การจัดห้องเรียนตามความฉลาดส่งผลต่อประสิทธิการเรียนรู้ของเด็กชายขอบหรือเด็กยากจน

การจัดห้องเรียนตามความฉลาดส่งผลต่อประสิทธิการเรียนรู้ของเด็กชายขอบหรือเด็กยากจน

รัฐออนทาริโอตัดสินใจยกเลิกระบบจัดห้องเรียนตามความฉลาด

รัฐออนทาริโอในแคนาดากำหนดแผนยกเลิกระบบการจัดห้องเรียนตามความฉลาด หรือระบบที่เรียกว่า streaming เนื่องจากผลการวิจัยระบุว่าระบบการจัดห้องเรียนตามความฉลาดส่งผลต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ของเด็กที่เป็นชายขอบอย่างเด็กผิวดำหรือเด็กครอบครัวยากจน

รัฐบาลท้องถิ่นออนทาริโอได้ใช้เวลานับหลายปีในการทำงานร่วมกับครูผู้สอน นักการศึกษา และกลุ่มนักวิจัยในการยุติระบบนี้ โดยจะเริ่มจากนักเรียนระดับชั้นเกรด 9 เป็นกลุ่มแรก

ระบบการจัดห้องเรียนตามความฉลาดหรือผลในเชิงวิชาการ ที่กำหนดให้นักเรียนได้มุ่งสู่การคว้า “ความเป็นเลิศทางวิชาการ” หรือการเรียน “ตามรายวิชาที่กำหนด” เพื่อสอบเข้าระดับมหาวิทยาลัย ส่งผลโดยตรงต่อกลุ่มเด็กผิวดำและเด็กด้อยโอกาสที่ครอบครัวรายได้ต่ำ และส่งผลต่ออัตราการจบการศึกษาและโอกาสในการเข้าเรียนต่อระดับสูงที่ค่อนข้างต่ำ

การตัดสินใจของรัฐออนทาริโอได้ถูกเปิดเผยบนหน้าเว็บไซต์ข่าว Toronto Star พร้อมกับบทสัมภาษณ์รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการอย่างสตีเฟ่น ลีซซ์ (Stephen Lecce) เขากล่าวว่าเป็นข้อปฏิบัติที่ “เป็นระบบ เหยียดเชื้อชาติ และเต็มไปด้วยการแบ่งแยก” เขาเน้นย้ำความคิดในการประกาศครั้งนี้อย่างหนักแน่น

เห็นได้อย่างแน่ชัดว่าระบบนี้เป็นเหตุของการแบ่งแยกความแตกต่างในระบบการศึกษา ไม่ว่าระบบนี้จะเป็นการแบ่งแยกเชื้อชาติของนักเรียน การละเลยความสามารถในการเข้าศึกษาของเด็กนักเรียนผิวดำและเด็กพื้นเมือง หรือการขาดความเมตตาที่ควรมีต่อนักเรียนที่มีความหลากหลาย และมีพื้นฐานสถานะครอบครัวที่แตกต่างกัน

สตีเฟ่นกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า เด็กนักเรียนและครูผู้สอนสมควรที่จะได้มีระบบการศึกษาและการเรียนการสอนที่

คำนึงถึงคนทุกกลุ่ม โปร่งใส และตรวจสอบได้ ดังนั้นหากเป็นระบบการศึกษาที่ได้รับการออกแบบมาอย่างรอบคอบ มันจะสร้างให้เกิดการสนับสนุนที่เท่าเทียมแก่เด็กนักเรียนทุกคน ในการบรรลุศักยภาพที่ตัวเองมีอยู่

โฆษกกระทรวงศึกษาธิการกล่าวว่า แผนการยกเลิกฉบับสมบูรณ์นั้นจะถูกดำเนินงานในเวลาอันใกล้นี้ และมีความคาดหวังว่าจะดำเนินงานจนเกิดการเปลี่ยนแปลงในปี 2021-2022 โรงเรียนในออนทาริโอนั้นเป็นหนึ่งเมืองของแคนาดาที่ยังคงแบ่งห้องเรียนตามความฉลาดในระบบเดิม จนถึงมัธยมศึกษาต่อปลายที่แบ่งเรียนเป็นสายวิชาการ เพื่อตอบรับระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัย

รายงานจากมหาวิทยาลัยยอร์กในปี 2017 โดยศาสตราจารย์ คาร์ล เจมส์ (Carl James) พบว่า นักเรียนวัยรุ่นผิวดำในพื้นที่ Greater Toronto โทรอนโท พบว่า มีนักเรียนที่เป็นคนผิวดำที่เรียนในโปรแกรมทางวิชาการเพียง 53% เท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับนักเรียนผิวขาวที่มีถึง 81% และ 80% ของนักเรียนอื่นๆ ได้รับการจัดหมวดในกลุ่ม “เด็กนักเรียนที่ถูกแบ่งแยกตามเชื้อชาติ” นั่นหมายความว่าถูกรับรู้ว่าเป็นเด็กนักเรียนที่เป็นคนกลุ่มน้อย

ในขณะที่รายงานจาก People for Education ในปี 2015 ระบุว่า นักเรียนที่เรียนแบบ applied courses ในเกรด 9 มีอัตราการเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยน้อย และนักเรียนจากครอบครัวรายได้ต่ำก็มีแนวโน้มว่าจะลงทะเบียนเข้าเรียนแบบ applied courses ทางคณะกรรมการ Toronto District School Board (TDSB) มีแผนจะยกเลิกการแบ่งห้องเรียนในเกรด 9 และ 10 หลังจากทีค้นพบว่ามีนักเรียนเพียง 40% ที่เลือก applied course ในเกรด 9 แล้วสามารถจบการศึกษาได้ภายใน 5 ปี

 

การแบ่งห้องเรียนแบบคัดเกรดนั้นฝังอยู่ในวัฒนธรรมการศึกษา

ผู้อำนวยการแห่ง TDSB จอห์น มัลลอย (John Malloy) ซึ่งเป็นคณะกรรมการด้านการศึกษาที่ใหญ่ที่สุดในแคนาดา กล่าวชื่นชมการตัดสินใจของเมืองออนทาริโอในครั้งนี้ เขากล่าวว่า “เป็นการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นแม้จะเต็มไปด้วยความซับซ้อน และเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ต้องการการสนับสนุนอย่างมาก อีกทั้งยังต้องส่งเสริมความสามารถในการตรวจสอบได้” เพื่อการันตีความสำเร็จของเด็กนักเรียน ทางคาร์ลเองก็ระบุในงานวิจัยว่า การเปลี่ยนระบบนี้เป็นสิ่งที่ต้องใช้ระยะเวลา ซึ่งทั้งงานวิจัยของเขาเองและของคนอื่นๆ ก็แสดงให้เห็นว่าอคติเกี่ยวกับเชื้อชาติและพื้นหลังทางสังคมและเศรษฐกิจของผู้เรียนนั้น มีผลต่ออนาคตด้านการศึกษาของเด็กแต่ละคน

คาร์ลเองยังกล่าวว่า ครอบครัวส่วนมากไม่ได้มีการตระหนักถึงผลของการแบ่งแยกห้องเรียนตามความฉลาดว่าส่งผลระยะยาวต่อการศึกษาของเด็กอย่างไร คาร์ลเตือนอีกว่า ระบบการจัดห้องตามความฉลาดนั้นฝังเป็นส่วนหนึ่งกับระบบโรงเรียนในออนทาริโอ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงจึงต้องใช้เวลาเพื่อให้แน่ใจว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจริงและเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

“ดังนั้นหากมองในเชิงวัฒนธรรม แนวคิดทั้งหมดของการแบ่งห้องเรียน เราจำเป็นอย่างมากที่จะต้องมีคุณครู นักเรียน และพ่อแม่ ที่เริ่มปรับวิธีคิดใหม่ว่าการจัดนักเรียนเข้าในห้องเรียนนั้นสามารถทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อความสามารถและจุดเด่นของนักเรียนแต่ละคนได้อย่างไร มันไม่จำเป็นต้องแบ่งห้องตามเกรดหรือตามความฉลาดทางวิชาการเลยเพื่อที่จะสนับสนุนความสามารถของเด็กแต่ละคน”

นอกจากนี้ รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการยังทำงานเพื่อให้แน่ใจว่าจะมีข้อลงโทษอย่างเหมาะสมสำหรับครูที่แสดงความคิดเห็นหรือมีทีท่าที่บ่งชี้ว่าเป็นการเหยียดเชื้อชาติ หรือมีพฤติกรรมที่แสดงให้เห็นถึงการแบ่งแยก

 

ที่มาบทความ : Ontario to end ‘discriminatory’ practice of academic streaming in Grade 9