โครงการทุนครูรัก(ษ์)ถิ่น
สร้างโอกาสทางการศึกษาสำหรับนักเรียนในพื้นที่ห่างไกล
เป็นครูรุ่นใหม่ เพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนของชุมชนบ้านเกิด
โดยความร่วมมือของ 6 หน่วยงาน ศธ. อว. สพฐ. กคศ. คุรุสภา และกสศ.
จากการวิเคราะห์ของคณะวิจัยธนาคารโลก ร่วมกับการสอบทานฐานข้อมูล สพฐ. พบว่าประเทศไทยมีโรงเรียนราว 2,000 แห่ง ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลและไม่อาจจะควบรวมได้ (Protected School หรือ Standalone)
โรงเรียนบนพื้นที่สูง
โรงเรียนตามแนวชายขอบ
โรงเรียนที่ตั้งอยู่
บนเกาะแก่ง
โรงเรียนที่ตั้งอยู่
ในพื้นที่เสี่ยงภัย
ซึ่งโรงเรียนเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการดูแลให้ดำรงอยู่ต่อไปได้เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาให้แก่เยาวชนในท้องถิ่น อย่างไรก็ตามพบว่า ปัญหาของโรงเรียนที่อยู่ห่างไกล คือ ครูขอย้ายบ่อยเพราะไม่ใช่คนในท้องถิ่น และไม่มีครูมาทดแทน ครูจึงไม่พอกับชั้นเรียน โดยเฉพาะครูที่สอนระดับชั้นประถมศึกษา จึงเป็นที่มาของการพัฒนาโครงการ ครูรัก(ษ์)ถิ่น
เป้าหมายของโครงการ
สร้างโอกาสให้กับนักเรียนในพื้นที่ห่างไกลที่มีใจรักในวิชาชีพครู
ครูรุ่นใหม่
พัฒนาคุณภาพโรงเรียนของชุมชน
โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่นจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำให้กับโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล และเพิ่มโอกาสให้นักเรียนจากครอบครัวที่ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาสที่มีฐานะยากจนที่สุดร้อยละ 20 แรกของประเทศ ให้สามารถเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ (learning access & learning outcome) และกลับไปเพิ่มโอกาสให้นักเรียนในชุมชนบ้านเกิดตนเองเพื่อลดวงจรความเหลื่อมล้ำในพื้นที่ห่างไกลอย่างยั่งยืน
นักเรียนที่มีผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดี และมีจิตวิญญาณความเป็นครู
ได้รับทุนเรียนครูจนจบปริญญาตรีอย่างคุณภาพปีละประมาณ 300 คน จำนวน 5 รุ่น
ได้บรรจุเป็นครูรุ่นใหม่ในโรงเรียนขนาดเล็กในพื้นที่ห่างไกลระดับตำบลประมาณ 1,500 แห่ง
อัตราครูจะเพียงพอต่อความต้องการภายในระยะเวลา 10 ปี
วัตถุประสงค์
ผลิตครูรุ่นใหม่ทั้งหมด 1,500 คน ตอบสนองความต้องการของโรงเรียนตามแหล่งชุมชน
ส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานพัฒนาศักยภาพครูและหน่วยงานที่ใช้ครูตั้งแต่ต้นทาง
ปรับบริบทการผลิตและพัฒนาบุคลากรครูให้สอดคล้องกับสภาพงานในชุมชนที่ห่างไกล
สร้างเครือข่ายสำหรับหรับการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของประเทศ
โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น สนับสนุนสถาบันอุดมศึกษาที่มีหน้าที่ผลิตและพัฒนาครูกว่า 15 แห่ง ทั่วประเทศ ในการเป็นเครือข่ายที่เข้มแข็ง มุ่งผลิตครูคุณภาพเพื่อสนองความต้องการของชุมชน ทั้งการพัฒนาหลักสูตรการผลิตและพัฒนาครู การจัดกระบวนการเรียนรู้แนวใหม่ และกิจกรรมสร้างเสริมความเป็นครูเพื่อให้ได้บัณฑิตครูคุณภาพตามเป้าหมาย สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนและชุมชนในพื้นที่ห่างไกล เพื่อเป็นนวัตกรรมและองค์ความรู้ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงระบบการผลิตและพัฒนาครู (Systems change) อันจะนำไปสู่การร่วมมือกันยกระดับคุณภาพการศึกษาของประเทศอีกด้วย
ขั้นตอนดำเนินงานของโครงการ
การพัฒนาโรงเรียนและชุมชนในพื้นที่ห่างไกลควบคู่กับ
การผลิตและพัฒนาครูรุ่นใหม่
ครูนักพัฒนาชุมชนใน 1,500 แห่ง
การสร้างโอกาส
ทางการศึกษา
ในการเข้าเรียนครูสาขาประถมศึกษาและปฐมวัยภายใต้เป้าหมาย
1,500 คน
โดยปัจจุบันมีจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการทั้ง 3 รุ่น รวมอยู่ที่ 867 คน
การพัฒนานวัตกรรมการผลิตและพัฒนาครู
สถาบันผลิตและพัฒนาครูทั้ง 15 แห่ง ได้ปรับปรุงหลักสูตรเพื่อให้สอดรับกับความต้องการของโรงเรียนและชุมชน
เกิดเป็นเครือข่ายในระดับอุดมศึกษา
ใน 4 ภูมิภาค เพื่อออกแบบกระบวนการพัฒนาครูในพื้นที่ห่างไกล
การพัฒนาและยกระดับคุณภาพของผู้บริหาร ครู บุคลากรในโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล
เกิดกระบวนการพัฒนาของโรงเรียนในโครงการ 697 แห่ง
อีกทั้งยังเกิดระบบ ครูพี่เลี้ยง
และฐานข้อมูลแลกเปลี่ยนสำหรับนำไปใช้พัฒนาการศึกษา
(หมายเหตุ ข้อมูลปี 2565)