‘สถานภาพครัวเรือน’ ส่งผลอะไรใน ‘สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา’
.
รายงานสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาปี 2566 โดย กสศ. เปิดรายได้ สถานภาพครอบครัว ภาระพึ่งพิง และความเป็นอยู่ ‘นักเรียนยากจนพิเศษ’
.
.
รายได้ครัวเรือน 1,039 บาทต่อเดือน หรือ วันละ 34 บาทเท่านั้น
.
ผู้ปกครองส่วนใหญ่เรียนจบประถมศึกษา
ประถมศึกษา 52.02 %
มัธยมศึกษาตอนต้น 19.44 %
ต่ำกว่าประถมศึกษา 14.43 %
มัธยมศึกษาตอนปลาย 11.19 %
ปวช./ปวส. 2.11 %
ปริญญาตรีหรือสูงกว่า 0.80 %
.
ปัญหาครอบครัวแหว่งกลาง
พ่อแม่หย่าร้างหรือแยกกันอยู่ 41.26 %
พ่อแม่เสียชีวิตหรือสาบสูญ 4.55%
พ่อแม่ทอดทิ้ง 1.24%
.
รุมเร้าด้วยภาระพึ่งพิงในครอบครัว
ครัวเรือนยากจนพิเศษมีสมาชิกเฉลี่ย 5 คน
มีภาระพึ่งพิงซับซ้อนหลายมิติ เช่น มีผู้สูงอายุเกินกว่า 60 ปี 40.46% มีผู้ว่างงานอายุ 15-65 ปี 35.83% มีคนพิการ/เจ็บป่วยเรื้อรัง 10.63%
.
สภาพบ้านที่แร้นแค้น
ไม่มีห้องน้ำในที่อยู่อาศัย 5.66 % ไม่มีไฟฟ้าใช้และไม่มีห้องน้ำในที่อยู่อาศัย 4.98 % ไม่มีไฟฟ้าใช้ 3.39 % เป็นเด็กผู้หญิงจากครัวเรือนที่ไม่มีห้องน้ำในที่อยู่อาศัย 2.66 %
.
.
ที่มา : ประมวลผลจากนักเรียนยากจนพิเศษที่สมัครคัดกรองใหม่ สังกัด สพฐ. ภาคเรียนที่ 1/2566
.
ร่วมเข้าใจปัญหา ‘เด็กหลุดออกจากระบบการศึกษา’ สู่การกำหนดเป้าหมาย ‘Thailand Zero Dropout’ ของประเทศ จากรายงานสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาฉบับล่าสุด ที่ https://www.eef.or.th/publication-28816/