จากต้นน้ำถึงปลายน้ำ ครูรัก(ษ์)ถิ่นร่วมมือกับใครบ้าง

จากต้นน้ำถึงปลายน้ำ ครูรัก(ษ์)ถิ่นร่วมมือกับใครบ้าง

ครูหนึ่งคนสามารถสร้างมูลค่ามหาศาลมากกว่าที่คิด โดยเฉพาะครูของโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลและครูที่เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนโดยแท้จริง 👩🏻‍🏫
.
ปัจจุบันปัญหาการขาดแคลนครูในโรงเรียนขนาดเล็ก พื้นที่ห่างไกล ไม่ใช่แค่ครูไม่พอ แต่มีปัญหาลึกลงไปคือ ‘ครูไม่ขาด แต่อยู่ไม่ถูกที่’ จากการขอโยกย้ายกลับภูมิลำเนาดั้งเดิมของครูจำนวนมาก
.
.
🎯“ครูย้ายเพราะไม่ใช่บ้านเกิดของเค้า มันอยู่ไม่ได้ทั้งวิถีชีวิต วัฒนธรรม ภาษา คนอยากเป็นครูเพราะอยากเป็นข้าราชการ เพราะฉะนั้นตอนแรกสอบได้ที่ไหนไปที่นั่นเพื่อเอาตำแหน่งไว้ก่อน ดังนั้น โรงเรียนกลุ่มนี้ครูย้ายบ่อยมาก ก็จะขาดครู บางทีไม่มีผอ.เป็นปี ๆ บางที่มีผอ.คนเดียวกับภารโรงเพราะครูย้ายออก สพฐ.ก็ต้องใช้เวลาในการบรรจุครูคืนให้ไม่ทัน”
.
‘รองศาสตราจารย์ดารณี อุทัยรัตนกิจ’ ประธานอนุกรรมการพัฒนาระบบการผลิตและพัฒนาครูสำหรับโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล ผู้เปรียบเสมือนครูใหญ่ของโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น กล่าวไว้ 📗https://www.eef.or.th/article-080324/
.
ด้วยเหตุผลเหล่านี้จึงเป็นที่มาของโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น โดยมุ่งเน้นสร้างครูรุ่นใหม่ 5 รุ่นกว่า 1500 คน เพื่อเข้ามาช่วยแก้ปัญหาของโรงเรียนขนาดเล็กในพื้นที่ห่างไกล
.
“ครูรัก(ษ์)ถิ่นเราลงทุน เพื่อสร้างครูคุณภาพที่จะไปเปลี่ยนแปลงชุมชนมันคุ้มยิ่งกว่าคุ้มอีก มันคือการเปลี่ยนแปลงชีวิตคน เราเอาเด็กมาเรียนครู มันไม่ได้เปลี่ยนแค่เด็ก แต่มันเปลี่ยนครอบครัวเขา เปลี่ยนมายด์เซ็ตของชุมชน ทำให้เห็นว่าเขาไม่จำเป็นต้องจนข้ามรุ่น เขาสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงในครอบครัว สร้างการเปลี่ยนแปลงในชุมชน” 🎯
.
.
“โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น” เป็นโครงการนักเรียนทุนรัฐบาล ภายใต้ พ.ร.บ. กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ. 2561 โดยมีแนวคิดเพื่อพัฒนาครูระบบปิดให้ตรงกับความต้องการของประเทศในสาขาที่ขาดแคลนโดยเฉพาะโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลหรือยากลำบาก โดยผลิต “ครูของชุมชน” ที่มีใจรักในการเป็นครู รักถิ่นฐาน พัฒนาชุมชน โดยมีสัญญาผูกพันในการบรรจุเป็นครูที่โรงเรียนปลายทางต่อเนื่องอย่างน้อย 6 ปี เพื่อลดอัตราการโยกย้าย และเป็นแนวทางการผลิตและพัฒนาครูระบบปิดของประเทศอย่างเป็นระบบ
.
