เมื่อวันที่ 9 ตุลาคมที่ผ่านมา กองทุนเพื่อความเสมอภาค (กสศ.) ได้รายงานสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา หลัง COVID-19 ภาคเรียนที่ 1/2563 ซึ่งผลกระทบจาก COVID-19 นี้ ยิ่งทำให้ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในประเทศไทยที่ขยายตัวห่างกันมากยิ่งขึ้น
ในปัจจุบันประเทศไทยมีนักเรียนยากจนและนักเรียนด้อยโอกาสประมาณ 2.1 ล้านคน ซึ่งคิดเป็น 29.9% จากจำนวนนักเรียนทั้งหมด ทั้งยังมีเด็ก เยาวชนที่อยู่นอกระบบการศึกษา (อายุ 6-14 ปี) จำนวนมากถึง 430,000 คน มิหน้ำซ้ำสถานการณ์ COVID-19 นี้ยิ่งทำให้จำนวนนักเรียนยากจนพิเศษเพิ่มขึ้นกว่า 300,000 คน ซึ่งจำนวนนักเรียนเหล่านี้ล้วนมีความเสี่ยงเป็นอย่างยิ่งว่าอาจหลุดออกนอกระบบการศึกษา หากไม่ได้รับความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน
นอกจากมิติด้านตัวเลขของจำนวนเด็กนักเรียนยากจนแล้ว นี้ยังพบว่าคุณภาพโรงเรียนในชนบทของประเทศไทยมีความล้าหลัง เมื่อเทียบกับโรงเรียนในเมืองถึง 2 ปีการศึกษา
และเพราะความยากจนทำให้ช่องว่างการเข้าถึงการศึกษาระดับอุดมศึกษาของเด็กยากจนห่างกับคนรายได้ปานกลางถึง 20 เท่า หรือในเด็กยากจนค่าเฉลี่ยที่มีโอกาสในการศึกษาต่อระดับชั้นอุดมศึกษามีเพียง 5% ต่อรุ่นเท่านั้น
ตัวเลขเหล่านี้เป็นเพียงส่วนนึงของมิติความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ซึ่งหากเราทุกคนไม่ช่วยกัน ตัวเลขเหล่านี้จะยิ่งเพิ่มขึ้นและช่องว่างทางการศึกษาของเด็กไทยจะยิ่งห่างขึ้นกันไปอีก
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เรามุ่งมั่นในการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของเด็กไทย ช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ รวมถึงการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครู เพราะเราเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า ความเสมอภาคทางการศึกษาคือ กุญแจสำคัญในการช่วยให้เด็กตีฝ่าวงล้อมความยากจนชั่วคนให้หมดไปจากประเทศไทยได้ ซึ่ง กสศ. เราไม่สามารถทำเรื่องนี้ได้เพียงลำพัง เราจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนและความร่วมมือจากทุกคน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ท้องถิ่น ภาควิชาการ สื่อมวลชน ภาคเอกชน ดังนั้นอยากให้ทุกคนมาร่วมกัน