เมื่อประมาณ
30 ปีที่แล้ว
ประเทศไทยหันเห นโยบายเศรษฐกิจ
มาสู่การเปิดเสรีทางการค้าและ
ตั้งตัวเป็นฐานการผลิตของอุตสาหกรรม
นำมาสู่การเติบโตของเศรษฐกิจแบบก้าวกระโดด
จนกระทั่งไทยเคยประกาศตัวจะก้าวขึ้นเป็นหนึ่ง
ในเสือเศรษฐกิจตัวใหม่แห่งเอเชีย
และหวังจะขึ้นเป็นประเทศรายได้สูงในภูมิภาค
เกาหลีใต้
ไต้หวัน
สิงคโปร์
ฮ่องกง
เกาหลีใต้
สิงคโปร์
ไต้หวัน
ฮ่องกง
โชคร้าย...
ประเทศไทยกลับถูกฉุดรั้งไม่ให้ไปถึงฝัน
เพราะอุตสาหกรรมเปลี่ยนแปลงไปสู่การใช้แรงงานที่มีทักษะ
แต่แรงงานไทยยังมีระดับการศึกษาที่ต่ำและขาดทักษะ
ทำให้ไม่สามารถปรับตัวได้ทัน ทำให้เศรษฐกิจไทย
ในระดับประเทศ การศึกษาคือจุด
เริ่มต้นสำคัญของการยกระดับทักษะแรงงาน
การศึกษามีบทบาทสำคัญในการสร้างโอกาสและสะสม
ทุนมนุษย์ตั้งแต่เด็กจนเข้าสู่วัยทำงาน เพื่อให้ประเทศ
แข่งขันได้ในเศรษฐกิจยุคใหม่ที่ต้องการแรงงานมีทักษะ
สำหรับคนทั่วไป การศึกษาถูกมองว่า
เป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยยกระดับฐานะข้ามรุ่นได้
พ่อแม่หลายคนเชื่อว่าเมื่อมอบการศึกษาที่ดีให้ลูก พวกเขาจะ
เติบโตมามีฐานะดีกว่ารุ่นตน ความเชื่อนี้ถูกส่งต่อพร้อมกับ
ความหวังที่อยากให้คนรุ่นหลังเป็นกำลังหลักทางเศรษฐกิจ
ของครอบครัว ที่มีทักษะทันและทนต่อความเปลี่ยนแปลง
ไม่ได้รับการศึกษา
41%
ได้รับการศึกษา
59%
ได้รับการศึกษา
98%
ไม่ได้รับการศึกษา
10%
สัดส่วนที่คุณทาย
ได้รับการศึกษา
90%
รุ่นพ่อแม่
เกิดประมาณ พ.ศ. 2500
รุ่นลูก (วัยทำงาน)
เกิดประมาณ พ.ศ. 2520
คุณคิดว่าปัจจุบันคนไทย
วัย
แรงงานได้รับการศึกษา
มากขึ้น
หรือน้อยลงจากรุ่นพ่อแม่?
ลองทายกันดู ว่าสัดส่วนผู้ได้รับการศึกษาในรุ่นลูกซึ่งเกิด
ประมาณ พ.ศ. 2520 มีเท่าไหร่ เมื่อเทียบกับรุ่นพ่อแม่ซึ่ง
เกิดประมาณ พ.ศ. 2500
เลื่อน ขึ้น-ลง ที่แถบ"รุ่นลูก"
เพื่อลองทายสัดส่วน
สัดส่วนผู้ที่ได้รับการศึกษา
ที่มา Global Database on Intergenerational
Mobility (GDIM), World Bank
(2020)
คุณคิดว่าปัจจุบันคนไทย
วัย
แรงงานได้รับการศึกษา
มากขึ้น
หรือน้อยลงจากรุ่นพ่อแม่?