แต่การสร้างครูระบบปิดเพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น จึงเกิดความร่วมมือกันระหว่าง 6 หน่วยงานที่ดูแลขั้นตอนตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ โดยกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เป็นส่วนกลางในการเหนี่ยวนำความร่วมมือทั้งหมด
.
💙หน่วยงานที่ 1 : กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ผู้มีบทบาทกำหนดนโยบายโครงการทางการศึกษา โดยมีการร่วมมือกันสร้างโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่นภายใต้กรอบสร้างโอกาสทางการศึกษาในพื้นที่ห่างไกล พัฒนาครูให้สอดคล้องกับความต้องการ และพัฒนาโรงเรียนและชุมชนในพื้นที่ห่างไกล
.
💙หน่วยงานที่ 2 : กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ที่มีบทบาทดูแลกระบวนการผลิตและพัฒนาครู และดูแลมหาวิทยาลัยในโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น โดยมีการทำงานร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เพื่อสร้างสถาบันผลิตและพัฒนาครู ปรับกระบวนการผลิตและออกแบบโปรแกรมการศึกษาของแต่ละมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่นให้เข้ากับบริบทพื้นที่และคุณสมบัติครูของชุมชนที่ตอบโจทย์โรงเรียนปลายทาง ที่เรียกว่า Enrichment Program รวมถึงปรับกระบวนการคัดเลือกคนที่จะมาเรียนครูที่เป็น “ตัวจริง” เพื่อรับทุนครูรัก(ษ์)ถิ่น
.
💙หน่วยงานที่ 3 : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่กำหนด ดูแลเรื่องคุณภาพ และคุณสมบัติครูที่โรงเรียนปลายทางต้องการ โดยจะร่วมวิเคราะห์สภาพบริบทพื้นที่ ความจำเป็นและความต้องการครูของโรงเรียนต่าง ๆ เพื่อให้ได้โรงเรียนปลายทางเป้าหมายสำหรับการผลิตครู รวมถึงการบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการครูเพื่อช่วยบรรเทาความขาดแคลนได้ในทันที
.
💙หน่วยงานที่ 4 : สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ที่ทำหน้าที่กำหนดบทบาทความเหมาะสมของอัตรากำลังครู ดูแลการพัฒนาครูและความก้าวหน้าทางวิชาชีพ
.
💙และหน่วยงานที่ 5 คุรุสภา ที่ดูแลคุณภาพและมาตรฐานวิชาชีพครู จะเข้ามาเกี่ยวข้องในโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น โดยการสนับสนุน ติดตาม และประเมินการปฏิบัติงาน ‘ครูคนใหม่’ ไปตลอด 6 ปี โดยแบ่งเป็น 2 ปีเน้นการปฏิบัติงานในโรงเรียน บทบาทการเป็นครูมืออาชีพควบคู่กับการเป็นนักพัฒนาชุมชน และ 4 ปี เน้นพัฒนาขีดความสามารถและเติมศักยภาพ พร้อมทั้งความก้าวหน้าทางวิชาชีพ
.
.
ทุกหน่วยงานทำหน้าที่สอดคล้องกัน เพื่อสร้างครูรัก(ษ์)ถิ่นให้ออกมามีประสิทธิภาพทั้งหมด และในเดือนตุลาคมนี้โรงเรียนขนาดเล็กในพื้นที่ห่างไกล 285 แห่ง กำลังจะได้ต้อนรับ ‘ครูรัก(ษ์)ถิ่นรุ่นแรก’ หรือ ‘ครูคนใหม่ที่คุ้นเคยของเด็ก ๆ’ ทั้งหมด 327 คน
.
✨💚“Welcome Teacher กสศ. ยินดีด้วยกับคุณครูใหม่ทุก ๆ คนค่ะ”💚✨

ดาวน์โหลดเพิ่มเติม