“การเรียนรู้แบบบูรณาการ” เพื่อออกแบบห้องเรียนที่จะช่วยฟื้นฟูพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อให้เด็กวัยประถมต้นภายใน 2 สัปดาห์ มีห้องเรียนตัวอย่างอยู่ที่ชั้นประถม 2 โรงเรียนวัดมุจลินทวาปีวิหาร (เพชรานุกูลกิจ) จังหวัดปัตตานี
การแก้ปัญหาความถดถอยของฐานกายนั้น เราให้ความสำคัญกับการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนอย่างใส่ใจ เข้าใจ และการตั้งเป้าหมายในการแก้ปัญหาให้ชัดเจน ดำเนินการเป็นลำดับ ต่อเนื่องสม่ำเสมอ เป็นระบบ ประเมินผลเป็นระยะๆ วิเคราะห์พัฒนาการและพฤติกรรมนักเรียนให้เป็นปัจจุบัน และออกแบบกิจกรรมยกระดับพัฒนาการ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวง PLC กับโค้ช
กิจกรรมที่กระตุ้นการพัฒนาฐานกายแบบบูรณาการได้ดี จะต้องทำให้เด็กได้ใช้ร่างกายหลายส่วนร่วมกันขณะทำกิจกรรมและเด็กได้จัดท่าทางให้ส่วนต่างๆเหล่านั้น มีการเคลื่อนไหวในท่าทางที่หลากหลาย และมีระดับที่ต่างกัน รวมถึงได้ใช้ความคิด ได้แก้ปัญหา ได้ทำงานร่วมกับเพื่อน ได้สื่อสาร ได้ฝึกควบคุมการออกแรง การทำตามกติกา เป็นต้น
ทั้งนี้ครูสามารถออกแบบกิจกรรม และกำหนดความถี่ของการใช้กิจกรรมต่างๆได้ตามเป้าหมายในการแก้ปัญหาให้ได้ผลจริง รวมถึงการเก็บข้อมูลพัฒนาการ และค่าแรงบีบมือของเด็กเป็นรายบุคคลเพื่อติดตามและประเมินผล