ลองทายกันดู ว่าสัดส่วนผู้ได้รับการศึกษาในรุ่นลูกซึ่งเกิด
ประมาณ พ.ศ. 2520 มีเท่าไหร่ เมื่อเทียบกับรุ่นพ่อแม่ซึ่ง
เกิดประมาณ พ.ศ. 2500
เลื่อน ขึ้น-ลง ที่แถบ"รุ่นลูก"
เพื่อลองทายสัดส่วน
สัดส่วนผู้ที่ได้รับการศึกษา
ที่มา Global Database on Intergenerational
Mobility (GDIM), World Bank
(2020)
ไม่ได้รับการศึกษา
41%
ประถมศึกษา
23.5%
มัธยมต้น
11.5%
มัธยมปลาย
13.7%
มหาวิทยาลัย
10.7%
ไม่ได้รับการศึกษา
2%
ประถมศึกษา
10.3%
มัธยมต้น
23.4%
มัธยมปลาย
29.2%
มหาวิทยาลัย
35.4%
รุ่นพ่อแม่
เกิดประมาณ พ.ศ. 2500
รุ่นลูก (วัยทำงาน)
เกิดประมาณ พ.ศ. 2520
ในเวลาเพียง 1 รุ่น
มากขึ้น
โดยคนที่ไม่ได้รับการศึกษา ลดลง
เหลือแค่เพียงแค่ 2%
สัดส่วนผู้ที่ได้รับการศึกษา
ที่มา Global Database on Intergenerational
Mobility (GDIM), World Bank (2020)
ดูเผิน ๆ คนไทยอาจมีการศึกษาดีขึ้น
แต่แท้จริงแล้วโอกาสที่เด็กแต่ละคน
จะมีการศึกษาสูงแค่ไหนนั้น มีไม่เท่ากัน
เพราะระดับการศึกษาของพ่อแม่
มีแนวโน้มส่งต่อสู่ระดับการศึกษาของลูกได้
สิ่งนี้เรียกว่า
จากข้อมูลการขยับฐานะระหว่างคนต่างรุ่น
ในสังคมไทย โดยธนาคารโลก
พบว่า
*ที่มา Global Database on Intergenerational Mobility (GDIM), World Bank (2020)
จากข้อมูลการขยับฐานะระหว่างคนต่างรุ่น
ในสังคมไทย โดยธนาคารโลก
พบว่า
*ที่มา Global Database on Intergenerational Mobility (GDIM), World Bank (2020)
ปัจจุบันอัตราการเข้าเรียน
มหาวิทยาลัยของเด็กที่ยากจน
เปรียบเทียบกับเด็กที่ร่ำรวยก็ยังคง
ห่างกันมาก
ร่ำรวยที่สุด
10% บน
ของประชากร
35.7%
ไม่ได้เข้าเรียนปริญญาตรี
64.3%
เข้าเรียนปริญญาตรี
ยากจนที่สุด
10% ล่าง
ของประชากร
88.9%
ไม่ได้เข้าเรียนปริญญาตรี
11.1%
ที่มา อัตราการเข้าเรียนสุทธิ (Net enrolment rate)
ในระดับปริญญาตรี พ.ศ.
2564, สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2564)
เด็กกลุ่มที่มีความยากจนส่วนใหญ่นี้
อาศัยอยู่ใน
ครัวเรือนยากจน และ
ครัวเรือนยากจนพิเศษ
ที่มีสมาชิก
ในครัวเรือนมีรายได้รวมกันต่ำ
เด็กกลุ่มที่มีความยากจนส่วนใหญ่นี้
อาศัยอยู่ใน
ครัวเรือนยากจน และ
ครัวเรือนยากจนพิเศษ
ที่มีสมาชิก
ในครัวเรือนมีรายได้รวมกันต่ำ
โดยเฉพาะ ครัวเรือนยากจนพิเศษ*
ที่ผู้ปกครอง
ไม่สามารถแบกรับ
ค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของลูกได้
และเสี่ยงทำให้เด็กจำเป็นต้องหลุด
ออกจากระบบฯ กลางคัน
*ครัวเรือนยากจนพิเศษเป็นครัวเรือนที่ผ่านเกณฑ์การ
คัดกรองผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์
(Proxy Means Test : PMT)
ในค่าคะแนนความยากจนพิเศษ ที่เก็บข้อมูลจากหลาย
ปัจจัยที่
เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ ทั้งรายได้ สภาพที่อยู่อาศัย
ภาระการดูแลคนในครอบครัว ฯลฯ
สัดส่วนรายได้ตามระดับการศึกษาสูง
สุดของผู้ปกครองเด็กยากจนพิเศษ
ที่มา ฐานข้อมูลการคัดกรองนักเรียนยากจนพิเศษ
ภาคเรียนที่ 1/2565 (สังกัด สพฐ.)
