พะเยา ปัตตานี ระยอง เตรียมสำรวจ “ทักษะพื้นฐานชีวิต” ประเมินความพร้อมเยาวชนและประชากรวัยแรงงานในระดับจังหวัด

พะเยา ปัตตานี ระยอง เตรียมสำรวจ “ทักษะพื้นฐานชีวิต” ประเมินความพร้อมเยาวชนและประชากรวัยแรงงานในระดับจังหวัด

3 จังหวัดนำร่องเตรียมสำรวจ “ทักษะพื้นฐานชีวิต” ในโครงการประเมินและสำรวจทักษะและความพร้อมเยาวชนและประชากรวัยแรงงานในระดับจังหวัด (Provincial Adult Skill Assessment in Thailand)

ต่อเนื่องจากเวทีนโยบายระดับสูง “ทิศทางการพัฒนาทักษะพื้นฐานชีวิต เพื่ออนาคตที่ยั่งยืนของประเทศไทย” ที่ได้มีการนำเสนอรายงานการสำรวจทักษะและความพร้อมเยาวชนและประชากรวัยแรงงาน (Adult Skills Assessment in Thailand : ASAT) ในประเทศไทย พ.ศ. 2565  ซึ่งเป็นการประเมินขีดความสามารถทักษะพื้นฐานชีวิตที่จำเป็นต่อการทำงาน การดำรงชีวิตและส่งผลต่อการยกระดับรายได้ โดยมี 3 องค์ประกอบ คือ 1.การอ่านออกเขียนได้ (literacy) 2.ทักษะด้านดิจิทัล (digital skill) และ 3.ทักษะสังคมและอารมณ์​ (​socio-emotional skill) ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 โดยความร่วมมือระหว่างกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ธนาคารโลก (World Bank) และภาคีเครือข่ายในประเทศไทย เช่น กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานสถิติแห่งชาติ และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นต้น ที่เกิดการขยายผลการดำเนินโครงการ จากการสำรวจระดับชาติไปสู่ระดับจังหวัด

3 จังหวัดนำร่องที่ร่วมขับเคลื่อน “โครงการประเมินและสำรวจทักษะและความพร้อมเยาวชนและประชากรวัยแรงงานในระดับจังหวัด (Provincial Adult Skill Assessment in Thailand)” หรือเรียกว่า “โครงการ PASAT” ประกอบด้วย ทีม PASAT จังหวัดพะเยา นำโดย หน่วยบริหารจัดการเมืองพะเยา (City Unit) มหาวิทยาลัยพะเยา  ทีม PASAT จังหวัดปัตตานี นำโดย คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี  และทีม PASAT จังหวัดระยอง นำโดย สถาบันการเรียนรู้ของคนทุกช่วงวัยจังหวัดระยอง (สถาบัน RILA) ที่จัดตั้งโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง ได้ร่วมกับสำนักงานสถิติจังหวัด สำนักงานแรงงานจังหวัด รวมทั้งภาคีภาคประชาสังคม และภาควิชาการในพื้นที่ เริ่มดำเนินโครงการตั้งแต่เดือนมีนาคม 2567 ล่าสุดทุกจังหวัดได้จัดทำข้อมูลทบทวนสถานการณ์ทางการศึกษาและแรงงานของจังหวัด และมีการจัดประชุมชี้แจงทำความเข้าใจกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งเตรียมการจัดทีมสำรวจที่จะลงพื้นที่ชุมชนกลุ่มตัวอย่างเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา กสศ. ร่วมกับสถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมีบทบาทเป็นทีมสนับสนุนส่วนกลาง ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เตรียมความพร้อมและกำหนดแนวทางในการดำเนินการสำรวจภาคสนาม ทดลองใช้ระบบแพลตฟอร์มออนไลน์ที่จะใช้สำรวจทักษะและความพร้อมเยาวชนและประชากรวัยแรงงานในระดับจังหวัด (PASAT) ณ ห้องลีลาวดี ชั้น 1 โรงแรมรามา การ์เด้นส์ กรุงเทพมหานคร มีผู้เข้าร่วมอบรม 46 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สำนักงานสถิติจังหวัด นักวิชาการจากมหาวิทยาลัย และภาคีกลไกการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ รวมทั้งทีมวิทยากร จากสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และทีมสนับสนุนจาก กสศ. และ World Bank

นางสาวธันว์ธิดา วงศ์ประสงค์

ในกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ นางสาวธันว์ธิดา วงศ์ประสงค์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมเพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้ กสศ. ได้กล่าวถึงประโยชน์ของการสำรวจทักษะและความพร้อมเยาวชนและประชากรวัยแรงงานในระดับจังหวัดที่จะเชื่อมโยงกับผลการสำรวจระดับชาติ นำมาสู่การกำหนดทิศทาง เป้าหมายการพัฒนาแผนพัฒนากำลังคนระดับจังหวัด ที่สอดคล้องกับบริบทที่มีความแตกต่างกัน และเป็นการทำงานที่ใช้หลักฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ที่มีคุณภาพสูงตามมาตรฐานสากล 

ทั้งนี้ การสำรวจข้อมูลกลุ่มตัวอย่างรายครัวเรือนในพื้นที่จำเป็นต้องอาศัยหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญ เช่น สำนักงานสถิติจังหวัด และแรงงานจังหวัด และเครือข่ายในพื้นที่มาดำเนินการร่วมกัน การใช้งานแพลตฟอร์มสำรวจออนไลน์ PASAT ที่มีความเป็นมาตรฐานสากลนี้ จะทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับการใช้งานเครื่องมือทางวิชาการใหม่ ๆ และการบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศ นอกจากนี้ นายอานนท์ จันทวิช ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจัดการศึกษาสายอาชีพ ให้ข้อแนะนำเกี่ยวกับแนวทางการสำรวจข้อมูลเชิงสถิติกับกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่

