ทุนพระกนิษฐาสัมมาชีพ

งานศึกษาขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ หรือ  OECD พบว่าประเทศไทย มีกลุ่มนักเรียนช้างเผือกที่มีฐานะยากจนกลุ่มล่างสุด 25% ของประเทศ แต่สามารถทำคะแนนได้อยู่ในกลุ่มที่ได้คะแนนสูงสุด 25% ของประเทศ โดยประเทศไทยมีเด็กช้างเผือกกลุ่มนี้จำนวน 13% ของเด็กในกลุ่มเศรษฐฐานะล่างสุด (bottom 25%) หรือ 6,111 คน ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยโออีซีดีซึ่งมี 11.3%

ซึ่งหากเด็กกลุ่มนี้ไม่ได้รับโอกาสสนับสนุนการเรียนต่อ จะมีแนวโน้มหลุดออกนอกระบบการศึกษา หรือได้รับการศึกษาที่ไม่สามารถแสดงศักยภาพหรือได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ นับเป็นการสูญเสียทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญของประเทศสอดคล้องกับข้อมูลเด็กและเยาวชนด้อยโอกาส มีโอกาสศึกษาต่อระดับสูงเพียงร้อยละ 5 (หรือ 8,000 คน) ต่อรุ่นเทียบกับค่าเฉลี่ยของประชากรประเทศที่มีโอกาสถึงร้อยละ 30

เป้าหมายของโครงการทุนพระกนิษฐาสัมมาชีพ 

1. ส่งเสริมโอกาสทางศึกษาต่อเต็มศักยภาพให้กับกลุ่มเป้าหมายผู้ใกล้จบ ปวส. หรืออนุปริญญาสายอาชีพให้ได้รับโอกาสทางศึกษาและการพัฒนาต่อเต็มศักยภาพอย่างต่อเนื่อง ระดับปริญญาตรีถึงปริญญาเอก

โดยต้องเป็นเยาวชนที่มีมีผลการเรียนดีเยี่ยม มีความสามารถพิเศษ โดยเฉพาะด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี และมีเจตคดีที่ดีต่อสายอาชีพแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาสตามเกณฑ์ของ กสศ.

2. เสริมสร้างสมรรถนะของกำลังคนเพื่อตอบสนองความต้องการสายอาชีพ โดยสาขาที่ส่งเสริมจะเป็นสาขาที่สอดคล้องกับความต้องการและพัฒนากำลังคนของประเทศ

โดยฉพาะในสาขาที่เป็นกลุ่ม New Growth Engine (กลุ่ม First S-curve และกลุ่ม New S-curve) เทคโนโลยีดิจิตอล และสาขาที่ขาดแคลนและเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน

3. การส่งเสริมให้ภาคเอกชนหรือภาคประกอบการมีส่วนร่วมในการลงทุนในลักษณะ co-funding

โดยสามารถทำในรูปแบบการใช้โจทย์ศึกษาวิจัยจากภาคเอกชนหรือผู้ประกอบการในการทำโครงงาน/วิจัยของนักศึกษาทุน มีการถ่ายทอดเทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ หรือการประยุกต์ใช้งานแบบใหม่ร่วมกันระหว่างภาคเอกชนหรือผู้ประกอบการและนักศึกษาทุน จากการศึกษาวิจัยสู่ภาคการผลิต และภาคบริการ เป็นการเพิ่มมูลค่าของโครงการ โดยภาคเอกชนหรือภาคผูระกอบการร่วมลงทุนทางการศึกษา

4. การพัฒนาความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา และผู้ประกอบการทั้งในและต่างประเทศ ในการบ่มเพาะและพัฒนาศักยภาพของเยาวชนกลุ่มเป้าหมาย ผ่านกิจกรรมเสริมคุณภาพ

อาทิ โครงงาน (Project-based learning) การเรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และการฝึกงาน (Internship/Attachment) จากประสบการณ์จริงของพี่เลี้ยง และภาคผู้ประกอบการ เพื่อเสริมสร้างความเชี่ยวชาญในสายงาน เป็นการสร้างกำลังคนที่มีความรู้และทักษะวิชาชีพ

เกณฑ์การเสนอชื่อผู้รับทุน

สถาบันการศึกษาเป็นผู้เสนอขื่อผู้รับทุน โดยสามารถเสนอชื่อนักศึกษาผู้รับทุนสาขาละไม่เกิน 2 คน สถาบันการศึกษาที่สามารถเสนอชื่อได้ ได้แก่ สถาบันที่มีนักศึกษากำลังศึกษาระดับปริญญาตรีหลักสูตรต่อเนื่อง/เทียบโอนในปีการศึกษา 2562 ในสาขาที่กำหนด ได้แก่