ต่ำกว่าประถมศึกษา
ประถมศึกษา
มัธยมต้น
มัธยมปลาย
ปวช./ปวส.
ป.ตรีขึ้นไป
พื้นที่แสดงสัดส่วนจำนวนผู้ปกครองเด็กยากจนพิเศษ
ตามระดับการศึกษาสูงสุดที่ได้รับ (%)
สัดส่วนรายได้ตามระดับการศึกษาสูง
สุดของผู้ปกครองเด็กยากจนพิเศษ
ที่มา ฐานข้อมูลการคัดกรองนักเรียนยากจนพิเศษ
ภาคเรียนที่ 1/2565 (สังกัด สพฐ.)
ผู้ปกครองของเด็กยากจนพิเศษ
ส่วนใหญ่
ยังมีรายได้เฉลี่ยอยู่ใต้
เส้นความยากจน
และสูญเสียรายได้ทั้งหมดไปกับ
ค่าใช้จ่ายในครัวเรือน
สัดส่วนรายได้ตามระดับการศึกษาสูง
สุดของผู้ปกครองเด็กยากจนพิเศษ
ที่มา ฐานข้อมูลการคัดกรองนักเรียนยากจนพิเศษ
ภาคเรียนที่ 1/2565 (สังกัด สพฐ.)
พวกเขาเกินกว่าครึ่งยังเรียนจบเพียง
ระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่านั้น
เพิ่มความเสี่ยงที่จะส่งต่อระดับ
การศึกษาเดียวกันสู่ลูกหลาน
10 อันดับ จังหวัดที่มีจำนวน
ครัวเรือนยากจนพิเศษมากที่สุด (ครัวเรือน)
ที่มา ฐานข้อมูลการคัดกรองนักเรียนยากจนพิเศษ
ภาคเรียนที่ 1/2565
น่าแปลกใจที่แม้บางพื้นที่มีจำนวน
ครัวเรือนยากจนพิเศษมาก
แต่
พื้นที่นั้นกลับได้เงินอุดหนุนน้อย
ทำให้การจัดสรรงบประมาณ
การศึกษา
ยังคงสวนทางกับภาวะความยากจนในพื้นที่
ด้วยสองปัจจัยสำคัญนี้
การจะหยุดยั้งความยากจน
ข้ามรุ่นด้วยการยกระดับ
การศึกษาของเด็กยากจนพิเศษ
จึงไม่ใช่เรื่องง่ายเลย
เด็กยากจนพิเศษ
คน
เด็กยากจนพิเศษเหล่านี้กำลังถูกลดทอนโอกาสที่จะได้รับการพัฒนาศักยภาพ
ตามสิทธิที่ควรจะเป็น
ทั้งที่พวกเขาจะเติบโตมาเป็นกำลังหลักของสังคมยุคใหม่
ที่ทุนมนุษย์กลายเป็นปัจจัยสำคัญในการก้าวพ้นกับดักประเทศรายได้ปานกลาง
เด็กยากจนพิเศษเหล่านี้กำลังถูกลดทอนโอกาส
ที่จะได้รับการพัฒนาศักยภาพตามสิทธิที่ควรจะเป็น
ทั้งที่พวกเขาจะเติบโตมาเป็นกำลังหลักของสังคม
ยุคใหม่
ที่ทุนมนุษย์กลายเป็นปัจจัยสำคัญในการ
ก้าวพ้นกับดักประเทศรายได้ปานกลาง
เราลองสมมติว่า
เด็กยากจนพิเศษทั้งหมดในปัจจุบัน
มีเส้นทางชีวิต 4 แบบ แทนด้วยเด็ก 4 คน
หลุดออกจากระบบฯ ก่อนวัย
อันควร สามารถเรียนอยู่ในระบบฯ
ได้เฉลี่ย 6 ปี (เทียบเท่า ป.6)
หลุดออกจากระบบฯ ตามอัตรา
เฉลี่ยเด็กหลุดออกจากระบบฯ
ของไทย สามารถเรียนอยู่ในระบบฯ
ได้ประมาณ 9 ปี (เทียบเท่า ม.3)
สามารถเรียนอยู่ในระบบฯ ได้
จนครบหลักสูตรการศึกษาขั้น
พื้นฐานที่ 12 ปี (เทียบเท่า ม.6)
หลังจากจบหลักสูตรการศึกษาขั้น
พื้นฐานที่ 12 ปี (เทียบเท่า ม.6)
เข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัยจนเรียนจบ
การศึกษาระดับปริญญาตรี
ที่มา: สถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (วสศ.)
