จังหวัดน่านมีกลุ่มเด็กนอกระบบพิเศษทั้งด้านร่างกายและจิตใจจำนวน 194 คน – 86% ไม่มีอาชีพ ครอบครัวทำการเกษตร ส่วนใหญ่ไม่มีงานประจำ รับจ้างตามฤดูกาล – รายได้ครอบครัวอยู่ที่ประมาณ 1,500 – 5,000 บาท – เป็นเด็กที่ไม่เคยได้รับการศึกษาเลย 37 ครอบครัว ซึ่งมาจากปัญหาความยากจนร่วมกับปัญหาสุขภาพกสศ. และภาคี ผนึกกำลังเพื่อเสริมพลังเด็กนอกระบบที่มีความต้องการพิเศษ จนออกมาเป็น “น่านโมเดล” ที่น่าเรียนรู้
ที่มา: เวทีเสวนาถอดบทเรียน “เจาะลึก น่านโมเดล พื้นที่ทดลอง ปฏิรูปการเรียนรู้”
วันที่ 13 มิถุนายน 2564 ณ ศูนย์การศึกษาพิเศษ จังหวัดน่าน
น่านโมเดลโดดเด่นที่การผนึกกำลังระหว่าง
ภาครัฐ คือ ศูนย์การศึกษาพิเศษ จังหวัดน่าน
ภาคประชาสังคม คือ มูลนิธิรักษ์ไทย ร่วมกับ กสศ.
มีอาสาสมัคร ครูพี่เลี้ยง และรวมถึงครูใน 11 อำเภอในพื้นที่จังหวัดน่าน ที่มารวมทีมดูแลเด็กนอกระบบที่มีความต้องการพิเศษ
เพื่อช่วยเหลือเด็กนอกระบบที่มีความต้องการพิเศษ กสศ. และภาคี เริ่มต้นจากใช้ฐานข้อมูลสารสนเทศ จนนำไปสู่การช่วยเหลือเด็ก 50 คนได้อย่างถูกต้อง
โดยรูปแบบการช่วยเหลือจะเป็นการศึกษารายบุคคลที่เหมาะสมกับเด็กพิเศษ และอีกส่วนคือกลไกการพัฒนาเด็กและครอบครัว
สอดแทรกหลักสูตรให้พ่อแม่มีความพร้อมดูแลเด็กพิเศษ เสริมทัพด้วยหลักสูตรสิทธิเด็ก ในฝั่งชุมชนก็กระตุ้นให้ชุมชนปราศจากอคติ และเป็นพื้นที่ปลอดภัยสร้างสรรค์ให้เด็กได้
จุดเด่นของน่านโมเดลคือ การพัฒนาแบบเสริมพลัง หรือ Empowerment ด้วยการมองแบบองค์รวมในการสนับสนุนเด็ก ทั้งครอบครัว โรงเรียน นักจิตวิทยา ชุมชน ผู้ปกครอง
การช่วยเหลือไม่ได้มองเฉพาะการสนับสนุนอาชีพ แต่มองในหลายมิติ ครอบคลุมมิติทางสังคม จิตวิทยา การศึกษา มิติทางเศรษฐกิจ รวมถึงเรื่องจิตใจ การดูแลเยียวยาลูกหลานที่เป็นเด็กพิเศษ
เพื่อให้เด็กนอกระบบที่มีความต้องการพิเศษเข้าถึงโอกาสและความเสมอภาค ศูนย์การศึกษาพิเศษ จังหวัดน่าน จึงทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย โดยเน้นดูแลเด็กเชิงลึกเป็นรายบุคคล มีการลงไปที่ตัวอำเภอและสร้างกระบวนการเรียนรู้ในแต่ละเคส
นอกจากนี้ยังมีนโยบายช่วยเหลือและเสริมศักยภาพผู้ปกครอง รวมถึงชุมชน ให้มีทักษะในการดูแลและพัฒนาสมรรถภาพเด็ก เพราะบางพื้นที่ห่างไกลมาก ทางศูนย์เข้าไปหาเด็กไม่ได้ทุกวัน
การลงพื้นที่ทุกครั้งศูนย์จะสื่อสารกับ อบต. อบจ. หรือโรงพยาบาลจังหวัด เพื่อนำเจ้าหน้าที่จากเครือข่ายต่าง ๆ เข้าไปร่วมด้วยทุกครั้ง
การเสริมสร้างให้ครอบครัวและชุมชนห่างไกลมีความพร้อมในการช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษนั้น ต้องอาศัยบทบาทของ ‘หน่วยบริการต้นแบบ’
ซึ่งศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดน่านกำลังจัดทำอยู่ โดยจะเน้นการสร้างเครือข่าย สร้างกระบวนการคัดกรอง เพื่อพัฒนาระบบดูแลเด็กในพื้นที่ห่างไกลให้เกิดขึ้น โดยมุ่งหวังให้ชุมชนสามารถดูแลกันเองได้จากภายใน
นางปวริศา สิงห์อุดร ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดน่าน กล่าวว่า “เป้าหมายสำคัญคือ ต้องทำให้ผู้ปกครองเด็กมีอาชีพ มีรายได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เมื่อนั้นเขาถึงจะพร้อมดูแลเด็กได้ จากนั้นจึงมุ่งไปที่การพัฒนาตัวเด็ก หมายถึง เราต้องยกระดับให้เขาช่วยเหลือตัวเองและบอกความต้องการของตัวเองได้ก่อน แล้วจากนั้นระบบเครือข่ายที่ทุกฝ่ายมีบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจนในการทำงานจะทำให้คณะทำงานไปสู่เป้าหมายได้ตรงตามจุดประสงค์”
ในการผนึกกำลังเพื่อเสริมพลังเด็กนอกระบบที่มีความต้องการพิเศษ มูลนิธิรักษ์ไทย ประจำจังหวัดน่าน และภาคีเครือข่ายเห็นว่าจำเป็นต้องสนับสนุนให้เกิดการจัดการเรียนรู้ที่บ้าน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ยั่งยืน
ขณะเดียวกันก็ต้องเฝ้าระวังเรื่องความรุนแรงในครอบครัว เช่น ผู้เลี้ยงเด็กไม่เข้าใจความบกพร่องทางพัฒนาการการรับรู้จนเกิดการใช้ความรุนแรงในการลงโทษเด็ก
นอกจากนี้ การเพิ่มรายได้และพัฒนาอาชีพผู้ปกครองก็สำคัญ ซึ่งน่านโมเดลได้สำรวจความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย (ผู้ปกครอง) จากนั้นจึงนำทุนสนับสนุนที่มีอยู่ไปพัฒนาให้ตรงจุด โดยปัจจุบันมีเครือข่ายกับภาคธุรกิจ เช่น Lazada รองรับอยู่
เพื่อสร้างสื่อกลางในการให้คำแนะนำปรึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมาย
น่านสุขใจ พัฒนาโดยทีมจิตแพทย์ นักจิตวิทยาคลินิก โรงพยาบาลน่าน ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิรักษ์ไทย ที่พัฒนาแอปพลิเคชัน Chat Bot ที่ชื่อ “น่านสุขใจ” ขึ้น
โดยมุ่งหวังบรรเทาความเครียดกังวลอันจะนำพาไปสู่ปัญหาทางใจที่ใหญ่ขึ้นได้นั่นเอง