คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี พิจารณาเห็นชอบการคัดเลือกครูผู้สมควรได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 6 ปี 2568 จำนวน 14 ประเทศ

คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี พิจารณาเห็นชอบการคัดเลือกครูผู้สมควรได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 6 ปี 2568 จำนวน 14 ประเทศ

คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี พิจารณาเห็นชอบการคัดเลือกครูผู้สมควรได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 6 ปี 2568 จำนวน 14 ประเทศ ประเทศไทย ‘ครูไพรวัลย์ ยาปัญครูผู้เป็นดวงตะวันชายขอบ ผู้ไม่เคยละทิ้งปณิธานการพัฒนาเด็กในพื้นที่ห่างไกล ได้รับการเสนอชื่อในครั้งนี้

เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2568 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ไปในการประชุมสามัญ คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ประจำปี 2567 ณ โรงแรมสยามเคมปินสกี้ โดยมีวาระการประชุมที่สำคัญ คือการพิจารณาให้ความเห็นชอบรายชื่อครูผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 6 ปี 2568 

รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีเป็นรางวัลนานาชาติ ที่จัดมอบให้แก่ครูผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงในชีวิตลูกศิษย์และมีคุณูปการต่อวงการศึกษาในประเทศอาเซียน ติมอร์-เลสเต บังกลาเทศ  ภูฎาน และมองโกเลีย รวม 14 คน โดยความร่วมมือของกระทรวงศึกษาธิการของแต่ละประเทศ โดยพิธีพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 6 จะจัดขึ้น ในวันที่ 15 ตุลาคมนี้ ซึ่งครูที่ได้รับพระราชทานรางวัล จาก 14 ประเทศ ได้แก่ 

  1. สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ โมฮัมหมัด ชาฟิอูล อิสลาม โรงเรียนประถมตัวอย่าง ชัคเอนาเย็ต เขตเนากัน ครูดีเด่นแห่งชาติ ในปี 2565 และครูผู้สร้างนวัตกรรมยอดเยี่ยมด้านประถมศึกษา 
  2. ราชอาชอาณาจักรภูฏาน น.ส.ชิมิ เดมา โรงเรียนมัธยมศึกษา เพลจอร์ลิ่ง ทาชิโชลิง เขตซัมเซ  ผู้พัฒนานวัตกรรมด้านสื่อการเรียนและวิชาภาษาอังกฤษ 
  3. เนการาบรูไนดารุสซาลาม ดายัง ฮาจา ชารีฟะ ฮัจจี โมฮัมหมัด ชาห์ลัน โรงเรียนภูสัต ติงกะทัน เอนัม เซงกุรงค์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษาและรางวัลครูดีเด่น ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ 
  4. ราชอาณาจักรกัมพูชา นางเมียะ โสมาวะเตย์ โรงเรียนมัธยม พนึงเมียะ จ.ตาแก้ว ครูดีเด่น อันดับ 1 รางวัลสมเด็จเดโซเซน และมีผลงานดีเด่นในการสอนคณิตศาสตร์นักเรียนมัธยม 6 ให้ได้ เกรด A 
  5. สาธารณรัฐอินโดนีเซีย นางอาเด ปูตรี สารเวนดาห์ โรงเรียนการศึกษาพิเศษรัฐบาลบาลิกปาปัน  จ.กาลีมันตันตะวันออก ผู้พัฒนานวัตกรรมดีเด่นสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
  6. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว นางบุนมา โพทิลาด โรงเรียนมัธยมสมบูรณ์จันสะวัง นครหลวงเวียงจันทน์ ผู้มุ่งมั่นสนับสนุนและถ่ายทอดความรู้เพื่อพัฒนานักเรียนในแต่ละช่วงวัย 
  7. ประเทศมาเลเซีย โมฮัมหมัด โรสนิซัม บิน โมฮัมหมัด ยูซูฟ จากคอเลจ โวเคชันนัล เปอร์ตาเนียน เทลัค อินทัน รัฐเปรัก ครูอาชีวศึกษาผู้สรรค์สร้างนวัตกรรมการศึกษาและการคิดนอกกรอบ 
  8. ประเทศมองโกเลีย นางอุยังกะ อาดิยาสุเรน โรงเรียนการศึกษาวิชาชีพทั่วไป เมืองอูลานบาตาร์ ครูผู้สร้างความเชื่อมั่นให้กับศิษย์ในการดำรงชีวิตด้วยตนเองและความสามารถในการทำงานได้ 
  9. สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา น.ส.มอว์มอว์ โรงเรียนขั้นพื้นฐาน มิงกาลาดอน เมืองย่างกุ้ง ครูผู้คอยช่วยเหลือสนับสนุนพัฒนาการรอบด้านของเด็ก 
  10. สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ นางเลอา โดมิงโก โรงเรียนประถมศึกษาลูซอง จ.อิโลกอสเหนือ ครูรางวัลความเป็นเลิศด้านภาวะผู้นำและรางวัลครูยอดเยี่ยมระดับประถมศึกษา 
  11.  สาธารณรัฐสิงคโปร์ นางอัง ซิง หยี่ โรงเรียนมัธยมศึกษาคอมพาสเวล ครูรางวัลโรงเรียนผลงานดีเด่นประเภททีม และรางวัลความเป็นเลิศด้านบริการ 
  12. สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต นายฟรานซิสโก เดอ คาร์วัลโญ่ โรงเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐาน 1.2 บีดาน ครูผู้มุ่งเน้นความสำเร็จของนักเรียน และสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน
  13. สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม นางเหงียน ถิ ทู ลาน โรงเรียนอนุบาล วอร์ด 5 โฮจิมินห์ ครูผู้วางรากฐานที่มั่นคงให้กับเด็ก สร้างโรงเรียนอนุบาลที่มีความสุข