คำนวณจากข้อมูลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร
สำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2564
ที่มา: สถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (วสศ.) คำนวณจากข้อมูลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร สำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2564
เด็กชายกรีน แม้เขาจะสามารถหาเงินได้เร็วกว่าเพื่อน แต่เมื่อคำนวณรายได้เฉลี่ยตลอดชีวิตคาดการณ์ที่เขาจะได้รับ พบว่าเขาจะมีรายได้เฉลี่ยเพียง 9,136 บาท/เดือน
ที่มา: สถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (วสศ.) คำนวณจากข้อมูลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร สำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2564
เมื่อมาดูเด็กหญิงส้ม ที่เรียนจบระดับ ม.3 พบว่ารายได้เฉลี่ยตลอดชีวิตคาดการณ์จะอยู่ที่ 10,766 บาท/เดือน สูงกว่าเด็กชายกรีนถึง 18% และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีอายุมากขึ้น
ที่มา: สถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (วสศ.) คำนวณจากข้อมูลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร สำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2564
ในขณะที่เด็กชายเมฆ ที่เรียนจบระดับ ม.6 ตามการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะมีรายได้เฉลี่ยตลอดชีวิตคาดการณ์ 13,118 บาท/เดือน ทำให้มีส่วนต่างรายได้ตลอดชีวิตสูงกว่าเด็กชายกรีนถึง 44% และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีอายุมากขึ้น
ที่มา: สถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (วสศ.) คำนวณจากข้อมูลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร สำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2564
ในขณะที่เด็กหญิงผึ้ง ที่เรียนจบระดับปริญญาตรี จะมีรายได้เฉลี่ยตลอดชีวิตคาดการณ์ 27,132 บาท/เดือน ทำให้มีส่วนต่างรายได้ตลอดชีวิตสูงกว่าเด็กชายกรีนสูงถึง 197% และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีอายุมากขึ้น
ที่มา: สถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (วสศ.) คำนวณจากข้อมูลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร สำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2564
เห็นได้ชัดว่าเพียงอยู่ในระบบการศึกษา
รายได้เฉลี่ยตลอดชีวิตก็สูงขึ้น
การคงอยู่ในระบบฯ จึงเป็นบันได
ขั้นสำคัญสู่การก้าวพ้นความยากจน
หากทำให้เด็กยากจนพิเศษทั้งหมด 1,307,152 คน
เรียนได้อย่างน้อยจบปริญญาตรี
จะทำให้รายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ย
ตลอดช่วงอายุการทำงาน*
*ข้อมูลรายได้ประชาชาติต่อหัวเฉลี่ยเมื่อเด็กยากจนพิเศษทุกคนไม่หลุดออกจากระบบฯ และมีรายได้ตั้งแต่อายุ 22 - 60 ปี
คำนวนโดยสถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (วสศ.)
