหารจัดการสำหรับศตวรรษที่ 21 – คิดแบบเติบโต ความสามารถในการ ปรับตัว และการหางาน การใช้ IT
3) เสริมสร้างสมรรถนะเพื่อความยั่งยืน
4) ติดตามประเมิน ถอดความรู้
เกณฑ์การนำเสนอโครงการ
คุณภาพของ ข้อเสนอโครงการ
ความสอดคล้องกับจำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลจากโครงการ
กรอบแนวคิดโครงการมีความสมเหตุสมผล
โครงการไม่ซ้ำซ้อนกับข้อเสนอโครงการจากแหล่งอื่น
เป็นโครงการต่อยอดจากผลการดําเนินงานโครงการฯ ปี 2562
กลุ่มเป้าหมาย
ประชากรวัยแรงงานที่ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาสซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
– ระดับการศึกษาต่ำกว่าการศึกษาขั้นพื้นฐาน
– รายได้ต่ำกว่า 6,500 บาท ต่อเดือน