1. สาขาที่เป็นเป้าหลักในการพัฒนาประเทศ ได้แก่

  • อุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ (First S-curve)
  • อุตสาหกรรมยานยนต์ใหม่
  • อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
  • อุตสาหกรรมกลุ่มรายได้ดีและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
  • อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ และอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร
  • อุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve) หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม
  • อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์
  • อุตสาหกรรมดิจิทัล
  • อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร

2. สาขาด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี (STEM) และเทคโนโลยีดิจิทัล

การสนับสนุน

1. ทุนการศึกษา (ค่าใช้จ่ายรายเดือน ค่าธรรมเนียมการศึกษา ค่าอุปกรณ์การเรียน)
2. การสนับสนุนการทำโครงงาน/วิจัย
3. การสนับสนุนวิจัยระยะสั้นในต่างประเทศ
4. การศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ
(เฉพาะระดับปริญญาโทและปริญญาเอก)

ผลการดำเนินงานทุนพระกนิษฐาสัมมาชีพ
ดาวน์โหลด

ข้อมูลเพิ่มเติม

ประกาศผลการคัดเลือกผู้รับทุนการศึกษาระดับปริญญาตรี ตามโครงการทุนพระกนิษฐาสัมมาชีพ ปีการศึกษา 2567
14 พฤศจิกายน 2567

ประกาศผลการคัดเลือกผู้รับทุนการศึกษาระดับปริญญาตรี ตามโครงการทุนพระกนิษฐาสัมมาชีพ ปีการศึกษา 2567

ประกาศ กสศ.เรื่อง โครงการทุนพัฒนาเต็มศักยภาพสายอาชีพ “ทุนพระกนิษฐาสัมมาชีพ” ปีการศึกษา 2567
20 มิถุนายน 2567

ประกาศ กสศ.เรื่อง โครงการทุนพัฒนาเต็มศักยภาพสายอาชีพ “ทุนพระกนิษฐาสัมมาชีพ” ปีการศึกษา 2567

ประกาศ กสศ. เรื่อง ผลการคัดเลือกผู้ได้รับทุนการศึกษา โครงการทุนพัฒนาเต็มศักยภาพสายอาชีพ “ทุนพระกนิษฐาสัมมาชีพ” ปีการศึกษา 2566
3 ตุลาคม 2566

ประกาศ กสศ. เรื่อง ผลการคัดเลือกผู้ได้รับทุนการศึกษา โครงการทุนพัฒนาเต็มศักยภาพสายอาชีพ “ทุนพระกนิษฐาสัมมาชีพ” ปีการศึกษา 2566

ประกาศ กสศ.เรื่อง โครงการทุนพัฒนาเต็มศักยภาพสายอาชีพ “ทุนพระกนิษฐาสัมมาชีพ” ปีการศึกษา 2566
19 พฤษภาคม 2566

ประกาศ กสศ.เรื่อง โครงการทุนพัฒนาเต็มศักยภาพสายอาชีพ “ทุนพระกนิษฐาสัมมาชีพ” ปีการศึกษา 2566

ประกาศสำนักงาน กสศ. เรื่อง ผลการคัดเลือกผู้ได้รับทุนการศึกษา โครงการทุนพัฒนาเต็มศักยภาพสายอาชีพ “ทุนพระกนิษฐาสัมมาชีพ” ปีการศึกษา 2565 เพิ่มเติม
1 ธันวาคม 2565

ประกาศสำนักงาน กสศ. เรื่อง ผลการคัดเลือกผู้ได้รับทุนการศึกษา โครงการทุนพัฒนาเต็มศักยภาพสายอาชีพ “ทุนพระกนิษฐาสัมมาชีพ” ปีการศึกษา 2565 เพิ่มเติม

ประกาศสำนักงาน กสศ. เรื่อง ผลการคัดเลือกผู้ได้รับทุนการศึกษา โครงการทุนพัฒนาเต็มศักยภาพสายอาชีพ “ทุนพระกนิษฐาสัมมาชีพ” ปีการศึกษา 2565
16 สิงหาคม 2565

ประกาศสำนักงาน กสศ. เรื่อง ผลการคัดเลือกผู้ได้รับทุนการศึกษา โครงการทุนพัฒนาเต็มศักยภาพสายอาชีพ “ทุนพระกนิษฐาสัมมาชีพ” ปีการศึกษา 2565