สำหรับประเทศไทย มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ร่วมกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และหน่วยงานด้านการศึกษา คณะกรรมการคัดเลือกระดับจังหวัด 77 จังหวัด กรุงเทพมหานคร และองค์กรที่มีรางวัลระดับประเทศอีก 7 องค์กร ร่วมเสนอรายชื่อ โดยครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ประเทศไทย ได้แก่ นายไพรวัลย์ ยาปัญ ครูโรงเรียนบ้านกองม่องทะ (สาขาบ้านไล่โว่) อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ครูผู้เป็นดวงตะวันชายขอบ ผู้ไม่เคยละทิ้งปณิธานการพัฒนาเด็กในพื้นที่ห่างไกล เป็นกำลังสำคัญในการผลักดันจัดตั้งโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านปิล๊อกคี่ และเดินหน้าพัฒนาโรงเรียนที่ยังขาดแคลนครู ให้ความสำคัญกับสิทธิขั้นพื้นฐานด้านการศึกษาของเด็กกลุ่มชาติพันธุ์ รวมถึงบ่มเพาะเด็กให้เป็นผู้ประกอบการด้วยกิจกรรม “ขายข้ามเขาออนไลน์” เพื่อฝึกทักษะการนำผลผลิตทางการเกษตรของนักเรียนและชุมชนมาสร้างรายได้ รวมถึงจัดการทางการเงินให้นำมาเป็นทุนการศึกษาต่อไปได้ในอนาคต

(กลาง) ไพรวัลย์ ยาปัญ

ในการนี้มูลนิธิฯ ยังพิจารณามอบรางวัลคุณากรให้แก่ นายไพลรัตน์ สำลี ครูผู้เป็นนวัตกรอัจฉริยะ ผู้สร้างขุมพลังงานเพื่อโลกปัจจุบันและอนาคต จากวิทยาลัยการอาชีพศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย และนายทอน บัวเรือง ครูผู้ไม่ยอมจำนนต่อวัยเกษียณ ผู้ส่งเสริมศิษย์ให้ก้าวสู่เส้นทางฝัน จากโรงเรียนบ้านดงน้ำเดื่อ จ.เพชรบูรณ์ 

นอกจากนี้ที่ประชุมได้มีวาระรับทราบกิจการด้านต่าง ๆ ของมูลนิธิฯ อาทิ การสนับสนุนจากคณะกรรมการส่งเสริมความร่วมมือภาคสังคม เพื่อจัดทำทางเชื่อมอาคารศิลปะและปรับปรุงอาคารจัดแสดงผลงาน โรงเรียนบ้านไทยสามัคคี จ.สระแก้ว โดยการกลุ่มมิตรผล และบริษัท tcp ,  โครงการ “Byaheng Kaalaman” ความรู้เคลื่อนที่ ของครูซาดัต บี มินันดัง ครูรางวัลจากประเทศฟิลิปปินส์ และการซ่อมแซมโรงเรียนประถมเพียใหม่ สถานที่ปฏิบัติงานของครูกีมเฟือง เฮืองมะนี ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ประเทศ สปป.ลาว เป็นต้น

ในปี 2568 นี้ มูลนิธิฯ ยังร่วมมือกับ กสศ. และภาคีเครือข่ายทางการศึกษา สนับสนุนครูเครือข่ายครูรางวัลประเทศไทย รุ่นที่ 5 ให้ขยายผลการดำเนินงานตามความเชี่ยวชาญของครูแต่ละคน เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนและชุมชนในแต่ละจังหวัด

และ จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มีนาคมที่ผ่านมา กรรมการมูลนิธิ ฯ และคณะกรรมการส่งเสริมความร่วมมือภาคสังคม ยังแสดงเจตจำนงให้ความช่วยเหลือครูจอซินอ่อง ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี รุ่นที่ 4 ประเทศเมียนมา ที่ได้รับผลกระทบจากการสู้รบในประเทศและเหตุการณ์แผ่นดินไหว และครอบครัว โดยจะประสานกับสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงย่างกุ้ง เพื่อให้การช่วยเหลือเป็นไปอย่างถูกต้องต่อไป