รศ.ดร.ปิยวัฒน์ เกตุวงศา

ต่อมา รศ.ดร.ปิยวัฒน์ เกตุวงศา พร้อมด้วยวิทยากรกระบวนการทีมส่งยิ้ม สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล  นำเสนอระบบแพลตฟอร์มสำรวจออนไลน์ PASAT ให้ทีมงานทั้ง 3 จังหวัด ได้เข้าใจฟังก์ชั่นการใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของแบบสำรวจออนไลน์ รวมทั้งการทำความเข้าใจบทบาทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานสำรวจข้อมูล และได้ทดลองใช้งานระบบแพลตฟอร์มสำรวจออนไลน์ PASAT  โดยแบ่งทีมจังหวัด ออกเป็น 3 ทีมที่ดูแลระบบย่อยต่าง ๆ ได้แก่ (1) ระบบของพนักงานสัมภาษณ์และรวบรวมข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง (Interviewer) (2) ระบบของผู้ควบคุมงานสนาม (Supervisor) และ (3) ระบบของผู้จัดการงานสนาม (Fieldwork manage) 

ผลจากการฝึกอบรมในครั้งนี้ ทำให้ได้ข้อแนะนำจากประสบการณ์ผู้ใช้ (User Experience) มาปรับปรุงระบบแพลตฟอร์มเชิงเทคนิคก่อนจะนำไปใช้สำรวจภาคสนามนำร่อง (Pilot) ในช่วงเดือนธันวาคม 2567 – เดือนมกราคม 2568 และจะทำการสำรวจภาคสนามจริงกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวนราว ๆ จังหวัดละ 1,800 คนที่กระจายอยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ ของจังหวัด ในช่วงเดือนมกราคม – เดือนมีนาคม 2568  

ความท้าทายของงานดังกล่าวนี้ คือ การขับเคลื่อนภาคีเครือข่ายกลไกการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ที่มาจากหลายภาคส่วนให้มีส่วนร่วมในการออกแบบและสำรวจทักษะเยาวชนและประชากรวัยแรงงานตลอดกระบวนการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานด้านการบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศ ซึ่งเป็นทักษะใหม่ของคนทำงานพื้นที่ด้วยเช่นกัน และจะนำไปสู่การใช้ประโยชน์จากข้อมูลสารสนเทศที่เกิดขึ้นจากความร่วมแรงร่วมใจกันของหลายภาคส่วน นำมาวางแผนพัฒนาทักษะทุนมนุษย์ที่ตอบโจทย์สร้างกำลังคนที่มีผลิตภาพ (Productivity) ของพื้นที่ต่อไป 

ต่อมา รศ.ดร.ปิยวัฒน์ เกตุวงศา พร้อมด้วยวิทยากรกระบวนการทีมส่งยิ้ม สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล  นำเสนอระบบแพลตฟอร์มสำรวจออนไลน์ PASAT ให้ทีมงานทั้ง 3 จังหวัด ได้เข้าใจฟังก์ชั่นการใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของแบบสำรวจออนไลน์ รวมทั้งการทำความเข้าใจบทบาทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานสำรวจข้อมูล และได้ทดลองใช้งานระบบแพลตฟอร์มสำรวจออนไลน์ PASAT  โดยแบ่งทีมจังหวัด ออกเป็น 3 ทีมที่ดูแลระบบย่อยต่าง ๆ ได้แก่ (1) ระบบของพนักงานสัมภาษณ์และรวบรวมข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง (Interviewer) (2) ระบบของผู้ควบคุมงานสนาม (Supervisor) และ (3) ระบบของผู้จัดการงานสนาม (Fieldwork manage) 

ผลจากการฝึกอบรมในครั้งนี้ ทำให้ได้ข้อแนะนำจากประสบการณ์ผู้ใช้ (User Experience) มาปรับปรุงระบบแพลตฟอร์มเชิงเทคนิคก่อนจะนำไปใช้สำรวจภาคสนามนำร่อง (Pilot) ในช่วงเดือนธันวาคม 2567 – เดือนมกราคม 2568 และจะทำการสำรวจภาคสนามจริงกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวนราว ๆ จังหวัดละ 1,800 คนที่กระจายอยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ ของจังหวัด ในช่วงเดือนมกราคม – เดือนมีนาคม 2568  

ความท้าทายของงานดังกล่าวนี้ คือ การขับเคลื่อนภาคีเครือข่ายกลไกการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ที่มาจากหลายภาคส่วนให้มีส่วนร่วมในการออกแบบและสำรวจทักษะเยาวชนและประชากรวัยแรงงานตลอดกระบวนการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานด้านการบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศ ซึ่งเป็นทักษะใหม่ของคนทำงานพื้นที่ด้วยเช่นกัน และจะนำไปสู่การใช้ประโยชน์จากข้อมูลสารสนเทศที่เกิดขึ้นจากความร่วมแรงร่วมใจกันของหลายภาคส่วน นำมาวางแผนพัฒนาทักษะทุนมนุษย์ที่ตอบโจทย์สร้างกำลังคนที่มีผลิตภาพ (Productivity) ของพื้นที่ต่อไป 

อ่าน: รายงานการสำรวจทักษะและความพร้อมเยาวชนและประชากรวัยแรงงาน (Adult Skills Assessment in Thailand : ASAT) ในประเทศไทย