ที่มา: ข้อมูลจากระบบสารสนเทศเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (ISEE) ปี 2565
ในปีการศึกษา 2565 มีเด็กนักเรียนที่ได้รับการช่วยเหลือจากการคัดกรองนักเรียนยากจนและยากจนพิเศษของ กสศ. เมื่อปีการศึกษา 2561 สามารถเข้าเรียนมหาวิทยาลัยได้ทั้งสิ้น
คน
แบ่งเป็นสาขาวิชาดังนี้
ที่มา: สถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาเชื่อมโยงข้อมูลการคัดกรองนักเรียนยากจนและยากจนพิเศษกับข้อมูลการรับเข้าศึกษาในระบบ TCAS ปี 2565
การที่สังคมให้โอกาสเด็ก ๆ ทั้ง 20,018 คน ได้เข้าเรียนในระดับปริญญาตรี หากเด็กเหล่านี้สำเร็จการศึกษา จะทำให้รายได้ตลอดช่วงชีวิตที่คิดเป็นมูลค่าปัจจุบัน สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นราว 66,000 ล้านบาท (3.3 ล้านบาท/คน)
ขณะที่ต้นทุนที่สังคมจะต้องช่วยสนับสนุนให้เขาสามารถเรียนจนสำเร็จการศึกษา ในระดับปริญญาตรีได้ อยู่ที่ประมาณ 8,200 ล้านบาท (410,000 บาท/คน)
การนำเด็กยากจนพิเศษเข้าสู่ระบบการศึกษา
ยังมีอัตราผลตอบแทนของการลงทุน (IRR)
ซึ่งเทียบเคียงกับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานอื่น เช่น
รถไฟฟ้า
และยังสูงกว่าต้นทุนทางการเงินของรัฐที่
ประมาณ 2.7%
จึงถือว่าเป็นการลงทุนเพื่อการยกระดับ
คุณภาพชีวิตที่มีความคุ้มค่ามาก
ตอบโจทย์เศรษฐกิจ
ประเทศไทยที่ต้องการหลุดพ้นจากกับดักรายได้
ปานกลาง
และต้องอาศัยทรัพยากรมนุษย์ที่มีทักษะ
มากกว่าการอาศัยเครื่องจักรเหมือนในอดีต
รายได้เฉลี่ยประชากรขึ้นสู่ระดับประเทศรายได้สูง ที่มีรายได้ขั้นต่ำเฉลี่ยคนละ 38,000 บาท/เดือน การนำเด็กยากจนพิเศษเข้าสู่การศึกษาระดับสูง จึงเปิดโอกาสสู่การสร้างแรงงานแห่งอนาคต เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการสร้างผลผลิตให้กับประเทศได้มหาศาล และยังสามารถเข้าสู่ระบบภาษีเงินได้ของรัฐเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ประเทศอีกทางหนึ่ง
ในทางอ้อม ยังเพิ่มโอกาสให้เด็กกลุ่มนี้สามารถเข้าถึงปัจจัยพื้นฐานอื่นได้ดียิ่งขึ้น เช่น การรักษาสุขภาพ ความปลอดภัย ความมั่นคงในชีวิต
กสศ. จุดประกาย จับมือ 7 กระทรวงสำคัญ สร้างภาคีที่เน้นทำงานแบบองค์รวม (Holistic) ที่รวบรวมและแบ่งปันข้อมูลระหว่างภาคส่วน เพื่อวางนโยบายพัฒนาทุนมนุษย์ที่มุ่งเน้นเป้าหมายเดียวกัน คือหยุดวงจรความยากจน แปรเปลี่ยนเป็นวงจรการศึกษาเพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำอย่างยั่งยืน
เกิดเป็นโครงการพัฒนาทุนมนุษย์ในทุกมิติ ตลอดชีวิตของเด็กไทยทุกคน อย่างเสมอภาค
เด็กไทยมีการศึกษา
เสมอภาคถ้วนหน้ากัน
แรงงานมีทุนมนุษย์ รายได้สูง
ทันต่ออุตสาหกรรม
รัฐมีรายได้จากการ
จัดเก็บภาษีมากขึ้น
ตัดวงจรความยากจน
ไม่ให้ส่งต่อข้ามรุ่น
พร้อมหยุด
วงจรการส่งต่อ
ความยากจน
แปรเปลี่ยนเป็น
การส่งต่อโอกาส
ทางการศึกษา
เพื่อเพิ่มโอกาสการหลุดกับดักรายได้ปานกลาง
และก้าวทันเป็นเสือเศรษฐกิจตัวใหม่แห่งเอเชีย
Share
อ้างอิง