ครม.รับทราบรายงานผลการศึกษายุทธศาสตร์สร้างคนดี คนเก่ง คนกล้า และโอกาสสู่สั่งคมเพื่อพัฒนาชาติ

ครม.รับทราบรายงานผลการศึกษายุทธศาสตร์สร้างคนดี คนเก่ง คนกล้า และโอกาสสู่สั่งคมเพื่อพัฒนาชาติ

การประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน  ได้รับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ยุทธศาสตร์และแนวทางการสร้างคนดี คนเก่ง คนกล้า และโอกาสสู่สังคมเพื่อพัฒนาชาติไทยอย่างยั่งยืน ของคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาแนวทางการสร้างคนดี คนเก่ง สู่สังคมเพื่อพัฒนาชาติไทยอย่างยั่งยืน วุฒิสภา ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป

ทั้งนี้ เรื่องเดิม สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา (สว.) ได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ยุทธศาสตร์และแนวทางการสร้างคนดี คนเก่ง คนกล้า และโอกาสสู่สังคมเพื่อพัฒนาชาติไทยอย่างยั่งยืน ของคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาแนวทางการสร้างคนดี คนเก่ง สู่สังคมเพื่อพัฒนาชาติไทยอย่างยั่งยืน วุฒิสภา มาเพื่อดำเนินการ ซึ่งสามารถแยกเนื้อหาสาระและประเด็นตามลำดับความสำคัญได้ 3 ส่วน 

ส่วนที่ 1 รายงานการพิจารณา เรื่อง ยุทธศาสตร์และแนวทางการสร้างคนดี คนเก่ง คนกล้า และโอกาสสู่สังคมเพื่อพัฒนาชาติไทยอย่างยั่งยืน 

ส่วนที่ 2 แผนยุทธศาสตร์การสร้างคนดี คนเก่ง คนกล้า และโอกาสสู่สังคมเพื่อพัฒนาชาติไทยอย่างยั่งยืน

ส่วนที่ 3 คู่มือแนวทางการสร้างคนดี คนเก่ง คนกล้า และโอกาสสู่สังคมเพื่อพัฒนาชาติไทยอย่างยั่งยืน โดยคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ได้มีข้อเสนอแนะในภาพรวม 2 ประเด็น ได้แก่ 1) ข้อเสนอแนะในด้านการดำเนินการ เช่น ควรมีการศึกษาวิจัยและพัฒนา (research & development) ผลกระทบหรือผลลัพธ์จากกระบวนการในการสร้างคนดี คนเก่ง และคนกล้า ในมิติต่างๆ ที่มีต่อการพัฒนาความเป็นอยู่ของคนในชาติและความเจริญมั่นคงของชาติ 2) ข้อเสนอแนะในด้านการส่งเสริมและการบูรณาการ เช่น รัฐบาลควรกำหนดให้การสร้างคนดี คนเก่ง และคนกล้าเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อผลักดันให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนต้องร่วมมือกันดำเนินการอย่างจริงจัง 

ต่อมา นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี พิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ สศช. เป็นหน่วยงานหลักรับรายงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของรายงานและข้อเสนอแนะดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป  

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน

ข้อเท็จจริง 

สศช. ได้ประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานตามข้อ 2. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมกิจการเด็กและเยาวชน สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว และศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) โดยที่ประชุมเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ สรุปได้ดังนี้ 

ข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯผลการพิจารณาศึกษา

1. ข้อเสนอแนะในการดำเนินการ

– ควรจัดทำระเบียบ ข้อบังคับ กฎ กฎหมาย และคู่มือในการปฏิบัติ ทั้งในส่วนที่เป็นการสร้าง การส่งเสริม การปกป้อง การคุ้มครอง การสร้างโอกาสและการสร้างความยั่งยืนให้สอดคล้องกับคนไทย สังคมไทย ในปัจจุบันและอนาคต  

– เห็นด้วยกับข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการวิสามัญดังกล่าว โดย วธ. แจ้งว่า ได้ดำเนินการเพื่อสร้างคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม มีความพอเพียง วินัย สุจริต และ จิตอาสา ภายใต้แผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2559 – 2564) ซึ่งสอดคล้องและสนับสนุนการขับเคลื่อนงานตามแนวทางการสร้างคนดี คนเก่ง คนกล้า ดังนี้ ยุทธศาสตร์สร้างคนดี ประเด็น การสร้างสังคมคุณธรรม และการสร้างครอบครัวคุณธรรม ยุทธศาสตร์การสร้างโอกาส ประเด็นการสร้างองค์กรคนดี การสร้างโอกาสให้คนดี คนเก่ง คนกล้า การสร้างโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต และการสร้างให้คนไทยมีศิลปะและภูมิใจในวัฒนธรรมไทย ยุทธศาสตร์การสร้างความยั่งยืน ประเด็นกลไกทางเครือข่าย องค์กร มูลนิธิชุมชน และการบริหารจัดการ

– ศธ. ยุทธศาสตร์การสร้างคนดี คนเก่งฯ มีแนวทางที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศและมีความสอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และ 2565 อย่างไรก็ดี การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ให้บรรลุเป้าหมายจำเป็นต้องสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และกำหนดหน่วยงานรับผิดชอบรายยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน 

2. ข้อเสนอแนะในด้านการส่งเสริมและการบูรณาการ

– รัฐบาลควรกำหนดให้การสร้างคนดี คนเก่ง และคนกล้าเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อผลักดันให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนต้องร่วมมือกันดำเนินการอย่างจริงจัง โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติเพื่อกำหนดนโยบายที่นำไปสู่การปฏิบัติ

– รัฐบาลและทุกภาคส่วน ควรสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เกิด “การให้โอกาส การเปิดโอกาส การสร้างโอกาส” ในทุกมิติอย่างเสมอภาคทั้งในระดับบุคคลและองค์กร เพื่อให้คนไทยทุกช่วงวัยสามารถเข้าถึงการศึกษาเรียนรู้ที่ตนถนัด

– ปัจจุบันประเทศไทยมีแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติที่กำหนดเรื่องการสร้างคนดี การส่งเสริมให้สังคมเป็นสังคมคุณธรรม เป็นเป้าหมายภายใต้แผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ โดย วธ. มีการดำเนินการโครงการที่สำคัญ เช่น การขับเคลื่อนแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โดยคณะอนุกรรมการส่งเสริมคุณธรรมระดับกระทรวง ระดับจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมขับเคลื่อนแผนแม่บทฯ จัดเวทีการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางในการดำเนินงานขับเคลื่อนแผน รวมทั้งข้อเสนอแนะเพื่อนำไปประกอบการจัดทำแผนแม่บทฯ ฉบับที่ 2