เพราะการปิดเทอมนานขึ้น
ไม่เพียงแต่จะส่งผลต่อการเรียนรู้ของเด็กๆ
ที่อาจถดถอยลงเท่านั้น แต่ยังส่งผลมาถึง
เรื่องปากท้องของพวกเขาด้วย
เพราะปัจจัยสนับสนุนอย่างอาหารเช้า-กลางวัน
จากโรงเรียนหายไป ทำให้โภชนาการของ
เด็กยากจนพิเศษขึ้นอยู่กับพ่อแม่และผู้ปกครองเป็นหลัก
.
ดังนั้นการให้ความใส่ใจดูแลเรื่องปากท้อง
ของเด็กๆ ยากจนพิเศษเป็นเรื่องสำคัญ
เพราะโภชนาการส่งผลต่อสุขภาพ
และพัฒนาการการเติบโตของเด็กๆ อีกด้วย
.
ดังนั้นอาจารย์สง่า ดามาพงษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ
และที่ปรึกษาโครงการ #สู้วิกฤตให้น้องอิ่ม คนละมือ เพื่อมื้อน้อง
มีคำแนะนำมาฝากคุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครองที่ดูแลบุตรหลาน
.
#DO
• ครบ 5 หมู่ทุกมื้อ – การกินครบทุกหมู่เป็นสิ่งสำคัญมาก
ที่จะช่วยให้แน่ใจว่าลูกจะได้รับสารอาหารครบทุกด้าน
เป็นการส่งเสริมให้เขาเติบโตได้อย่างแข็งแรง มีพัฒนาการที่ดีสมวัย
• มีปริมาณที่เพียงพอ – เมื่อเด็กได้อิ่มอร่อยกับมื้ออาหาร
ในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายและช่วงวัย
เพื่อให้เขามีพลังงาน มีกำลังวังชาในการเรียนรู้ เติบโตอย่างแข็งแรงได้ต่อไป
• สะอาด – ทุกอย่างที่คุณพ่อคุณแม่หามาจะไม่มีความหมายเลย
หากอาหารที่เลือกมาไม่สะอาด หรือไม่ผ่านกรรมวิธีที่ดี
ฉะนั้นควรเลือกอาหารที่มีคุณภาพ สด สะอาด ถูกหลักอนามัย
ลูกๆ ก็จะแข็งแรง ปลอดโรคภัย
• กินผักผลไม้ – การที่จะให้เด็กกินผัก พ่อแม่ต้องกินผัก
เห็นความสำคัญของผัก และกินให้ลูกดูเป็นตัวอย่างก่อน
ให้เขาเห็นว่าผักนั้นสำคัญไม่แพ้เนื้อสัตว์ นม ไข่ ต้องอยู่ใน
อาหารทุกมื้อ จากนั้นค่อยๆ ฝึกให้เขาได้รู้ถึงประโยชน์
คุ้นเคยกับการกินผักตาม
• ส่วนผลไม้จะให้วิตามิน แร่ธาตุ และใยอาหาร
ช่วยในการบำรุงสุขภาพ ช่วยให้ย่อยอาหารและ
ขับถ่ายได้ดี พ่อแม่ควรให้ลูกๆ ได้กินผักและผลไม้
ที่หลากสี เพื่อให้ได้วิตามินที่หลากหลาย
#DONT
• หลีกเลี่ยงการกินขนมถุง นํ้าหวาน นํ้าอัดลม
เพราะในหน้ำอัดลมหนึ่งขวด มีน้ำตาลละลายอยู่
ไม่ได้ให้ประโยชน์ใดๆ แก่ร่างกาย แถมยังกัดกระเพาะ
อาจทำให้เป็นโรคกระเพาะ และอาจฟันผุได้อีก
• ไม่หวานจัด มันจัด เค็มจัด – เพราะอาหารพวกนี้
เต็มไปด้วยไขมัน ซึ่งจะทำให้เด็กน้ำหนักเกิน
เสี่ยงต่อภาวะโรคอ้วนได้